Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ในระบบนิเวศผู้ประกอบการสังคม (1/3) 283
ทุกคนคงจะเคยได้ยินรูปแบบของธุรกิจที่ชื่อว่า "วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)" กันมาแล้ว และทุกคนคงจะพอรู้ว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมคืออะไร ใช่แล้วค่ะ ถ้าจะพูดง่ายๆ ตามชื่อของมันก็คือ ธุรกิจ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีเป้าประสงค์ทางสังคม ฟังดูย้อนแย้งใช่มั้ยคะ แต่เพราะความย้อนแย้งตรงนี้เอง ที่เป็นทั้งสเน่ห์ และความท้าทายของการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม
แต่วันนี้ดิฉันจะไม่ได้มาพูดถึงเรื่องความหมาย หรือนิยาม หรือคำจำกัดความ "ที่ชัดเจน" ของวิสาหกิจเพื่อสังคมค่ะ เพราะแม้แต่นักวิชาการเอง ตั้งแต่ยุค 1990s ที่ศัพท์นี้เริ่มถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ก็ยังมีข้อถกเถียงกันไม่จบสิ้นว่าสุดท้าย "ความหมาย" จริงๆ ของ "วิสาหกิจเพื่อสังคม" นั้นคืออะไร ทุกคนจึงได้แต่นิยามศัพท์นี้ไปในความหมายของตน โดยที่ทุกนิยามมีหัวใจเดียวกันคือ ธุรกิจ ที่สามารถสร้างและขยายผลลัพธ์เชิงสังคม และยังสามารถประคองตัวเอง ให้เติบโตไปได้ในขณะเดียวกัน
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ในระบบนิเวศของผู้ประกอบการสังคมค่ะ วิสาหกิจเพื่อสังคมนี้ได้รับการศึกษาอย่างมากมายในเชิงวิชาการ หากแต่น่าแปลกที่บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในระบบนิเวศของผู้ประกอบการทางสังคมเป็นหัวข้อสำคัญที่ไม่ค่อยมีใครสนใจในเชิงวิชาการมากนัก ทั้งๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมอบสถานะทางสังคมและความเข้มแข็งเพื่อรับรองความยั่งยืนของโครงการโดยการสร้างคุณค่าทางสังคมที่ดีขึ้นในระบบนิเวศของผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Bischoff & Volkmann, 2018) และถึงแม้จะมีการวิจัยในเชิงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศของผู้ประกอบการเพื่อสังคมออกมาให้เห็นกันบ้าง หากแต่ยังไม่ค่อยมีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับวิธีที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจมีปฏิสัมพันธ์กัน และมีความจำเป็นต้องประสานงานกันในระบบนิเวศดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้ืงสิ่งเหล่านั้นยังเป็นการบรรยายในทางทฤษฎี หากแต่ยังไม่ได้รับการทดสอบในทางปฏิบัติอย่างเพียงพอ ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าถึงงานวิชาการที่ได้พูดเกี่ยวกับบทบาทและความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศของผู้ประกอบการทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความท้าทายที่องค์กรผู้ประกอบการทางสังคมในประเทศกำลังพัฒนาเผชิญ ความท้าทายต่างๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเผชิญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรผู้ประกอบการทางสังคมในประเทศกำลังพัฒนา และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของ ระบบนิเวศของผู้ประกอบการเพื่อสังคม รวมถึงวิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเน้นไปที่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งผลการวิจัยนั้นแสดงให้เห็นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายที่มีส่วนร่วมใน ระบบนิเวศของผู้ประกอบการเพื่อสังคมและการรวมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกันเป็นผู้กำหนดทิศทางของพลวัตของระบบนิเวศ ( Malecki , 2018 )
