แนวคิดการประเมินในรูปแบบ CIPP และ CIPPiest Model (เหมือน/แตกต่างกันอย่างไร)  82

คำสำคัญ : การประเมิน  CIPP  CIPPiest  คลินิกเทคโนโลยี  ชุมชน  คูปองวิทย์  OTOP    

รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST

CIPP and CIPIEST Evaluation Models

 

ขอบคุณรูปภาพปรพกอบจาก : ผศ.ดร.ศมณพร สุทธิบาก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร)

[1] รูปแบบการประเมิน CIPP และการนาไปใช้

รูปแบบการประเมิน CIPP เป็นการนาตัวอักษรตัวแรกของมิติการประเมิน 4 ด้านมาประกอบกันได้แก่ การประเมินบริบท (Context) ปัจจัยนาเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.      การประเมินบริบท: Context Evaluation หมายถึง การประเมินเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น (Need) ปัญหา (Problem) คุณสมบัติที่มีค่า (Assets) และโอกาส (Opportunities) ที่จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมหนึ่งที่กำหนด การประเมินบริบท 4 ส่วนนี้มีความสาคัญที่จะนำไปสู่การออกแบบโครงการ แผนงาน และการให้บริการที่มีความเหมาะสมเป็นไปได้

2.      การประเมินปัจจัยนำเข้า : Input Evaluation จุดมุ่งเน้นหลักของการประเมินปัจจัยนำเข้าก็เพื่อช่วยจัดลาดับโครงการที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต้องการจำเป็น โดยการศึกษาและตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับแนวทางต่าง ๆ ที่มีศักยภาพหรือมีความเป็นไปได้มากที่สุด ในอันที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การประเมินปัจจัยนำเข้าจะเป็นตัวบ่งบอกล่วงหน้าถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวหรือประสิทธิผลของความพยายามเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่โครงการหรือสิ่งแทรกแซง นั้น ๆ ต้องการให้เกิด จุดมุ่งเน้นประการที่สองของการประเมินปัจจัยนำเข้า ก็เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นทางเลือกต่าง ๆ และเพราะเหตุใดจึงเลือกแนวทางนั้น ในกรณีเช่นนี้สารสนเทศที่ได้จากการประเมินปัจจัยนำเข้าจะมีความสาคัญเป็นอย่างมากสาหรับบ่งบอกให้เห็นถึง ความรับผิดรับชอบ (Accountability) ใด ๆ ของผู้พัฒนาโครงการที่พยายามออกแบบและปรับปรุงงบประมาณใด ๆ ของโครงการหรือสิ่งแทรกแซงดังกล่าว

3.      การประเมินกระบวนการ : Process Evaluation เป็นการตรวจสอบการนาแผนงานหรือโครงการไปใช้หรือตรวจสอบการดำเนินงานการใช้แผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ที่สาคัญประการหนึ่งของการประเมินกระบวนการก็คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้จัดการและผู้ปฏิบัติงานในโครงการนั้น ๆ เกี่ยวกับการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการว่าเป็นไปตามตารางเวลาที่กำหนดหรือไม่ การใช้งบประมาณและประสิทธิภาพเป็นอย่างไร สาหรับวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งก็เพื่อชี้แนะแนวทางให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ในการปรับปรุงการใช้งบประมาณและแนวทางการดำเนินงานของโครงการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

4. การประเมินผลผลิต : Product Evaluation วัตถุประสงค์หลักของการประเมินผลผลิตก็เพื่อสอบวัด ตีความ และตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ แผนงานหรือสิ่งแทรกแซงว่าตอบสนองบรรลุความต้องการจำเป็นของกลุ่มผู้รับประโยชน์หรือไม่ นอกจากนั้นการประเมินผลผลิตก็ยังต้องประเมินผลลัพธ์ (Outcomes) ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งที่เป็นไปในทางบวกและทางลบอีกด้วย

