กระบวนการและแรงจูงใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยี  36

คำสำคัญ : Transferor  Licensing  Marketing  

กระบวนการและขั้นตอนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี

มี 8 ขั้นตอน ดังนี้

1)      การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งเป็นแหล่งที่มาขององค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาเป็นการผลิตองค์ความรู้ที่เป็นที่ยอมรับ มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นสากล อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตความรู้ที่ไม่เป็นทางการยังคงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น การลองผิดลองถุกจากการดำเนินงานจริง หรือการตกผลึกจากประสบการณ์ในเรื่องใดๆ

2)      การประดิษฐ์คิดค้นหรือการพัฒนานวัตกรรม(Invention & Innovation)ซึ่งเป็นผลผลิตจากการองค์ความรู้ที่ได้รับจากขั้นที่ 1ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์ การวิจัยพัฒนา หรือการเรียนรู้ดัดแปลงจากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วหรือที่เรียกว่า วิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) เป็นต้น

3)      การประเมินเทคโนโลยี (Evaluation) เทคโนโลยีจะถูกประเมินด้วยข้อมูลของนักประดิษฐ์ ประกอบกับการค้นหาตรวจสอบเทียบกับสิทธิบัตร และการวิจัยความต้องการของตลาด หรือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อประเมินศัยกภาพในเชิงพาณิชย์ ยืนยันศักยภาพของนวัตกรรม ซึ่งกระบวนการประเมินเทคโนโลยี จะทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์ในการถ่ายทอด ระดับการให้สิทธิ์ในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี รวมไปถึงการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ

4)      การปกป้องเทคโนโลยี (Protection) เทคโนโลยีควรได้รับการคำนึงถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ก่อนจะทำการถ่ายทอด เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ในเทคโนโลยีนั้น จึงควรต้องมีกำหนดสิทธิ์ การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์มีทั้งแบบ Exclusive และ Non-Exclusive ส่วนค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น  การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา ความพร้อมของผู้ขอรับเทคโนโลยี เป็นต้น

5)      การตลาด (Marketing) เมื่อพิจารณาและเตรียมการในการประเมินเทคดนโลยี และการปกป้องเทคโนโลยีแล้วจึงกำหนดราคา รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ รวมถึงควรมีการวิจัยตลาด ระบุทรัพยากร และเครือข่ายธุรกิจเพื่อการนำนวัตกรรมไปสู่ตลาด

6)      การอนุญาตใช้สิทธิ์ (Licensing)ต้องมีการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีว่าสามารถสามารถใช้เทคโนโลยีในระดับใด สามารถดัดแปลงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้หรือไม่

7)      การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งต่างๆ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ หรือใช้ประโยชน์ทางสังคมต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีในขั้นตอนนี้จะเป็นเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ผู้รับการถ่ายทอดสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้ตามวัตถุประสงค์แล้ว

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสาธารณะประโยชน์ และพัฒนาเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางตามสิทธิ์ และวัตถุประสงค์ที่ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกำหนดให้

แรงจูงใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ตามผู้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอด ประกอบด้วย

แรงจูงใจของผู้โอนถ่ายเทคโนโลยี (Transferor)

·      รายได้จากการขายเทคโนโลยีเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของผู้ถ่ายโอน

·      การติดตามการขายรวมถึงวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆ ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ความช่วยเหลือทางเทคนิค การบำรุงรักษา ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่แม้ตามมาภายหลัง แต่อาจเป็นผลประโยชน์ก้อนใหญ่ในระยะยาว

·      การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีจะเป็นการส่งเสริมการขายให้กับเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดให้ประสบความสำเร็จ

·      การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยความรู้จากผู้รับการถ่ายทอดจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

·      ต้นทุนผลิตที่ต่ำกว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีมักจะเป็นการหาวิธีลดต้นทุนด้วย โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนา สู่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดต้นทุนแรงงานในการผลิต

·      ช่องทางที่จะเข้าไปปกป้องตลาดนอกจากต้นทุนแรงงานที่ถูกลง การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนานั้น ยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีที่เกิดจากนโยบายส่งเสริมการลงทุน ทำให้ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีได้เปรียบทางการแข่งขันในประเทศที่รับการถ่ายทอด

·      เปิดตลาดใหม่ที่มีความเสี่ยงและต้นทุนต่ำการขยายตลาดไปต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องมีพันธมิตรทางการค้าในพื้นที่ ซึ่งมีความเข้าใจในประเทศคู่ค้าที่ดีกว่า

 

แรงจูงใจของผู้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยี (Transferees)

ระดับบริษัทฯ

·      ต้องการผลกำไรจากกิจกรรมใหม่

·      ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยไม่ต้องเสียเวลาค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงจากการทำวิจัยและพัฒนา

·      ต้องการความรู้ทุกอย่างยิ่งใหม่ๆที่มีความสลับซับซ้อนโดยทำงานจะได้รับการฝึกหัดใหม่ที่มองคุณค่านี้

·      มีความหวังที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

·      ต้องการที่จะติดต่อกับผู้ติดในต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาเพื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคต

ระดับนโยบายประเทศ

·      ต้องการประหยัดเงินตราต่างประเทศโดยการนำเข้าเทคโนโลยีที่ใช้ทดแทนกันได้

·      ต้องการสร้างงานเมื่อมีคนทำงานก็สามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น

·      เพราะการใช้วัตถุดิบภายในประเทศและขยายฐานอุตสาหกรรม

·      ต้องการพัฒนาทักษะให้กับแรงงานและสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติในอนาคต

       รัฐบาลต้องการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ


เขียนโดย : นางสาวทิพวัลย์  เวชชการัณย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tipawan@mhesi.go.th