Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การพัฒนาซอฟแวร์อย่างง่ายในการวิเคราะห์ การลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน/คลังน้ำมัน 209
คำสำคัญ : CoE สป.อว. perdo EHT
การพัฒนาซอฟแวร์อย่างง่ายในการวิเคราะห์ การลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
สำหรับโรงกลั่นน้ำมัน/คลังน้ำมัน
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมอันหลากหลายของมนุษย์จากภาคองค์กรเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากกิจกรรมมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ สาเหตุสำคัญเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไปยังบรรยากาศ การใช้พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การขนส่ง การผลิต และการใช้พลังงานที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซ เช่น การใช้รถยนต์ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดิน เช่น การเพาะปลูกพืชหรือการเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดินที่เป็นป่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีผลต่อการกระทบของโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างโลกที่ยั่งยืนได้ในอนาคต
ดังนั้น สถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยถือเป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้เพียงแค่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ยานยนต์เท่านั้น
แต่ยังมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ มากมายเพื่อรองรับและตอบสนองต่อความต้องการของวิถีชีวิตของลูกค้าในปัจจุบัน กล่าวคือ สถานีบริการน้ำมันถือเป็นองค์กรหนึ่งที่มีกิจกรรมภายในหลากหลาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ การวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยจากสถานีบริการน้ำมันของประเทศไทย โดยเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้มีระบบการทำงานหลักสามส่วน ประกอบไปด้วย ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface)
ส่วนประมวลผล (Processing system) และฐานข้อมูล (Database) โดยการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเว็บแอปพลิเคชันนี้ ต้องการเพียงให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของสถานีบริการน้ำมัน เพื่อที่ระบบประมวลผลของเว็บแอปพลิเคชันจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปคำนวณตามสมการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยจะนำข้อมูลการใช้ทรัพยากรจากกิจกรรมต่างๆไปคูณกับค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission factor) การคัดเลือกและเก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบในเว็บแอปพลิเคชัน ในกรณีที่ผู้ใช้งานทราบค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกว่า ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้ค่าเหล่านั้นแทนได้ ในส่วนของการแสดงผลการวิเคราะห์ เว็บแอปพลิเคชันจะสามารถแสดงผลลัพธ์ตามหน่วยหน้าที่ (functional units) ได้ทั้งหมดสี่หน่วยคือ ต่อเดือน ต่อปี ต่อปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายได้ และต่อพื้นที่ของสถานีบริการน้ำมัน โดยในส่วนผลการวิเคราะห์นี้ นอกจากการแสดงผลลัพธ์เป็นตัวเลขจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว เว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นยังสามารถแสดงผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบในรูปแบบของกราฟ เพื่อเปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหมวดหมู่ของร้านค้าและกิจกรรมของสถานีบริการน้ำมัน เปรียบเทียบตามการใช้ทรัพยากรของสถานีบริการน้ำมัน และรายงานผลแหล่งการปลดปล่อยแยกเป็น 3 ขอบเขตตามกรอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรด้วย
ผู้วิจัย : รศ. ดร.สุพพัต ควรพงษากุล
เขียนโดย : นายอภิเดช ไม้หนองกอย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : apidech.m@mhesi.go.th