หนึ่งในทฤษฎีทางด้านระบบนิเวศผู้ประกอบการที่สำคัญที่สุดคือทฤษฎีของ Daniel Isenberg (Isenberg’sModel of an Entrepreneurial Ecosystem) ที่นำสนอปัจจัย หลักที่สำคัญสำหรับระบบนิเวศผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. นโยบายและภาครัฐ(policyand government) 2. การให้เงินสนับสนุนผู้ประกอบการ(financialcapital) 3. วัฒนธรรม บรรทัดฐาน และบุคคลต้นแบบ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการ(cultureand success stories) 4. การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ภาครัฐ(support professions) 5. ทุนมนุษย์ระบบการศึกษา และการพัฒนา ทักษะของแรงงาน (human capital, educational institutionsand labor) 6. การตลาดในการสร้างเครือข่ายของ ผู้ประกอบการและลูกค้า (markets and networks) (Isenberg, 2011) ดังไดอะแกรมที่อยู่ด้านล่างนี้
Isenberg's Entrepreneurial Ecosystem Model (Isenberg, 2011)
หากแต่เมื่อได้นำ framework นี้มาทำการแมชชิ่งกับวิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว เราจะพบว่าผู้มีส่วนได้เสีย และบทบาทของพวกเขาในระบบนิเวศนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร ดังที่จะเริ่มต้นอธิบายในบทความนี้ และในบทความต่อๆ ไป ซึ่งจากการวิจัยของดิฉันเอง จะขอแบ่งผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศเป็น 7 ประเภท
1. ผู้ประกอบการสังคม 2. ภาครัฐ 3.มหาวิทยาลัย 4.นักลงทุน 5.ศูนย์กลางธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ 6.สื่อและบริษัทมีเดีย 7.ชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยต่อไปนี้ดิฉันจะขอแบ่งเล่าถึงปัจจัยต่างๆ ออกเป็น 3 บล็อกด้วยกัน และบล็อกแรกนี้ ก็จะขอพูดถึงปัจจัยแรก ซึ่งก็คือ บทบาทของผู้ประกอบการสังคมในฐานะผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศ
(Local Alike - one of the most successful social enterprise in Thailand)
ผู้ประกอบการเพื่อสังคมคือบุคคลที่ซึ่งใช้กลยุทธ์ที่สร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ( Roundy, 2017 ) พวกเขาระดมพลังของตลาด ชุมชน และธุรกิจเพื่อสร้างโมเดลกิจการเพื่อสังคมใหม่ๆ ( Kerlin , 2012 ) และยังดำเนินการเชิงรุกเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ของการเป็นเจ้าของร่วมกันที่ช่วยให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่พวกเขาเผชิญ โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการเพื่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ นั้นเป็นเช่นเดียวกับดาบสองคม ประการหนึ่ง ผู้ประกอบการเพื่อสังคมต้องพิจารณามุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของตน ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการเพื่อสังคมพยายามดำเนินโครงการการกุศลโดยใช้เงินของผู้บริจาคเอกชน วิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นๆ ก็จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริจาค เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าการบริจาคเงินนี้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์เฉพาะที่เขาต้องการนี้มากขึ้น ในทางกลับกัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรจะได้รับผลตอบรับที่มากเพียงพอเมื่อได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเพื่อสังคมแล้ว เนื่องจากการที่พวกเขาเข้าร่วมนั้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลือในทุกวิถีทางที่สามารถทำได้ ซึ่งผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ได้รับความช่วยเหลือนั้น จึงมีความรับผิดชอบที่จะทำให้เป้าหมายของพวกเขาเหล่านั้นบรรลุผลสำเร็จให้ได้
