ซอฟท์พาวเวอร์อาหารไทย   52

คำสำคัญ : softpower  อาหาร  

ดันซอฟท์พาวเวอร์อาหารไทย กลยุทธ์ต้องชัด ระบบนิเวศต้องมี

อาหารไทย ถือเป็นหนึ่งใน Soft power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย แต่ต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนและสร้างระบบนิเวศอย่างครบวงจร

“อาหาร”ถือเป็นหนึ่งใน Soft power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการสร้างโอกาสการเติบโตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับไทย เพราะนอกจากอาหารไทยจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกมาอย่างยาวนานแล้ว ประเทศไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของวัตถุดิบ และมาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

การผลักดันยุทธศาสตร์ Soft power ด้านอาหาร

ทั้งนี้กลไกในการผลักดันยุทธศาสตร์ Soft power ด้านอาหาร สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงต่าง ๆ เช่น ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ รวมทั้งการเผยแพร่ผ่านผลงานศิลปะและดนตรี หรือแม้แต่การโปรโมท
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy tourism) เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงเข้ากับประเพณี วิถีวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน นอกจากจะส่งผลดีต่อผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังทำให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่

การสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft power

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ คือการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านนี้ เพื่อติดอาวุธและสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการไทย ซึ่งประกอบด้วย

1. การพัฒนาคนการพัฒนาคนด้วยการยกระดับศักยภาพของคนไทยให้เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ
เป็นแรงงานทักษะสูง รวมถึงการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะความรู้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์และทักษะเฉพาะทาง

2. การจัดตั้งหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Soft powerปัจจุบันมี THACCA ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวก ประสานงานกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไทย เพื่อปลดล็อกศักยภาพ แก้ปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมาย และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร

3. การวางยุทธศาสตร์การส่งออกและการตลาดการวางยุทธศาสตร์การส่งออกและการตลาดมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนและกระบวนการด้านการส่งออกของดีของประเทศไทยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดปลายทาง

SCB EIC มองว่า การผลักดัน Soft power ด้านอาหาร จะมีส่วนช่วยสนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ ร้านอาหาร โรงเรียนสอนทำอาหาร ร้านของฝากและของที่ระลึก หรือแม้แต่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

แต่ความท้าทายสำคัญ คือ การสร้างมาตรฐานและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่มีความสอดคล้องและมีทิศทางเดียวกันทั้ง Ecosystem รวมถึงการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อตอกย้ำภาพจำที่เด่นชัดกับผู้บริโภคในตลาดโลก

ที่มา: EIC



เขียนโดย : นางสาวเพ็ญพิชชา  คงแทน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : penpitcha.k@mhesi.go.th