2568 ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [19405]

วันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2568 

        โครงการผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยสับปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร ดำเนินการแลกเปลี่ยนร่วมกับกลุ่มมีความต้องการการดำเนินการของกลุ่มและถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการผลิตเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่นให้ความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่น(ด้วยเครื่องแยกใบ อุปกรณ์ขูดทำความสะอาดใบ) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน ณ กลุ่มผ้าทอทองใบ หมู่6 บ้านวังผาชัน ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนกลุ่มและชุมชนเพื่อจัดทำแผนการดำเนินการโครงการผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร   และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเก็บข้อมูลวิเคราะห์ผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่นำไปสู่การสร้างผลงานผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยสัปปะรด การเรียนรู้ตามเป้าหมาย ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการฯ สู่การต่อยอดการดำเนินงานระยะต่อไป โดยมีผศ.ดร.อังกาบ  บุญสูง หัวหน้าโครงการ  ดำเนินการแลกเปลี่ยนร่วมกับกลุ่มมีความต้องการการดำเนินการของกลุ่มเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นตามแนวคิด เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BuildingCommunity Enterprise : BCE)  แผนการดำเนินโครงการ  “ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใย    สัปปะรดห้วยมุ่นแบบครบวงจร” โดยงบประมาณสนับสนุนจากคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์   ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 3 ปี  ดังนี้

          ปีที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอด วทน. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่นผ่านเกณฑ์ มผช.

          ปีที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอด วทน. ผ่านการส่งขอทดสอบมาตรฐานTHTI ขยายเครือข่ายชุมชน

          ปีที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอด วทน. การจัดศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบเส้นใยพืชอัตลักษณ์แบบครบวงจร

ซึ่งระยะเวลาดำเนินการในปีที่1  (ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน - กันยายน 2568) รวม 4 เดือน ดำเนินการจำนวน 6 กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนกับกลุ่มและชุมชนเพื่อจัดทำแผนการดำเนินการโครงการ

กิจกรรมที่2 - 3 การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการผลิตเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่นการอบรมวิธีการใช้เครื่องมือประกอบด้วย เครื่องแยกใบ อุปกรณ์ขูดทำความสะอาดใบเครื่องตีใบ เครื่องปั่นเส้นด้ายและเครื่องกรอเส้นด้าย

กิจกรรมที่4  การอบรมการนำผลิตเป็นเส้นใยสัปปะรดด้วยการย้อมสีธรรมชาติ การพัฒนารูปแบบเส้นใยสัปปะรดด้วยการสร้างมูลค่าอัตลักษณ์ผ้าทอตามเทรนด์ผู้บริโภคและนวัตกรรมนาโน 

กิจกรรมที่ 5  อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างมูลค่าอัตลักษณ์ผ้าทอเทคนิคและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่เหมาะสมกับความต้องการ

กิจกรรมที่6  การให้ความรู้เรื่องการสร้างมูลค่าอัตลักษณ์ผ้าทอเทคนิคและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด การให้ความรู้เรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน   (มผช.) รวมถึงการส่งขอมาตรฐาน(มผช.)ขอจดสิทธิบัตรทดลองตลาดผลิตภัณฑ์จากเส้นใยสัปปะรดห้วยมุ่น             

 

ความต้องการของกลุ่ม

  1. ต้องการลายซึ่งเพื่อแสดงอัตลักษณ์บนพื้นผ้า ซึ่งได้แก่ (ลายสัปปะรด และลายใบสัก)
  2. ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายผ้าทอ (ผศ.สิงหา ปรารมภ์และผู้ร่วมพัฒนากับกลุ่ม)
  3. ต้องการการออกแบบสินค้า เช่น กระเป๋า รองเท้า และชุดสำเร็จรูป จากเส้นใยสับปะรด
  4. ต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์สู่การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์มผช.
  5. ต้องการเครื่องมือ(มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์  ยินดีให้การสนับสนุนเครื่องมือที่ผ่านจากกระบวนการวิจัยของมหาวิทยาลัยเพื่อนำใช้กับกลุ่ม
  6. ต้องการทายาทในการสืบทอดการทอผ้า การย้อมสีธรรมชาติ (ต้องขอความอนุเคราะห์ ศกร.ระดับอำเภอตำบลน้ำไคร้และองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำไคร้)


รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 04/07/2568 [19405]
33300 60