ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น Best of the Best ระดับประเทศ  40

คำสำคัญ : ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น  Best  of  the  Best  ระดับประเทศ  

เนื้อหาออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น Best of the Best ระดับประเทศ ประจำปี 2566

ธนาคารออมสินจัดงานนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น พร้อมมอบรางวัล Best of the Best ระดับประเทศ ประจำปี 2566

ให้กับทีมนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่นยอดเยี่ยมในโครงการดังกล่าว โดยในปีนี้ธนาคารได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืน

โดยร่วมสถาบันอุดมศึกษา 67 แห่ง ลงพื้นที่สร้างความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มชุมชน 345 กลุ่ม ด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรม

3,105 คน ได้บูรณาการความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและทรัพยากรของท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์

และบริการแก่กลุ่มองค์กรชุมชน โดยมีสมาชิกและผู้รับประโยชน์ มากกว่า 5,107 ราย และชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 50 ในการนี้

คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้เยี่ยมชมการนำเสนอผลงานพร้อมพบปะพูดคุยกับทีมนักศึกษาที่เข้าร่วมนำเสนอผลสัมฤทธิ์

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น และคุณวุฒิพงษ์ ภิรมยาภรณ์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าฐานรากและสนับสนุนนโยบายรัฐ

พร้อมด้วยคุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้ร่วมมอบรางวัล

Best of the Best ระดับประเทศ ประเภท กินดี อยู่ดี สวยดี ใช้ดี รักษ์ดี คิดดี ประจำปี 2566 ให้กับทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล และประกาศเกียรติคุณ

ให้กับผู้แทนชุมชน โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

(องค์การมหาชน) กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมงาน ณ หอประชุมบุรฉัตร ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ได้มีการคัดเลือก 30 ผลงาน มานำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการ จนได้ทีมชนะเลิศ Best of the Best ประจำปี 2566

จำนวน 7 ทีม 6 ประเภท 6 ดี ได้แก่ ประเภทกินดี อยู่ดี สวยดี ใช้ดี รักษ์ดี และคิดดี และมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้แทนกลุ่มชุมชน โดยมีผู้บริหารธนาคารออมสิน

ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษา กลุ่มชุมชน ร่วมงาน ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ 

 

สำหรับทีมชนะเลิศ Best of the Best ประจำปี 2566 มีดังนี้

ประเภทกินดี
ทีม เดอะหอย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จากผลิตภัณฑ์ “Bang Chan อาหารแปรรูปจากหอยพง”
กลุ่มชุมชน : กลุ่มประมงพื้นบ้านอนุรักษ์บ้านบางจัน


ประเภทอยู่ดี
ทีม Extraordinary มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จากบริการ “การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม”
กลุ่มชุมชน : วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชน อิ้วเมี่ยน บ้านห้วยกว๊าน

ประเภทสวยดี
ทีม Young ผการันดูล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากผลิตภัณฑ์ “ผ้าไหมทอมืออัตลักษณ์ชุมชนขแมร์”
กลุ่มชุมชน : วิสาหกิจชุมชนผการันดูล


ประเภทใช้ดี
ทีม เลขารักษ์พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จากผลิตภัณฑ์ “สวนหลวง น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร”
กลุ่มชุมชน : กลุ่มสตรีแม่บ้านแควอ้อม
และ ทีม ไพรรภัจจ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากผลิตภัณฑ์ “ไร่กองขิง ครีมอาบน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน”
กลุ่มชุมชน : วิสาหกิจชุมชนบ้านไร่กองขิง

ประเภทรักษ์ดี
ทีม ไท-ยวนชวนเที่ยว สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จากบริการ “การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชุมไท-ยวน”
กลุ่มชุมชน : วิสาหกิจชุมชนไท-ยวนท่าเสาใหม่ฮ่วมใจ

ประเภทคิดดี
ทีม รังสิตสามัคคี มหาวิทยาลัยรังสิต จากผลิตภัณฑ์ “Edasama เส้นพาสต้าและพลาสติกชีวภาพจากกากถั่วแระญี่ปุ่น”
กลุ่มชุมชน : วิสาหกิจชุมชนอาหารจากพืชปลอดภัย

 

สำหรับโครงการบ่มเพาะของ อว. โดยเฉพาะ UBI ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นน้องๆ นักศึกษาและบัณฑิตใหม่ จะต่อยอดโครงการนี้อย่างไร ครั้งหน้ามีคำตอบครับ


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th