มาตรฐานฮาลาล (HALAL) คืออะไร อยากได้ต้องทำอย่างไร  237

คำสำคัญ : HALAL  ฮาลาล  อิสลาม  มาตรฐาน  อาหาร  โอทอป  OTOP  

ฮาลาล (Halal) ไม่เพียงแต่เป็นมาตรฐานสำหรับอาหารของชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการผลิตหรือการบริการทั้งหลายที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา ทั้งเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม และสาธารณูปโภค

ตราสัญลักษณ์ฮาลาล คือตราสัญลักษณ์ที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับชาวมุสลิม ใช้ในการอุปโภคและบริโภค ที่ออกโดย "คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด" ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการแสดงลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือกิจการ

โดยตราฮาลาลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลก อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ปรุง ประกอบ ตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อรับประกันว่าชาวมุสลิมสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าและบริการต่างๆ ได้โดยสนิทใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม แต่ในอิสลามก็จะมีคำว่า ฮารอม ที่เป็นการ ต้องห้าม หรือ ว่าไม่อนุมัติ ซึ่งตรงกันข้ามกับ ฮาลาล โดยข้อห้ามที่ห้ามบริโภคตามหลักศาสนาก็จะมีดังนี้
สิ่งต้องห้ามใช้ผลิตในผลิตภัณฑ์ฮาลาล ได้แก่
1. สัตว์ต้องห้าม เช่น
  - หมู สุนัข และสัตว์หรือสิ่งสกปรกที่เกิดจากสัตว์ทั้งสอง
  - ลาพื้นเมือง และล่อ
  - สัตว์บกที่ทีเขี้ยว เช่น เสือ สิงโต แมว ช้าง
  - สัตว์ปีกที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้ง เหยี่ยว สัตว์ที่ล่าเหยื่อด้วยกรงเล็บ
  - สัตว์มีพิษ หรือสัตว์นำโรค เช่น หนู ตะขาบ แมงป่อง และสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
  - สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น ผึ้ง มด นกหัวขวาน และนกฮูโป้
  - สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด แมลงวัน หนอน หรือสัตว์อื่นๆ ที่คล้ายกัน
  - เนื้อของซากสัตว์ หมายถึงสัตว์และสัตว์ปีกที่ตายเองโดยไม่ได้ผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา 
  - สัตว์บกและสัตว์ปีก ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม เช่น ถูกรัดคอตาย ถูกตีจนตาย ตกมาตาย
  - สัตว์ที่ถูกพลีให้แก่สิ่งอื่นจากอัลเลาะห์ ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ถูกเชือดโดยผู้เชือดกล่าวนามอื่นจากนามอัลเลาะห์ เหตุผลที่ห้ามสำหรับกรณีนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธาทั้งสิ้น
2. เลือดสัตว์ทุกชนิด
3. พืชที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด
4. อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือที่มีส่วนประกอบที่ให้เกิดความมึนเมา
 
ขั้นตอนในการยื่นขอรับรองมาตรฐานฮาลาล สามารถติดต่อยื่นเอกสารได้ที่ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือ ยื่นเอกสารผ่านช่องทางออนไลน์
 
 
หนังสือรับรองและหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลมีกำหนดอายุการรับรองไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกำหนด การขอต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอก่อนหนังสือรับรองหมดอายุอย่างน้อย 60 วัน หากไม่ยื่นคำขอตามกำหนดต้องดำเนินการขอรับรองใหม่ โดยมีค่าธรรมเนียมของรายการที่เกี่ยวข้องตามอัตรา ดังนี้
 

รายการ

ค่าธรรมเนียม

ขนาดเล็ก

ขนาดกลาง

ขนาดใหญ่

1.การตรวจสอบ

  1.1 ขอใหม่ / ต่ออายุ

 

10,000

 

15,000

 

20,000

  1.2 ผลิตภัณฑ์ OEM ขอใหม่ / ต่ออายุ

10,000

10,000

10,000

  1.3 กรณีไม่ผ่านความเห็นชอบ ครั้งละ

5,000

7,500

10,000

  1.4ขอเพิ่มผลิตภัณฑ์

5,000

7,500

10,000

  1.5 ขอเพิ่มผลิตภัณฑ์ OEM

5,000

5,000

5,000

  1.6 กรณีไม่ผ่านความเห็นชอบ OEM ครั้งละ

5,000

5,000

5,000

  1.7เมื่อมีการร้องเรียน

ตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริง

  1.8 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

ตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริง

ตามความเป็นจริง

  1.9 ค่าพาหนะ

ในเขตจังหวัดและปริมณฑล

นอกเขตปริมณฑล

 

2,500

ตามระยะทาง

 

2,500

ตามระยะทาง

 