[2] รูปแบบการประเมิน CIPIESTและการนาไปใช้

       รูปแบบการประเมิน CIPIEST คือ ส่วนปรับขยายของรูปแบบการประเมิน CIPP โดยปรับขยายการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ออกเป็นการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ของสิ่งที่ได้รับการประเมิน ซึ่งมักได้แก่ โครงการ แผนงานหรือสิ่งแทรกแซงต่าง ๆ โดยที่ส่วนขยายของมิติการประเมินที่เพิ่ม ขึ้นนี้มีความหมายครอบคลุมรวมถึงการประเมินผลผลิตเดิมและการประเมินผลลัพธ์นั่นเอง

- การประเมินผลกระทบ เป็นการประเมินโดยตั้งคำถามว่า สิ่งที่ผู้รับผลประโยชน์ (จากโครงการหรือสิ่งแทรกแซง) ได้รับเกินไปกว่า เป้าหมายความต้องการที่จะได้รับตอบสนองตามความต้องการจำเป็นนั้นคืออะไรบ้าง คำถามนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่ว่าสิ่งที่ได้รับเกินไปกว่าที่กำหนดไว้นั้นจะเป็นไปในทางบวกหรือทางลบก็ล้วนแต่เป็นผลกระทบทั้งสิ้น

- การประเมินประสิทธิผล เป็นการประเมินโดยตั้งคำถามว่า โครงการหรือสิ่งแทรกแซงบรรลุตอบสนองความต้องการจำเป็นของกลุ่มผู้รับประโยชน์ได้อย่างครอบคลุมหรือไม

- การประเมินความยั่งยืน เป็นการประเมินโดยตั้งคำถามว่า แนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นระบบหรือเป็นทางการเกี่ยวกับการนาโครงการไปใช้ให้ประสบผลสาเร็จอย่างยั่งยืนคืออะไร คำถามดังกล่าวมุ่งพิจารณาประเมินความคงอยู่หรือความต่อเนื่องในการทาโครงการที่ประสบผลสำเร็จไปใช้ รวมถึง วิธีการในการรักษาไว้ซึ่งความสำเร็จของโครงการดังกล่าว

- การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ เป็นการประเมินโดยตั้งคาถามว่า มีการนาโครงการหรือ สิ่งแทรกแซงที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์หรือปรับปรุงใช้ในที่อื่น ๆ หรือไม่

 

“จะเห็นว่ามิติการประเมินที่เพิ่มขึ้นทั้ง 4 ด้าน จากการขยายการประเมินผลผลิต ตามรูปแบบการประเมิน CIPP เดิมนั้น เรียกว่า “ผลลัพธ์” (Outcomes) ของโครงการนั่นเอง เพียงแต่เป็นการจาแนกและตั้งคาถามการประเมิน ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีการนารูปแบบการ ป ระ เมิน CIPIEST ไป ใช้จึง ยังคง มีลักษณะ เช่นเดียวกับการใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ที่ กล่าวผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าของ รูปแบบการประเมินทั้งที่เป็นการประเมินเป็น ระยะ ๆ และการประเมินสรุปรวม เหล่านี้เป็นต้น”

 

[3] สรุป

รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST ที่นำมาใช้ในการประเมินสิ่งที่ได้รับการประเมินควร ใช้ประเมินเป็นระยะ ๆ และประเมินสรุปรวม โดย ใช้เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับประเด็นย่อย ๆ ที่ต้องการประเมินใน แต่ละมิติ รวมทั้งใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพสาหรับนามาวิเคราะห์สรุปตีความผลการ ประเมิน ทั้งนี้แหล่งที่มาของข้อมูลในการประเมินก็ ต้องเก็บรวบรวมหรือได้มาอย่างหลากหลาย ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ทั้งที่เป็นทีม ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ ผู้รับผลประโยชน์จาก โครงการ ผู้บริหารหรือผู้เป็นเจ้าของโครงการ ร ว ม ทั้ง ข้อ มูล จา ก เอ ก สา ร บัน ทึก ต่า ง ๆ ประกอบด้วยเช่นกัน

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รัตนะ บัวสนธ์*

เอกสารอ้างอิง
Stufflebeam, Gulickson and Wingate. (2002). The Spirit of Consuelo: An Evaluation
of Ke Aka Hoo na. The Evaluation Center, Western Michigan University.
Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications.
John Wiley and Son, Ine.

เขียนโดย : อัญชลี  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : anchalee.anchalee@gmail.com