Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การพัฒนาแผ่นกรองจากถ่านชีวภาพผสมสังกะสีออกไซด์ (ZnO) เพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ 174
การพัฒนาแผ่นกรองจากถ่านชีวภาพผสมสังกะสีออกไซด์ (ZnO) เพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
ปัจจุบันงานวิจัยด้าน“ Circular Economy ” มีความที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ดังนั้นกลุ่มนักวิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญอย่างมากในการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดปริมาณขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้าน Circular Economy ดังนั้นนักวิจัยจึงแบ่งงานวิจัยด้าน Circular Economy ออกเป็นหัวข้อที่สำคัญ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเพื่อรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างวงจรเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยด้าน Circular Economy จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ ทั้งนี้ รศ.ดร.คัมภีร์ พ่วงทอง คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการและของเสียอันตราย ผู้วิจัยได้รับการสนับสนุนโครงการวิจัย จากงบประมาณสนับสนุนทุนจากโครงการวิจัย “ปั้นดาว”สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองประสานและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)ให้การสนับสนุนงานวิจัยแผ่นกรองจากถ่านชีวภาพผสม ZnO สำหรับประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ซึ่งเป็นประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน อย่างต่อเนื่อง ผนวกกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้หน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ และแผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กและเชื้อโรค
พัฒนาแผ่นกรองอากาศที่มีส่วนผสมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการปั่นเส้นใยพอลิเมอร์ด้วยไฟฟ้าสถิต หรือเทคนิค Electrospinning โดยการผสมผงถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด (Biochar) และสังกะสีออกไซด์ (ZnO) ที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นหรือละอองฝอยขนาดเล็กกกว่า 0.3 ไมครอน ได้มากถึง 99.65% และยังสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ผ่านมายังชั้นกรองได้ในการพัฒนาและผลิตแผ่นกรองอากาศได้เองภายในประเทศด้วยเทคโนโลยีที่เป็นของนักวิจัยไทย ทำให้ประเทศมีความมั่นคง ทางด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตแผ่นกรองอากาศ อีกทั้งจะช่วยลดการนำเข้าแผ่นกรองอากาศจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคต อาจจะสามารถต่อยอดเข้ากับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องฟอกหรือกรองอากาศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตไมโครชิพ ที่มีความจำเป็นจะต้องกรองอากาศให้ปราศจากฝุ่น (PM 2.5)