การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน. (RD facilities Boost up)  218

คำสำคัญ : RDfacilitiesBoostup  P6  RSP  Sci-Park  

เนื้อหาแผนงาน การยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน.
(RD facilities Boost up)

 


หลักการและเหตุผล

         รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเป็นจำนวนมากให้แก่โครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและมีความคาดหวังว่าโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนไปแล้วนั้น จะสามารถช่วยยกระดับการวิจัย

และสามารถช่วยภาคเอกชน/ผู้ประกอบการได้อีกด้วย สป.อว. ได้เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 ภูมิภาคหลัก ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปจนถึงด้านสังคมที่พร้อมจะสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรม

ภายใต้ความพร้อมของสถาบันการศึกษา ทั้ง บุคลากร อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่ หลากหลาย มีความพร้อมในการส่งเสริม

ภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของบริบทโลกให้สามารถเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนา

คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การผลักดันรายได้ต่อหัวของประชาชนในภาคการผลิตและบริการ ให้เพิ่มขึ้นผ่านการขับเคลื่อนของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค

 

ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เข้าถึงองค์ความรู้ และเทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดการกระจุกตัวการพัฒนา โดยกลไก อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม (University Industry Linkage) ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ใน

มหาวิทยาลัยไปสู่ชุมชนในปลายน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยขยายกำลังการให้บริการจาก 14 มหาวิทยาลัยเป็น 40 มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญ

ในการขับเคลื่อนสังคมฐานนวัตกรรม โดยการดำเนินงานตามแผนงานใหม่ข้างต้นได้ออกแบบให้มีความ สอดคล้องกับภารกิจหลักของกระทรวงการอุดมการศึกษา วิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรมอย่างลงตัว และ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและ

ความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และ ภาครัฐ รวมถึงช่วยประสานพลังความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานระดับผู้ให้ทุน ผู้สนับสนุนนโยบาย

เพื่อให้เกิด การพัฒนาเชิงพื้นที่อันจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม
2) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสาหรับภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ผ่านการใช้ประโยชน์ของ ทรัพยากรในสถาบันการศึกษา
3) เพื่อใช้งานโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่
4) เพื่อช่วยเหลือภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ในการลดต้นทุนการผลิต
5) เพื่อสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำของภาคเอกชน/ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากภูมิปัญญาผสมผสานกับ เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่
6) เพื่อสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

เป้าหมาย

1) เพื่อบริการภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ และให้ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานในมหาวิทยาลัยได้
2) เพิ่มการใช้งาน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3) เพื่อเพิ่มมูลค่า (Value added) ของผลิตภัณฑ์ และสร้างมาตรฐาน (Standard) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1) กิจกรรมสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ และสำรวจความพร้อมห้องปฏิบัติการ/โรงงานต้นแบบ
1.1 สำรวจความต้องการ ความพร้อมของผู้ประกอบการ/เอกชน
1.2 สำรวจความพร้อมห้องปฏิบัติการ/โรงงานต้นแบบ
2) กิจกรรมการประชาสัมพันธ์และการเจาะกลุ่มเป้าหมาย
2.1 ประชาสัมพันธ์ออนไลน์ (online)
2.2 ประชาสัมพันธ์ออฟไลน์ (offline)
3.1 กิจกรรมคัดเลือกผู้ประกอบการ สป.อว. ร่วมกับทางอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคคัดเลือกผู้ประกอบการ
3.2 อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการ โดยต้องมีองค์ประกอบของคณะกรรมการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
3.3 คณะกรรมการฯ พิจารณาความเหมาะสมของห้องปฏิบัติการ/โรงงานต้นแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์/ตัวอย่าง ที่ผู้ประกอบการนำมา ตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ หรือผลิตผลิตภัณฑ์
3) อบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ระบบ STDB) (รายละเอียดการดำเนินงานพร้อมรูป (ถ้ามี) ถ้าหน่วยงานไหนมอบหมายให้ผู้ประสานงานระบบ นำเข้าข้อมูลโปรดแจ้งชื่อผู้นำเข้าข้อมูล)

4) ดำเนินโครงการ
5.1 สนับสนุนโครงการที่วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 80% ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ
รายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
5.1.1 รายชื่อ เบอร์ email
5.1.2 ผลิตภัณฑ์
5.1.3 วัตถุประสงค์การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ
5.1.4 ห้องปฏิบัติการที่ใช้
5.1.5 ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ
5.1.6 มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการ (ถ้ามีการใช้ห้องปฏิบัติการ)
5.1.7 งบประมาณที่สนับสนุน
5.1.8 งบประมาณที่ภาคเอกชนร่วมในโครงการ
5.1.9 ผลลัพธ์
5.1.10 ผลกระทบ
5.2 สนับสนุนโครงการที่วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในโรงงานต้นแบบ โดยสนับสนุนไม่เกิน 80% ของค่าบริการ โดยสนับสนุนไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งโครงการ
รายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
5.2.1 รายชื่อ เบอร์ email
5.2.2 ผลิตภัณฑ์
5.2.3 วัตถุประสงค์การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ
5.2.4 ห้องปฏิบัติการที่ใช้
5.2.5 ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ
5.2.6 มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบโครงการ (ถ้ามีการใช้ห้องปฏิบัติการ หรือโรงงานต้นแบบ)
5.2.7 งบประมาณที่สนับสนุน
5.2.8 งบประมาณที่ภาคเอกชนร่วมในโครงการ
5.2.9 ผลลัพธ์
5.2.10 ผลกระทบ

5) ตรวจติดตาม ประสานงานโครงการ ประเมินโครงการภาพรวมเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมาย (แผนการตรวจติดตาม + ติดตาม / comment จากการทดลองตลาด (Track 2))
6.1 การตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการ การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับทดสอบตลาด และจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการ
6.2 การตรวจติดตามความสมบูรณ์ในการดำเนินการ การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีการทดสอบตลาด และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการ


*เงื่อนไขการสนับสนุนโครงการสนับสนุนไม่เกิน 80% ของค่าบริการในกรณีที่เป็นห้องปฏิบัติการและฝหรือโรงงานต้นแบบที่อยู่ในระบบ STDB เท่านั้นและอยู่ภายในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา

หากอยู่นอกมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาจะสนับสนุนโครงการสนับสนุนไม่เกิน 20% ของค่าบริการและวงเงินที่กำหนด

5 สรุปผลกระทบโครงการภาพรวม

1) เพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ผ่านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของ สถาบันการศึกษา ได้อย่างทั่วถึง
2) สามารถสร้างรายได้ และลดต้นทุนของภาคเอกชน/ผู้ประกอบ
3) มูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ ที่เข้าร่วมโครงการ (เช่น ขายได้ราคาสูงขึ้น ขายได้มากขึ้น ส่งออกได้ ฯลฯ
4) การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

6 ข้อมูลผู้รับผิดชอบโครงการคณะทำงาน และเบอร์ติดต่อ

ประสานงานในการดำเนินงาน หรือ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เลขที่ 75/47 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 02-333-5029 หรือ 083 - 782- 7617
ดร.ทินกร รสรื่น
 


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th