The KTH Innovation Readiness Level   68

คำสำคัญ : Innovation  Readiness  Level  scipark  incubation  

“The KTH Innovation Readiness Level” เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงระดับความพร้อมในมิติที่สำคัญได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านทีมงาน ด้านธุรกิจ ด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้านเงินลงทุน และด้านเทคโนโลยี

The KTH Innovation Readiness Levelจึงใช้เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และชี้ให้เห็นถึงระดับความพร้อมในมิติที่สำคัญได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านทีมงาน ด้านธุรกิจ ด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้านเงินลงทุน และด้านเทคโนโลยี สามารถวิเคราะห์ได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของแนวคิดจนถึงการเป็นนวัตกรรมที่พร้อมออกสู่ตลาด เพื่อการเติมเต็มความพร้อมในแต่ละมิติได้อย่างครบถ้วน

The KTH Innovation Readiness Level

KTH Innovation Readiness Level ใช้เป็นกรอบการประเมินสถานะแนวคิดในมิติหลัก โดยให้โครงสร้างและการสนับสนุนสำหรับเจ้าของไอเดียตลอดจนโค้ชและผู้จัดการในการพัฒนาแนวคิดระยะเริ่มต้นสู่นวัตกรรมในตลาด แบบจำลองนี้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับทีมที่กำลังพัฒนาแนวคิด และโค้ชหรือผู้จัดการที่สนับสนุนการพัฒนาแนวคิดเพื่อวัดความก้าวหน้าและสถานะ แบบจำลองนี้จัดทำผ่านการเข้าถึงห้องสมุดทรัพยากรออนไลน์ ซึ่งสามารถค้นหาคำอธิบายและเอกสารทั้งหมดได้

 

การวัดผลเปรียบเทียบค่าของ KTH Innovation Readiness Level

แบบจำลองจะประเมินการพัฒนาความคิดในระดับตั้งแต่ 1 ถึง 9 ในหกประเด็นสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมีการกำหนดคำจำกัดความที่ชัดเจนของระดับต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญและกิจกรรมที่จำเป็นในการไปถึงแต่ละระดับ

KTH Innovation Readiness Level ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้เป็นการแสดงผลของศักยภาพต่างๆ ที่เป็นปัจจัยในการสร้างนวัตกรรมและโครงสร้างสำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่แสดงผลได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและตลอดการพัฒนาและการตรวจสอบแนวคิด

 

ที่มาของการพัฒนา KTH Innovation Readiness Level ถือกำเนิดจาก สถาบัน KTH Innovation ซึ่งเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัย KTH Royal Institute of Technology ประเทศสวีเดน โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยบ่มเพาะในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการ Startups ในการสร้างธุรกิจด้านเทคโนโลยี ที่เกิดจากนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งบ่มเพาะตั้งแต่การเริ่มมีแนวคิด การจัด coaching การหาทีมงานที่เหมาะสมให้ รวมถึงการหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนเงินทุน

 

KTH Innovation ให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลาย ในการสร้างระบบนิเวศของ Startups เป็นอย่างมาก โดยในแต่ละปี จะมีมากกว่า 30 Startups ที่ต่อยอดได้เป็นบริษัท Spin-offs โดย KTH Innovation มีบุคลากรเพียง 20คนเท่านั้น ทำให้น่าสนใจว่า KTH Innovation ทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จได้เพียงนี้

สถาบัน KTH Innovation

 

KTH Innovation มีที่มาของหน่วยงานและการสนับสนุนหลักของ KTH Innovation ซึ่งมี Key areas หลัก ดังนี้

 

1.การพัฒนาธุรกิจและการทดสอบตลาด

2.การสนับสนุนทางด้านกฎหมายในการทำ due diligence มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายธุรกิจในการช่วยใน3.การเจรจาและร่างสัญญาต่าง ๆ เช่น co-founder agreement เป็นต้น รวมถึงกระบวนการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

4.การสนับสนุนเงินลงทุน แหล่งเงินทุนและการจับคู่ทางธุรกิจ

5.การสนับสนุนด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการสร้างทีมที่แข็งแรงและมีความหลากหลาย รวมถึงการหาผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่เหมาะสมให้อีกด้วย

อาจารย์หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยยังได้รับสิทธิพิเศษในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาถึงแม้จะใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการทำวิจัยก็ตาม รวมถึงการสนับสนุนตั้งแต่กระบวนการสร้างสรรค์จนถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

KTH Royal Institute of Technology


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th