2,500

ตามระยะทาง

  1.10 ค่าที่พัก

ไม่เกิน 1,200/ห้อง

ไม่เกิน 1,200/ห้อง

ไม่เกิน 1,200/ห้อง

2. ค่าหนังสือรับรองฮาลาล

   2.1 ภาษาไทย

   2.2 ภาษาอังกฤษ

   2.3 ภาษาอารบิก

 

1,000

1,000

1,000

 

1,000

1,000

1,000

 

1,000

1,000

1,000

3. หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล

   3.1 ภาษาไทย (รายการละ)

   3.2 ภาษาอังกฤษ (ฉบับละ)

   3.3 ภาษาอารบิก (ฉบับละ)

   3.4 ภาษาอื่น ๆ (ฉบับละ)

 

 

500

500

500

ตามความเป็นจริง

 

 

500

500

500

ตามความเป็นจริง

 

 

500

500

500

ตามความเป็นจริง

4. เอกสารรับรองฮาลาลเพื่อการส่งออก

(คิดตามใบสั่งซื้อ)

1,000

1,000

1,000

5. ค่าที่ปรึกษา

   5.1 ที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ

 

2,000

   5.2 ที่ปรึกษาพิเศษประจำสถานประกอบการฆ่าสัตว์

4,500 – 8,000

   5.3 ผู้ควบคุมการเชือดสัตว์

18,000 – 20,000

   5.4 ที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ (กรณีผู้ประกอบการมีการรับจ้างผลิต)

3,000 – 4,000

6. ค่าธรรมเนียม(กรณีนำเข้า)

10,000

15,000

20,000

7. ค่าที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ(นำเข้า)

1,500

2,000

2,000

หมายเหตุ การพิจารณาขนาดของสถานประกอบการ SML เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. จำนวนพนักงาน
S = 1 - 50 คน
M = 51 - 100 คน
L = 101 คนขึ้นไป
2. กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์
S = 1 - 10 ตัน/วัน
M = 11 - 20 ตัน/วัน
L = 21 ตันขึ้นไป
3. จำนวนผลิตภัณฑ์
S = 1 - 20 ผลิตภัณฑ์
M = 21 - 40 ผลิตภัณฑ์
L = 41 ผลิตภัณฑ์ขึ้นไป

ผู้ประกอบการจะต้องชำระค่าธรรมเนียม ตามรายการ ดังต่อไปนี้

รายการ

จำนวน (บาท)

ค่าฝึกอบรม หลักสูตรที่คณะกรรมการกำหนดในระดับเจ้าหน้าที่บริหารหลักสูตร 1 วัน จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 30 – 40 คน

20,000

กรณีขอต่ออายุไม่ถึง 60 วันแต่ยังไม่หมดอายุการรับรอง ให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มการฝึกอบรม ภายใน 30 วันหลังจากยื่นขอรับรอง

20,000

กรณีขอต่ออายุหลังหมดอายุการรับรองให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มการฝึกอบรมหลักสูตรฮาลาล หรือระเบียบข้อบังคับและประกาศฯ ภายใน 30 วันหลังจากยื่นขอรับรอง โดยให้ลดอายุการรับรองฮาลาลเหลือ 10 เดือน และให้มีตรวจสอบทุก 6 เดือน

27,500

กรณีจำเป็นต้องมีการล้างทำความสะอาดนยิสหนักตามหลักการของศาสนาก่อนที่จะขอรับรองฮาลาลหรือเมื่อการตรวจรับรองพบว่ามีการปนเปื้อน นยิสหนัก

7,500 ต่อวัน

กรณีที่ผู้ประกอบการได้รับข้อบกพร่องรุนแรง (Major) และคณะกรรมการพิจารณาว่าต้องมีการตรวจติดตามผลการแก้ไข (Follow Up Audit) ณ สถานประกอบการ หรือต้องมีการตรวจสอบทุก 6 เดือน

7,500 ต่อวัน

ค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองฮาลาลสำหรับผู้แทนการผลิตหรือรับจ้างผลิต หรือกรณีผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (SME) หรือ OTOP คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด สามารถออกข้อบังคับเพื่อการลดหย่อนค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่าที่ข้อบังคับฉบับนี้กำหนด

-

 
ดังนั้น ผู้ประกอบการ หรือพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ ควรพิจารณาถึงความจำเป็นของกิจการก่อนยื่นขอความต้องการที่จะขอมาตรฐานฮาลาล เนื่องจากมีเงื่อนไข/ข้อกำหนด และค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง ควรเปรียบเทียบต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นกับผลกำไรที่จะได้จากยอดขายที่สามารถขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคชาวมุสลิม
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของท่าน
 

เขียนโดย : สุชานุช  ชนะชาญมงคล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : suchanuch.c@most.go.th