2567 การพัฒนาสมุนไพรพลูคาวสมุนไพรพื้นบ้านล้านนาสู่มาตรฐานสินค้าปลอดภัย 0
ผล 1) สมาชิกกลุ่มได้รับองค์ความรู้ด้าน การนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการบริหารแปลงปลูก 2) สมาชิกกลุ่มได้รับองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน 3) สมาชิกกลุ่มได้รับองค์ความรู้ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ด้วยแนวคิดแบบ Lean และ BCG Model 4) สมาชิกกลุ่มมีองค์ความรู้ด้านการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรพูลคาว 5) วิสาหกิจชุมชนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสารสกัดสมุนไพรพูลคาว 6) สมาชิกกลุ่มมีองค์ความรู้ด้านการตลาดทั้งทางด้านออนไลน์และออฟไลน์
ผล 1) สามารถลดต้นทุนค่าแรงงานงานและค่าพลังงานในการดูแลแปลงปลูก 2) ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ถูกสุขลักษณะและมีความเป็นมาตรฐานมากขึ้น 3) กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นสามารถลดต้นทุนค่าแรงงานงาน ค่าพลังงาน และค่าขนย้ายวัตถุดิบ 4) ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ด้านการสกัดสารสำคัญจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น 5) มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้หลากหลายมากขึ้น 6) วิสาหกิจชุมชนมีโอกาสเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น
ผล 1) ลดการใช้พลังงานในกระบวนการปลูก สามารถควบคุมผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 2) กระบวนการผลิตได้รับการพัฒนา 3) กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง 4) วิสาหกิจชุมชนมีแนวทางในการลดปัญหาวัตถุดิบล้นตลาดในบางช่วงฤดูกาลโดยแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น 5) สารสกัดจากสมุนไพรสามารถนำไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงและมีโอกาสสร้างรายได้ในอนาคต 6) สมาชิกกลุ่มได้รับองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การพัฒนาที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งที่ยั่งยืน ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 1) ต้นทุนการดูแลแปลงปลูกที่ลดลงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น (ประหยัดค่าแรงและพลังงานในการดูแลแปลงปลูกประมาณ 1,000 บาท ต่อเดือน คิดเป็น 12,000 บาทต่อปี 2) ต้นทุนที่ลดลงในการขนย้ายวัตถุดิบสมุนไพรอบแห้งเข้าสู่กระบวนการบดลดต้นทุนได้กิโลละ 8 บาท ปริมาณ 20 กิโลกรัม ประหยัดต้นทุนเดือนละ 160 บาท การปรับผังกระบวนการผลิตทำให้มีพื้นที่ในเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น (ประหยัดค่าพลังงานในการจ้างอบสมุนไพร 1,000 กิโลกรัมๆละ 4 บาท ต่อเดือน คิดเป็น 4,000 บาทต่อรอบการผลิต สามารถประหยัดต้นทุนทั้งกระบวนการ ((160 X12) + (4,000 x 3)) 13,920 บาท ต่อปี 3) การลดปัญหาสินค้าล้นสต๊อค ในบางช่วงฤดูกาลซึ่งทำให้วิสาหกิจชุมชนต้องีต้นทุนในการเก็บสินค้ามูลค่าสูงถึง 300,000-500,000 ซึ่งถือเป็นต้นทุนทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธกส. 8% ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 24,000 40,000 บาท ต่อปี 4) การนำใบพูลคาวไปผลิตเป็นสารสกัดซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคา 2,000 บาทต่อ 1,000 มิลลิลิตร หากจำหน่าย 100 กก. คิดเป็นมูลค่า 200,000 บาท 5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสารสกัดจากสมุนไพรพูลคาวสามารสร้างโอกาสแลรายได้ที่สูงขึ้น ผลกระทบด้านสังคม การส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาปลูกผักพลูคาวถือเป็นการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา นอกจากนี้การที่สมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะในการใช้ วทน. ในกระบวนการทำงาน มีแนวคิดในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน การบริหารจัดการซัพพลายเชนตลอดห่วงโซ่ทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรปลอดภัยมาตรฐานอาหาร ทำให้สมาชิกกลุ่ม คนในชุมชนและผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี และผลการดำเนินโครงการทำให้เกิดความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่ายหลากหลายหน่วยงาน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การนำแนวคิด BCG Model และแนวคิด SDG มาขับเคลื่อนโครงการทำให้ในชุมชนมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นในชุมชน ลดการใช้สารเคมี ลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต มีการประหยัดทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิต ผลกระทบด้านการจ้างงาน 1) ในกระบวนผลิตพืชสมุนไพรพูลคาวถือเป็นการส่งเสริมการจ้างแรงงานในชุมชนโดยเฉพาะแรงงานผู้สูงอายุ และเกษตรกรผู้ว่างงานจากฤดูการทำนา เนื่องจากต้องมีการใช้แรงงานจำนวนมาก ในการ ถางหญ้าในแปลงปลูก การเก็บเกี่ยว การคัดแยกตกแต่งก่อนส่งโรงงาน และในขั้นตอนการแปรรูปและการบรรจุ ซึ่งทำให้เกิดการจ้างแรงงานชั่วคราวในชุมชนไม่ต่ำกว่า 30 ราย หมุนเวียนตลอดทั้งปี 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทำให้เกิดอาชีพใหม่และการจ้างแรงงานใหม่ในพื้นที่
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17760] |
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเหมาจ่าย รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 27/09/2567 [17760] |
1050 | 0 |
4 [17655] |
กิจกรรมที่ 3 การสร้างแบรนด์การกำหนดกลยุทธ์การตลาดให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของตลาดและการพัฒนาช่องทางการตลาดและการทดสอบตลาดด้วยแนวคิดการตลาด 4.0 การถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้หัวข้อ
รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17655] |
56450 | 20 |
4 [17654] |
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสารสกัดพลูคาวที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าที่สูงขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้หัวข้อ - บรรยายองค์ความรู้การนำสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า - บรรยายและฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพรพูลคาว- โลชั่นพูลคาวเซโรมายด์ บรรยายและฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพรพูลคาว- สเปรย์พ่นคอพลูคาว รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17654] |
43200 | 20 |
4 [17653] |
กิจกรรมที่ 1 การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรพูลคาวการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันจากสมุนไพรพูลคาว การถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้หัวข้อ บรรยายและฝึกปฏิบัติองค์ความรู้สารสำคัญในพืชสมุนไพร - บรรยายและฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์หาสารสำคัญจากพืชสมุนไพรและการนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ด้วยชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม - บรรยายองค์ความรู้สารสำคัญในพืชสมุนไพร (น้ำมันหอมระเหย ฟลาโวนอยด์) - ฝึกปฏิบัติการใช้วิธีการสกัดสาระสำคัญจากพืชสมุนไพร การสกัดสารด้วยการกลั่น lab scale และ อุตสาหกรรม - ฝึกปฏิบัติการใช้วิธีการสกัดสาระสำคัญจากพืชสมุนไพร การสกัดสารด้วยวิธีสกัดเย็น –การสกัดด้วยตัวทำละลาย รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17653] |
57300 | 20 |