บทบาทของผู้ประกอบการสังคมในระบบนิเวศผู้ประกอบการสังคมคือการเชื่อมโยงและพบปะผู้คนที่มีความสนใจร่วมกันสร้างสรรค์วิธีสร้างความหมายผ่านการบริการและวัตถุประสงค์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร( Alvedalen & Boschma , 2017 ) รวบรวมทรัพยากรเช่นความรู้ทักษะเงินและเครือข่าย( Isenberg, 2014; ไอเซนเบิร์ก, 2011 )ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ประกอบการเพื่อสังคมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับโลกของบุคคลที่เป็นนักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้จัดการที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนโดยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่ตรงกันระหว่างความต้องการของผู้บริโภคและความพร้อมของสินค้าและบริการภายในชุมชนของตน ( Roundy , 2017; โรมัน, 2018 ). ผู้ประกอบการเพื่อสังคมในประเทศกำลังพัฒนาสามารถทำหน้าที่เป็น แรงผลักดันของระบบนิเวศของผู้ประกอบการทางสังคมได้โดยการช่วยสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Guerrero, Liñán & Cáceres -Carrasco, 2021 )
แต่หากมองถึงบทบาทของผู้ประกอบการเพื่อสังคมในฐานะหนึ่งในผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศนั้นเล่า ผู้ประกอบการสังคมมีส่วนมากมายในการสร้างแนวคิดและวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ( Ortuño et al., 2018 ) พวกเขาได้รับการคาดหวังให้เป็นผู้ที่มีนวัตกรรม มีไหวพริบ และตอบสนองได้ดี ( Bernardino, Santos & Ribeiro , 2018 ) ซึ่งในบริบทของการพัฒนานั้น พวกเขาไม่เพียงแต่ถูกคาดหวังให้สามารถเข้าใจสัญญาณของตลาด ตอบสนองต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลง แต่ยังต้องดูแลรักษาทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อส่งต่อจุดมุ่งหมายทางสังคมตามที่ตั้งใจไว้ พวกเขาต้องหากลวิธีทางธุรกิจเพื่อสร้างความสะอาดให้แก่โลก อนุรักษ์ทรัพยากร และทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อธรรมชาติ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่มากมาย( Ortuño et al., 2018 ) อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการเติบโตและการพัฒนาเชิงบวกของชุมชน
จากการวิจัยพบว่าบทบาทของผู้ประกอบการเพื่อสังคมนั้นมีความสำคัญต่อความสำเร็จของระบบนิเวศวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยลักษณะของผู้ประกอบการเพื่อสังคมจะต้องมุมมองสามมิติของทุกสิ่งรวมถึงความสนใจในตนเองและความเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น พวกเขาควรที่จะเข้าใจว่าตนเองเป็นใคร และมีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมสถานที่และสถานการณ์ที่เขาอาศัยอยู่มากแค่ไหน เพื่อที่เขาจะได้รับรู้ถึงศักยภาพว่าตัวเขาสามารถที่จะทำอะไรเพื่อผู้อื่นได้บ้าง ในขณะเดี่ยวกันผู้ประกอบการเพื่อสังคมควรมีทักษะและความสนใจที่จะสร้างและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต แต่ยังต้องใคร่ครวญด้วยว่าสิ่งแวดล้อมนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ให้การสนับสนุนพวกเขาอย่างไรอีกด้วย
หวังว่าทุกคนจะเข้าใจบทบาทและความท้าทายของผู้ประกอบการสังคมกันมากขึ้นนะคะ ในโอกาสหน้าดิฉันจะค่อยๆ เล่าถึงปัจจัยอื่นๆ ถัดไปนะคะ ขออภัยสำหรับความล่าช้าในการสรุปและแปลเนื้อหาค่ะ
*ข้อมูลทั้งหมดถูกสรุปมาจากงานวิจัยภาษาอังกฤษของดิฉันซึ่งเขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์ วิจัย ศึกษาค้นคว้า และประสบการณ์ส่วนตัวของดิฉันเอง จึงทำให้เนื้อหาบางอย่างอาจจะมีความ subjective ซึ่งดิฉันยินดี discuss กับทุกท่านได้ทุกเมื่อค่ะ
พี่ก็กำลังขับเคลื่อน SE เกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบ 70 : 30 เพื่อสร้างผู้ประกอบการขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในทุกจังหวัด