คุณ IQ สูงกว่าคน 98 เปอร์เซ็น เมื่อ 100 ปีที่แล้ว (ความสำคัญของการฝึกทักษะในเชิงกว้าง)  163

คำสำคัญ : Range  วิชารอบรู้  เป็ด  

บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วของผม 

ในบล๊อกนี้ผมจะขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจในหนังสือเรื่อง Range : วิชารอบรู้

(หนังสือที่ช่วยปลอบประโลมคน Self doubt แบบผมได้ดีมาก)

เริ่มกันเลย

ทุกคนอาจจะเคยเห็นหรืออาจจะเคยทำแบบทดสอบข้างบนนี้มาก่อรบ้างแล้ว

แต่อาจจำไม่ได้ได้ว่าเคยเห็นมาจากไหน

.

.

.

ใช่แล้วครับ มันอยู่ในแบบทดสอบการวัดระดับ IQ

ชื่อของมันคือ Ravan's Progression Metrices

ซึ่งหน้าที่ของมันคือทำพยายามวัดความสามารถในการเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อนของคนว่ามีมากน้อยเพียงใด

ลักษณธของคำถามจะเป็นอย่างที่เห็นคือจะมีการแสดงลำดับของรูปนามธรรม (Abstract)

และให้เราหาคำตอบในส่วนรูปที่หายไป

.

.

.

แบบทดสอบเรเวนนี้ถือเป็นแบบทดสอบชั้นยอดที่ "ไม่อิงวัฒนธรรม" ใดๆเลย

จึงถือว่าสากลมากๆ ในการใช้วัด IQ 

(ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวบุกโลก แบบทดสอบนี้ก็คงเหมาะสุดที่จะวัดว่าไอ่ตัวนั้นมันฉลาดประมาณไหน)

.

.

.

ปี 1981 มีนักรัฐศาสตร์ขี้สงสัยคนนึงชื่อ Jame Flynn 

ได้เริ่มงานวิจับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้อ่านข้อมูลผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง

IQ ทหารสงความโลกครั้งที่ 1 VS IQ ทหารสงครามโลกครั้งที่ 2

ผลคือคะแนนที่เปอร์เซ็นไทด์ที่ 50 ของทหารสงครามโลกครั้งที่ 1 

เท่ากับเปอร์เซ็นไทด์ที่ 22 ของทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2

.

.

.

เขาสงสัยว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลกเหมือนๆกันรึป่าว

เขาจึงเริ่มส่งจดหมายหานักวิจัยทั่วโลกเพื่อหาข้อมูลในแนวๆเดียวกันนี้

ไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็ได้รับจดหมายส่งมาจากนักวิจัยชาวดัตส์

ในจดหมายเป็นข้อมูลผลทดสอบ IQ ของชายหนุ่มชาวดัตส์ข้ามรุ่นจำนวนมาก

โดยวิธีการใช้แบบทดสอบเรเวนนี้เอง

.

.

.

ข้อมูลแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบข้ามรุ่น

และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ จริงๆแล้วแบบทดสอบนี้ถูกปรับให้ยากขึ้นทุกปี

เพื่อให้คะแนนเฉลี่ยนเป็นเส้นโค้งปกติ (Normal Curve) แต่ถึงอย่างนั้น คะแนนเฉลี่ยก็สูงขึ้นอยู่ดี

.

.

.

ภายหลังที่ฟลินน์ได้ตีพิมพ์เรื่องนี้ในปี 1987 ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า Flynn Effect

ที่โดยเฉลี่ยแล้ว IQ ของคนจะสูงขึ้น 3 คะแนนทุก 10 ปี

(หมายความว่าถ้าคุณมี IQ เท่ากับค่าเฉลี่ยของวันนี้ คุณฉลาดกว่าอีก 98 เปอร์เซ็น ของคนเมื่อ 100 ปีที่แล้ว)

.

.

.

ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกอย่างนึงคือ การศึกษาผลการทดสอบระดับชาติของเอสโตเนีย

เปรียบเทียบระหว่างปี 1930 และ ปี 2006 พบว่า 

คะแนนด้านความรู้ทั่วไป เรขาคณิต คำศัพท์ คะแนนไม่ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นต่างกันมากนัก

แต่คะแนนที่เป็นคำถามเชิงนามธรรมกลับมีคะแนนสูงขึ้นอย่างเด่นชัด

.

.

.

เด็กสมัยใหม่ ไม่ได้เข้าใจคำว่า "แม่ไก่,การกิน,การเจ็บป่วย" ได้ดีกว่ารุ่นปู่ ย่า

แต่ถ้าเป็นคำที่แสดงถึงความคิดเชิงนามธรรมอย่าง " กฎหมาย,คำปฏิญาณ,พลเมือง"

กลับกลายเป็นว่าพวกเขาเข้าใจมากกว่าหลายเท่า

.

.

.

ความจริงแล้ว ในหนังสือมีตัวอย่างอีกมากมายที่สนับสนุนข้อสรุปที่ผมจะขอยกมาต่อจากนี้

เพื่อที่จะไม่ทำให้ยาวเกินไป

.

.

.

ฟลินน์ได้สรุปว่า สิ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ขนาดนี้ คือการใช้ความคิดเชิงนามธรรม แทนที่การใช้ความคิดเชิงวัตถุ

ที่เขาตั้งชื่อให้มันว่า "การมองผ่านแว่นตาวิทยาศาสตร์"

.

.

.

กล่าวคือ แทนที่จะมองผ่านประสบการณ์ตรงของตัวเอง เราเข้าใจความจริง ผ่านกรอบความคิดแบบแยกประเภท ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นชั้นๆ เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลมากกว่า 1 ชุด

.

.

.

ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในโลกสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

หรือการแก้ปัญหาแบบโหดร้าย (wicked problem) 

.

.

.

ดังนั้น วคามเชี่ยวชาญในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจำเป็น แต่การการที่มีทักษะเชิงกว้างนั้น อาจมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาแบบที่

ไม่มีความตายตัว ไม่มีแบบแผน ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนได้ จากคลังประสบการณ์ที่กว้างนั่นเอง

.

.

.

การฝึกฝนในเชิงกว้าง นอกเหนือความเชี่ยวชาญของตนเองนั้น

อาจไม่ได้หมายถึงการให้นักศึกษาเอกตอมพิวเตอร์ ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยทุกคน

แต่คือการที่ว่า เราทุกคนควรมีนิสัยการคิดที่พร้อมจะก้าวข้ามแวดวง สาขาที่เราเชี่ยวชาญ

เพื่อมองหามุมมองที่กว้างมากขึ้น

- Jame Flynn-

.

.

.

มาถึงตรงนี้ตงต้องบอกว่าการเป็นเป็ดอาจทำให้คุณได้เปรียบ 

ในบางหน้างานด้วยซ้ำไป

.

.

.

ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ

ณัฐพล

 


เขียนโดย : นายณัฐพล  มหาไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattaphon.m@mhesi.go.th