กินบ้าง อดบ้าง ไม่มีป่วย (ตอนที่ 1)  23

คำสำคัญ : IF  หรือ  Fasting  

ดิฉันเชื่อว่าหลายคนคงจะสงสัยว่า.....เอ๊ะมันจะไม่ป่วยจริงอ่ะ? มันจะเป็นไปได้ยังงัย?

เรามาค่อยๆ ย้อนอดีตไปด้วยกันค่ะ ในปัจจุบันไม่ว่าเราจะเดินไปทางไหน หันไปทางไหนเมื่อเราเจอผู้คน จะเห็นว่ากว่า 95% ผู้คนจะมีลักษณะแบบคนอ้วน หรือแม้ใกล้ตัวเราอย่างที่บ้าน หรือที่ทำงานก็เช่นกัน เคยสงสัยกันมั๊ยคะว่าเพราะอะไร ดิฉันมั่นใจว่าทุกคนรู้แหละว่าเกิดจากอาหารที่เราเอาเข้าสู่ร่างกายของเรา แต่ที่เป็นตัวแปรจริงๆ น่าจะเกิดจากพฤติกรรมในการกิจของเราเองซะมากกว่า  หรือจะเรียกแบบอินเตอร์หน่อยก็ “Life Style”ของคนเราในปัจจุบันนั่นเองค่ะ

         มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเอ๊ะ....มันเกี่ยวกันยังงัยอ่ะ? เกี่ยวแน่นอนค่ะ เพราะว่าเมื่อเราย้อนกลับไปมองในยุคโบราณ ในสมัยนั้นมนุษย์เราต้องออกหาอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละวันก็ไม่แน่ว่าจะได้อาหารเมื่อไรยังงัย และจะได้กินตอนไหน ไม่สามารถคาดเดาได้เลย ซึ่งก็อาจจะหิวแล้วถึงจะได้กิน หรือบางทีหิวแล้วก็ยังไม่ได้กินจะต้องหาต่อ  ร่างกายเราจึงถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาที่อาหารขาดแคลนได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เราสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมของสัตว์ตามธรรมชาติ  ที่ไม่ใช้สัตว์ที่เรานำมาเลี้ยงในบ้าน หรือตามสวนสัตว์ปิดนะคะ

แต่ในปัจจุบัน โลกของเราปรับเปลี่ยนไป ตั้งแต่ยุคที่มีภาคอุตสาหกรรมเข้ามา เราจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมด้านอาหารการกิจนั้นมีการปรับปรุงและเติบโตเป็นอย่างมากในปัจจุบัน  มีให้เรากินได้ตลอด 24 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว

       พฤติกรรมการกินแบบนี้แบบที่เราเป็นกันในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรง โดยเฉพาะการกินก่อนการเข้านอน 3 ชั่วโมง เพราะร่างกายของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้กินอาหารตลอดเวลา ในช่วงที่เราไม่ได้กินร่างกายเราจะดึงไขมันที่สะสมมาใช้เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนร่างกายระหว่างวันหรือช่วงที่เรายังไม่นอน และซ่อมแซมร่างกายเมื่อเวลาที่เรานอนหลับในช่วงเวลากลางคืน  แต่เมื่อเรากินบ่อยขึ้นร่างกายยังไม่ได้ทันได้ใช้งานของเก่า ของใหม่ก็ถูกเติมเข้ามาสะสมไปเรื่อยๆ ระบบของร่างกายก็เริ่มรวน โรคต่างๆ ก็ตามมาด้วย มีทั้งรอเวลาระเบิด และระเบิดเป็นระยะไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพรุนกันไปข้างนึง แล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน

        โรคที่เราเห็นได้ง่ายเป็นอันดับแรกเลยก็คือโรคอ้วน ไม่ว่าจะอ้วนขึ้นหน้า แขน ลงพุง ลงขา ลงก้น ลงสะโพก ก็ใช่ทั้งนั้นค่ะ หลังจากนั้นก็จะตามมาด้วยโคเรสเตอรอลสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคมะเร็ง โรคไต และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันมีคำนิยามของกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อว่า NCDs (Non-Communicable Diseases)

แล้วกลับมาพบกันอีกครั้งในตอนที่ 2 นะคะ


เขียนโดย : น.ส.สิรีกานต์  เกษี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sireegarn.g@mhesi.go.th