Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ทำความเข้า Services Blueprint ของ กปว. ด้วย Miro (web application) 291
จากการประชุมกองในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่และโครงการ ของกลุ่มงานต่างๆ ภายใน กปว.
และเพื่อสรุปทำความเข้าใจอีกครั้ง ผมจึงเลือกใช้เครื่องมือการเขียน Diagram เพื่อเข้าใจกลไกการทำงานของ กปว.ได้ชัดเจนเห็นภาพมากยิ่งขึ้น
ร่วมกับการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก แผนกลยุทธ์ กปว. ประจำปีงบประมาณ 2566-2570
ทั้งนี้ Service Blueprint ที่ได้นั้น อาจมีความผิดพลาดและข้อมูลที่ตกหล่นไป เนื่องจากสรุปจากความเข้าใจของกระผมเพียงผู้เดียว
ดังนั้น ทุกท่านสามารถเข้าไปปรับปรุงแก้ไข Diagram ด้านบน เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจกระบวนการทำงานและ Interaction ภายในองค์กรของ กปว. ผ่านทาง Link:
โดยสามารถทำการ log in โดยใช้ Email ของ สป.อว. (@mhesi.go.th) เพื่อเข้าร่วมทีม Mhesi เพื่อสร้างและแชร์ข้อมูลการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย
มาถึงส่วนการในการอธิบาย Service Blueprint ที่สอดคล้องกับแนวทาง ONE Route ตามความเข้าใจของผู้เขียน
Step 1 : เมื่อลูกค้า (ผู้ประกอบการ/กลุ่มเกษตรกร/ประชาชน) ได้ติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ของ กปว. คลินิคเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ โทรศัพท์ (เท่าที่ทราบ) จะมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการรวมถึงตอบคำถามเทคโนโลยีในเบื้องต้น จากนั้นหลังบ้านจะมีการเก็บข้อมูลลงใน ฐานข้อมูลกลาง (ความมีและสามารถ Access ตลอดเวลา)
Step 2 : เมื่อรับข้อมูลเบื้องต้น หลังบ้านร่วมกันทำการวิเคราะห์ความต้องการและเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตามการแบ่ง Platform ของ one ruote ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ Economic Development, Social Development, Infrastructure หรือพิจราณาส่งต่อลูกค้า ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Step 3 : หลังบ้าน ทำการจำแนกความต้องการของลูกค้าเพื่อค้นหาทีมสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญ และให้ความสนับสนุนที่เหมาะสม
Step 4 : ระบบที่เข้ามาช่วยในการค้นหา ได้แก่ CMO / NSTIS / NRIIS และเกิดกระบวนการสรรหาผู้เชี่ยวชาญ และเกิดการ matching ผู้เชี่ยวชาญกับลูกค้า
Step 5 : เป็นการะบวนการพัฒนาลูกค้า ตามระยะที่เหมาะสม แบ่งตาม Economic platform
Step 6 : เป็นการรับ feed back จากลูกค้า และการติดตามประเมินผล และเก็บข้อมูล
Step 7 : ส่งต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาแพลตฟอร์มที่สูงขึ้นหรือไปยังหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ระหว่างการทำ Diagram นี้ ยังมีความไม่ชัดเจนที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของ กระบวนการ/Interaction/การส่งต่องาน ภายในที่ต้องลงรายละเอียดเพิ่มเติม และ Key actor ในแต่ละกิจกรรม รวมถึงข้อมูลในฐานข้อมูลที่ควรเก็บเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และพัฒนาองค์กรให้เป็น Data Driven Organization ต่อไป จึงอยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนนี้ต่อไป
ด้วยความเคารพ
ณัฐพล มหาไม้
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