การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค (New Regional Startups) P1  36

คำสำคัญ : การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค    New  Regional  Startups  P1  RSP  SME  STARTUP  

แผนงานการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค
(New Regional Startups)

หลักการและเหตุผล

ในสภาพการณ์ที่มีการผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างสูงทั้งจากโรคระบาดและสงคราม ประเทศไทย
ต้องเตรียมความพร้อม กับการยกระดับและพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งผลักดันให้หลุดพ้น จากประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมั่นคง มั่งคั่งและเสมอภาค

เพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน การขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของชาติ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค

ให้เติบโตเท่าทันกับส่วนกลางของประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมภาคการศึกษา และภาคสังคม โดยเฉพาะการกระจาย การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปในระดับภูมิภาคถือเป็นกลไกสำคัญหนึ่ง ที่จะกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยองค์รวม ช่วยเพิ่มโอกาสของภูมิภาคและท้องถิ่นในการเข้าถึง การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา สร้างความเท่าเทียม และเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่น ของภูมิภาคและของประเทศ


มหาวิทยาลัยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคดำเนินการในภูมิภาคหลัก ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปจนถึงด้าน

สังคมที่พร้อมจะสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมภายใต้ความพร้อมของ สถาบันการศึกษา ทั้งบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่หลากหลาย

มีความพร้อมในการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการใหม่ในภูมิภาค ที่มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกให้สามารถเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและ

นวัตกรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การผลักดันรายได้ต่อหัวของประชาชนในภาคการผลิตและบริการให้เพิ่มขึ้นผ่านการขับเคลื่อน ของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค


แผนงานสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค (New Regional Startups) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมรายใหม่ในภูมิภาคที่มีศักยภาพสูง


ในทุกกลุ่มซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้แก่ นักศึกษา บุคคลทั่วไป วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการให้ความรู้เพื่อการเริ่มต้นในการทำธุรกิจที่เหมาะสมกับบริบทพื้นฐาน และ

องค์ประกอบของผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาคได้เข้าถึงการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค การเข้าถึงที่ปรึกษาทั้งด้านการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีและ

ธุรกิจ ไปจนถึงการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (minimum viable product - MVP) เพื่อนำไปสู่การทดสอบต่อยอดทางการตลาดในอนาคต

วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาบุคคลทั่วไปและนักศึกษา ให้พร้อมต่อการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่
2) เพื่อสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถาบันการศึกษา
3) เพื่อสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

เป้าหมาย
สร้างผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ในภูมิภาค ให้มีจำนวนและขีดความสามารถด้านวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน

แผนและขั้นตอนการดำเนินงาน
1) การให้ความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจแก่ผู้ที่สนใจจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค
2) การคัดเลือกผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่

Startup (ตามนิยามของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ)
คือ ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการซึ่งมี 1) นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจ (business model innovation) ที่สามารถ

2) ทำซ้ำ (repeatable) และ 3) ขยายตลาด (scalable) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

และ 4) เติบโตอย่างก้าวกระโดด (exponential growth)
SME (ตามคำจำกัดความตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม พ.ศ. 2562)
ได้แก่ กิจการที่มีลักษณะดังนี้

วิสาหกิจขนาดย่อม
1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคนหรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท
2) กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีกที่ มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินสามสิบคนหรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินห้าสิบล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง
1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่าห้าสิบค้นแต่ไม่เกินสองร้อยคน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท
2) กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีกที่ มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่าสามสิบคน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยคน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่าห้าสิบล้านบาทแต่ไม่เกินสามร้อยล้านบาท


วิสาหกิจชุมชน (ตามคำจำกัดความตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548)
คือ กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว

ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (minimum viable product - MVP)
4) ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ
5) จับคู่ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ประสานงานและติดตามความก้าวหน้าโครงการ


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th