Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การประชุมหารือการจัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตาม MOU 25

เมื่อวันที่ 25มีนาคม 2568
อว. โดยเจ้าหน้าที่ กปว.สป.อว./หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ร่วมกับ ผู้แทน อว.ส่วนหน้าจังหวัดร้อยเอ็ด มทร.อีสาน และ GISTDA ร่วมประชุมหารือการจัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตาม MOU "การยกระดับข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้สู่เกษตรมูลค่าสูงด้วย อววน." กับจังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด
การประชุมหารือดังกล่าว มีประเด็นเพื่อพิจารณา 2ประเด็น ดังนี้
1.ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตาม MOU "การยกระดับข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้สู่เกษตรมูลค่าสูงด้วย อววน."
นายชุมพล เยาวภา ปค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำเสนอ ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตาม MOU ทั้งองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงาน ซึ่งได้ผ่านการยกร่างร่วมกันระหว่าง สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ปค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ อว.ส่วนหน้าจังหวัดร้อยเอ็ด โดยที่ประชุมเสนอให้เพิ่มองค์ประกอบคณะทำงาน ได้แก่ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด ผอ.โครงการชลประทานร้อยเอ็ด ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้แทนหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด และผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 4
และได้เพิ่มอำนาจและหน้าที่คณะทำงาน ให้สามารถแต่งตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
http://clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/1379/images/MOU%20Working%20Group.pdf
2.กรอบแนวทางการดำเนินงานตาม MOU "การยกระดับข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้สู่เกษตรมูลค่าสูงด้วย อววน."
ตามหลักการแล้วการจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานตาม MOU ควรจัดทำหลังจากการแต่งตั้งคณะทำงานแล้ว แต่ท่านชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ท่านเป็นคนแอคทีฟมาก โดยท่านอยากให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด นำเสนอกรอบแนวทางการดำเนินงานตาม MOUเบื้องต้นในที่ประชุม กรอ. จังหวัด ครั้งที่ 3/2568 ในวันที่ 26 มีนาคม 2568 จึงได้ให้บรรจุวาระดังกล่าวเข้ามาเพื่อให้ที่ประชุมนี้พิจารณาด้วย
นายชุมพล เยาวภา ปค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำเสนอกรอบแนวทางการดำเนินงานตาม MOUโดยภาพรวมเบื้องต้นเป็นแผน/โครงการ/เทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงาน อว. ตั้งแต่ต้นทาง (การเพิ่มผลผลิต/คุณภาพ) กลางทาง (การแปรรูปและเพิ่มมูลค่า) และปลายทาง (การบริหารจัดการด้านการตลาด) ซึ่งหลายประเด็นมีความเกี่ยวข้องกับส่วนราชการในพื้นที่ โดยสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้ในภายหลัง
http://clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/1379/images/VC%20Rice.pdf
สำหรับบางแผนงาน/โครงการ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร (THAITRACTOR BOOKING) (มทร.อีสาน) และการยกระดับกระบวนการผลิตข้าวฮางงอกและข้าวที่มีความเป็นแป้งทนย่อยสูงด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (มมส.) ได้มีการหารือเบื้องต้นกับหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อจัดทำโครงการเสนอของบประมาณจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง
นอกจากนี้ นายธนากร สงวนตระกูล ผู้แทน GISTDA และ ผศ.ดร.ปริญ รสจันทร์ ผู้แทน อว.ส่วนหน้าจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ SGi-Farm และโครงการจัดการทุนวัฒนธรรมพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น กรณีศึกษาเจ้าปู่ผ่านบ่อเกลือบ่อพันขัน อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดได้ให้ความสนใจ และให้เตรียมจัดทำข้อเสนอโครงการไว้ รวมถึงแผนงาน/โครงการอื่นๆด้วย โดยภายหลังการแต่งตั้งและประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำกรอบและแนวทางการดำเนินงานตาม MOUแล้วจะได้รวมชุดโครงการภายใต้กรอบและแนวทาง "การยกระดับข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้สู่เกษตรมูลค่าสูงด้วย อววน." เสนอของบประมาณโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2570 ของจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ต่อไป