การสร้าง Growth Mindset เพื่อผลสำเร็จของงาน (ข้อคิดเห็นในการพัฒนางาน)  71

คำสำคัญ : growth  mindset    

สวัสดีค่ะ วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการสร้าง Growth Mindse tเพื่อผลสำเร็จของชีวิตและงาน เรื่องนี้ตั้งใจลงทะเบียนเรียนออนไลน์ตั้งแต่ต้นปีแล้ว และตอนนี้เรียนสำเร็จแล้ว จึงขอนำมาฝากทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านนะคะ ก่อนอื่นเลยการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) เราต้องเริ่มจากการสำรวจตัวเองเพื่อสร้างความรู้จักตัวเองก่อนค่ะ

  • ฉันคือใคร?
  • คุณสมบัติเด่นของฉันคือเรื่องอะไร?  
  • ฉันมีพรสวรรค์ในเรื่องอะไร?
  • ฉันเป็นคนลักษณะไหน?
  • ฉันต้องการใช้ชีวิตอย่างไร?

กรอบความคิด (Mindset) คือ ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมของเรา แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • กรอบความคิดแบบยึดติด (Fixed Mindset)คนที่มีกรอบแบบตายตัวมักจะเป็นคนที่เชื่อว่าความสามารถของตัวเองเป็นสิ่งตายตัว ยอมแพ้ต่อโชคชะตา คิดว่าตนไม่มีทางเก่งกว่านี้ กลัวปัญหา กลัวอุปสรรค พยายามวิ่งหนี ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยง เห็นสิ่งท้าทายเป็นเรื่องน่ากลัว เช่น ยึดติดกับการสำเร็จ ความกังวลกับผลลัพธ์ การปฏิบัติตัวตามปกติ การยอมรับศักยภาพตัวเอง และการจดจ่อกับปัญหาและอุปสรรค เป็นต้น
  • กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)คนที่มีความคิดแบบนี้จะเชื่อว่าความสามารถ ทักษะ ความฉลาดเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ เชื่อมั่นในการเรียนรู้ ความพยายาม ชอบวิ่งหาความท้าทาย ชอบเจออุปสรรค เพราะคิดว่าเป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้ บทเรียนยิ่งยากพวกเขายิ่งรู้สึกยินดี ชอบคำวิจารณ์เพราะจะได้นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุง เช่น การสร้างความสำเร็จใหม่ๆ การคิดว่าทำอะไรได้อีกบ้าง ความท้าทายกับผลลัพธ์ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การขยายขอบเขตความสามารถ และการให้ความสำคัญกับเป้าหมาย เป็นต้น

ที่มา : https://www.facebook.com/brandthink.me

การสร้างGrowth Mindset ในการดำเนินชีวิต

  • การสร้างความเชื่อที่ทรงพลัง(Empowering Belief)
  • การมีทัศนคติเชิงบวกกับเหตุการณ์เชิงลบ
  • การสร้างความฉลาดทางอารมณ์(Emotional Intelligence)
  • การออกจากพื้นที่คุ้นเคย(Comfort Zone) ด้วยการเปลี่ยนแปลง
  • การยอมรับความจริงด้วยการไม่ยอมแพ้
  • การมีสติอยู่กับปัจจุบันด้วยความเชื่อมั่น

การใช้ Growth Mindset กับการทำงาน

  • การมองที่คุณค่า(Value) ของการทางาน
  • การสร้างความท้าทายกับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
  • ความเชื่อว่า“ทุกปัญหาของงานมีแนวทางแก้ไข”
  • การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
  • การให้ความสาคัญกับการทางานแบบทีมเวิร์ค
  • การสร้างผลลัพธ์ได้เสมอในทุกๆ สถานการณ์

 

การพัฒนาตนเองด้วย 6Q สู่ความสำเร็จ

1. IQ (Intellectual Quotient)=  การคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด เป็นการแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ สติปัญญา ไม่รีบสรุปสถานการณ์

2. EQ  (Emotional Quotient)=  การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง เมื่อเจอปัญหาอุปสรรค จะมีความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกตัวเองและคนรอบข้าง เพื่อนำมาใช้กระตุ้นผลักดันตนเอง และบริหารจัดการอารมณ์

3. AQ (Adversity Quotient) =  การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย ความฉลาดในการฝ่าวิกฤติ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จในชีวิต

4. CQ  (Creative Quotient)=  การคิดสร้างสรรค์ในสถานการณ์ต่างๆ ความสามารถในการสร้างแนวความคิดใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อค้นหาวิธีการในการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคแล้วก้าวข้ามไปสู่เป้าหมาย หรือปรับตัวเองไปสู่สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

5. OQ (Ownership Quotient)=  การแสดงผลงานที่มีคุณค่า ระดับของความคิด ความรู้สึกที่บุคลากรมีต่องานที่ตัวเองรับผิดชอบ ความรู้สึกร่วมในการทำงานเป็นทีม และภักดีต่อองค์กร

6. SQ (Spiritual Quotient) =  การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดีของตัวเอง ความฉลาดทางด้านจิตใจ และความรู้สึกที่เกิดจากภายในของตัวแอง

ทั้ง 6Q เราต้องฝึกฝนและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นรากฐานของความคิดแบบ Growth Mindset

ขอขอบคุณเอกสารประกอบการบรรยายในหัวข้อ การพัฒนากรอบความคิดแบบ Growth Mindsetโดย อาจารย์ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์ ที่มา : https://learningportal.ocsc.go.th)

 

ข้อสรุปที่ได้จากการเรียนในหัวข้อนี้ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนางาน

1. สามารถนำมาปรับกรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อนำมาปรับใช้ในงาน การปรับกรอบความคิดให้เป็น Growth Mindsetเริ่มที่ตัวเราเองก่อนฝึกฝนและทำอย่างสม่ำเสมอ การก้าวออกจาก comfort zone การไม่คิดลบ ต้องตั้งเป้าหมายที่จะทำ ต้องมองว่างานที่ได้รับมอบหมายให้ทำนั้นมีความท้าทาย ซึ่งเชื่อว่าไม่ยากเลยหากเรามุ่งมั่นตั้งใจ

2. ใน กปว. ควรมีการสร้างและปลูกฝัง Growth mindset ที่ดีอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากร สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงาน สำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารสูงสุดต้องเปิดใจกับแนวความคิดนี้ แสดงออกถึงการมี Growth mindset โดยถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด นโยบายการบริหารงาน ผ่านช่องทางการสื่อสารภายใน องค์กร

3. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ/ บริการที่ตอบสนองผู้รับบริการทั่วไปและผู้รับบริการเฉพาะกลุ่ม เพื่อสร้างพื้นที่ให้บุคลากรได้แสดงออก เรียนรู้การมองทุกความ

 4. มีการกำหนดแนวทางการโยกย้าย หมุนเวียนงานเพื่อสะสม ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรเกิดความตระหนักรู้ ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และหากบุคลากรไม่พัฒนาตนเอง อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของหน่วยงานในภาพรวมได้หน่วยงานจึงต้องให้ความสำคัญและวางแผนการพัฒนา บุคลากรอย่างต่อเนื่อง


เขียนโดย : น.ส.วิลาวรรณ  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : wilawan.n@most.go.th