Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
Learning City EP : 2 เทศบาลนครเชียงราย ต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้แห่งแรกของไทย 160
จากบทความก่อนหน้าเรื่อง “Learning city เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าในประเทศไทยของเราก็มีหนึ่งในสมาชิกของ UNESCO GNLC (UNESCO Global Network of Learning Cities) แห่งแรกของประเทศ นั้นคือ เทศบาลนครเชียงราย ที่ได้รับการรับรองจาก UNLC เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562
เทศบาลนครเชียงราย เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” ของ “ยูเนสโก” แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศที่ 4 ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน เรียงลำดับดังนี้ 1. อินโดนีเซีย 2. มาเลเซีย และ 3. ฟิลิปปินส์ จากการดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นเมืองที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ เช่น มีประชากรอย่างน้อย 10,000 คนขึ้นไป มีบทบาทหน้าที่ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมในการขับเคลื่อนหน่วยงานในลักษณะเทศบาลแห่งการเรียนรู้ (Learning Municipality) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด มีการริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกกลุ่ม เช่น เกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย พลังงานทางเลือก ภูมิปัญญาสมุนไพร การส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัล เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ห้องเรียนธรรมชาติ ‘คีรีชัย ยามะ’ พื้นที่ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ‘กาดดอยสะเก็น’ ห้องสมุดเสมสิกขาลัย ย่านสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย สวนสาธารณะริมแม่น้ำกกที่เหมาะสำหรับการเล่นกีฬาและทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมติดตามโครงการพัฒนานครเชียงราย สู่เมืองแห่งความสุข 3 มิติ ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกวัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงราย ขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Global Network of Learning Cities (GNLC) ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ณ บริเวณชุมชนป่าตึงริมกก จ.เชียงราย ซึ่งดำเนินงานโดยเทศบาลนครเชียงรายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ภายใต้การประชุม ครม. สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานและกล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนงาน อว.พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ อว.ลงพื้นที่ติดตามงานในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 ตามนโยบายของ อว. ที่ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของชุมชน ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนและส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สามารถติดตาม ข้อมูลข่าวสารหรือบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ จากเรา เครือข่าย อว.ภาคเหนือ ได้ที่
Fan page : เครือข่าย อว.ภาคเหนือ
_________________________________________________________________
#อว#กระทรวงอว#stiotopbymhesi#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#MHESI#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#chiangmai#thailand#Thailand2024#เครือข่ายอวภาคเหนือ#เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต#learningcity#GNLC#เชียงราย#เทศบาลนครเชียงราย#chiangrai
อ้างอิง
1.https://www.salika.co/.../chiangrai-global-network-of.../
2.https://www.thekommon.co/comingtotalk-ep38/
4.https://chiangrai.rmutl.ac.th/news/24592
ดีที่เราได้มีโอกาสไปเชียงรายบ่อยๆ กับ “เมืองแห่งการเรียนรู้” ของ “ยูเนสโก” แห่งแรกในประเทศไทยนะคะพี่ป้อม