ESG และ BCG MODEL เชื่อมโยงกับกับความยั่งยืนของธุรกิจอย่างไร ?  45

คำสำคัญ : esg  bcg  sep  

ปัจจุบันธุรกิจมีความเสี่ยงจากความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ มลภาวะจากขยะ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และปัญหาสิทธิมนุษยชน  

ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและสร้างความสมดุลให้ “เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน” โดยมีรากฐานทำธุรกิจที่ใช้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และแบ่งปันไปถึงสังคม 


ต่อยอดสู่เป้าหมาย BCG Model ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย เน้นเศรษฐกิจที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดจุดแข็งของธุรกิจไทย  นั่นก็คือ การนำคุณค่าจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาแปลงหรือเพิ่มเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มาปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและการบริโภคที่นำไปสู่กระบวนการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาความสมดุลและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

BCG มี 3 องค์ประกอบสำคัญ 
Bioeconomy คือ การนำทรัพยากรชีวภาพมา “ผลิตให้คุ้มค่าที่สุด” โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย
C = Circular economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมีแนวทางคือ “การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” ของที่ใช้ในการผลิตต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
Green economy เป็นระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมรวมถึงการจัดการสภาพสังคมให้ “กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด”
 

นำสู่หลักปฏิบัติ ESG หากต้องการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย BCG Model ต้องอาศัยการทำธุรกิจที่ประณีตมีสิทธิภาพตามหลัก ESG Model 
Environment ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
Social สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้ชุมชนและสังคม
Governace มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและบริหารงานอย่างซื่อสัตย์โปร่งใส  
จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้งห่วงโซ่การทำธุรกิจ


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th