กินบ้าง อดบ้าง ไม่มีป่วย (ตอนที่ 3)  23

คำสำคัญ : IF  หรือ  Fasting  

จากที่เกริ่นไว้ในตอนที่แล้วผู้เขียนกำลังมุ่งหน้าสู่เขตปลอดภัยของโรคต่างๆ แล้ว  ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “IF” หรือ “Fasting” ซึ่งคาดว่าหลายคนคุ้นหูกับคำๆ นี้เป็นอย่างดีแน่นอนค่ะ “IF” ย่อมากจาก Intermittent Fasting หรือถ้าแปลตามภาษาไทยของเราก็คือ “การไม่กินอาหาร” ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าคือ “การอดอาหาร” หรือ “Starvation” ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เหมือนกันนะคะ

          การฟาสต์ หรือการทำ IFจริงๆ แล้วหมายถึงการที่เราเว้นช่วงการกินอาหาร ต่อให้มีอาหารมาวางตรงหน้า น่ากินมากมายฉันก็ไม่สนใจย่ะ

         การอดอาหาร หมายถึง ร่างกายเราหิวมาก หิวจะตายอยู่แล้ว แต่กลับไม่มีอะไรให้กิน อย่างในประเทศแถบแอฟฟริการที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ ร่างกายผ่ายผอม เห็นแต่โครงกระดูกเดินได้

        ทีนี้เรามาต่อกันค่ะ ว่าทำไมต้องทำ IF ด้วยอ่ะ?  นั่นก็เพราะว่าเซลล์และร่างกายของเราอยู่ได้ด้วยพลังงานจากระบบเผาผลาญหลัก หรือที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูอีกชื่อว่า “เมตาเบอลิซึม” ของร่างกาย ซึ่งมีการทำงาน 2 ช่วง คือ

        Anabolic เป็นการซ่อมแซมและผลัดเซลล์ใหม่ในช่วงที่มีการกินอาหาร แต่เกิดของเสียสะสมจากอาหารที่เรากินเข้าไป ผ่านการย่อยสลายเพื่อดูดซึมแล้วอินซูลินจะนำพลังงานและสารอาหารไปสร้างพลังงาน เพื่อเพิ่มจำนวนทดแทนและซ่อมแซมเซลล์ และเก็บพลังงานไว้ในรูปแบบของไกลโคเจนและไขมันสะสม เมื่อกินบ่อย กระบวนการ Anabolic ก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา พลังงานสะสม และของเสียก็จะมากขึ้นตามไปด้วยแบบเงาตามตัวไปไหนไปกัน การกิจจะเกิดประโยชน์ในช่วงแรก แต่การกินบ่อยทำให้เซลล์เสื่อมไว อ้วนขึ้นอีกด้วย

        Catabolic เป็นช่วงที่ร่างกายเก็บของเสียมารีไซเคิลไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจากภายนอกแบบนานพอ ร่างกายจะได้สร้างน้ำตาลได้เอง อินซูลินจะลดระดับลง ร่างกายจะดึงไกลโคเจน และไขมันที่สะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ร่างกายอยู่ได้ ร่างกายจะชะลอหรือหยุดการแบ่งเซลล์ และดึงพลังงานและสารอาหารที่สะสมในช่วง Anabolicมาใช้โดยเก็บซากโปรตีนที่เป็นขยะจากช่วง Anobolic มารีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ ขบวนการนี้เรียกว่า “ออโตฟาจี” (Autophagy) โดยเซลล์จะใช้พลังงานจากไขมันไปซ่อมแซมระบบการทำงานภายในเซลล์ เพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างเซลล์และปรับปรุงโครงสร้างของร่างกายเมื่อเรากินอาหารใหม่อีกครั้ง

        ง่ายๆ ก็คือ การทำ IFเป็นกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติ และยังช่วยกระบวนการในการรักษาโรคเรื้อรังที่เกิดจาก Anabotic ที่มากเกินไปนั่นเอง ซึ่งมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

1.     ลดการดื้ออินซูลิน

2.     กระตุ้นกระบวนการ Autophagy ให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง

3.     กระตุ้มสเต็มเซลล์ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน

4.     ล้างสารพิษ (Detoxfication)

5.     ช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี

6.     ลดน้ำหนัก (เน้นไขมันส่วนเกิน)

7.     การทำงานของสมอง (Brain Function) ดีขึ้น

8.     การทำงานของหัวใจดีขึ้น

เห็นอย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติกันดูนะคะ อย่างปล่อยให้เป็นเรื่องที่สายเกินไป ไว้กลับมาเจอกันใหม่นะคะ


เขียนโดย : น.ส.สิรีกานต์  เกษี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sireegarn.g@mhesi.go.th

ข้อมูลนี้ ชอบมากเลยค่ะพี่รุ้ง หนูว่าการทำ IF ไม่เพียงแต่ ช่วยให้เราคุมน้ำหนักได้แล้วยังทำให้ความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ลดลงไปด้วย

ที่บ้านก็พยายาม อยากจะทำ เพียงแต่คุณพ่อ ยังไม่ค่อยชินกับการ ลดอาหารเช้า  แต่ะกำลังพยายามให้แกเห็นถึงข้อดี ถ้าทำได้ 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาแชร์ กันนะคะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล