2567 การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปชาอัสสัมสู่มาตรฐาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [18115]

ผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรม  การวางแผนการตลาดและการคิดต้นทุนในการผลิตชา

ในวันที่ 21 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง หมู่ที่ 7 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

“โครงการการใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปชาอัสสัมสู่มาตรฐาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง”

 

ผลการดำเนินงาน

- การวางแผนการตลาด และการคิดต้นทุนในการผลิตชา ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 21 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง หมู่ที่ 7 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 31 ราย โดยกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
1. นางสาวปาริญ ณ รังษี นักวิทยาศาสตร์ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้แลกเปลี่ยนประเด็นข้อมูลระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนและการจัดการงบประมาณสำหรับการผลิตชา และการสร้างผลิตภัณฑ์ชาให้ตรงกับความต้องการของตลาด: การตลาดและการคิดต้นทุน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าใจและคิดต้นทุนการผลิต ของผลิตภัณฑ์ชา
2. อาจารย์ ดร. ดร.ศุลีพร คำชมภู อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้แลกเปลี่ยนประเด็นข้อมูลระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสร้างความรู้ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติในเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีมติ ในปีที่ 1 จะพัฒนาเป้นผลิตภัณฑ์ชาแดง จากชาสายพันธุ์อัสสัม โดยบรรจุกล่องละ 30 กรัม และใช้โลโก้ เดิม แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบลากใหม่

 

ผลของตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

หน่วยนับ

 

ค่าเป้าหมาย

แผน

ผล

1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี

คน

กลุ่มเกษตรกรจำนวน 31 ราย

31

2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด (ระบุรายละเอียดองค์ความรู้เทคโนโลยี)

เรื่อง

การถ่ายทอดเทคโนโลยี
จำนวน 5 เรื่อง

 

6

3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

คน

วิทยากรจำนวน 5 คน

5

4. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์

คน

จำนวน 31 คน

31

5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ร้อยละ

มากกว่าร้อยละ 80

90

 

ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/เป้าหมายของโครงการ
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
1. ความรู้เบื้องต้น ความเข้าใจในหลักการ และหลักปฏิบัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP พืชอาหาร มกษ.9001-2564 และการเตรียมความพร้อมพื้นที่แปลงปลูกชาของเกษตรกรในการขอมาตรฐาน GAP
2. การควบคุมโรค แมลงในแปลงชา และฝึกปฏิบัติการทำกับดักแมลงในแปลงชา

3. การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อเพิ่มไนโตรเจนในแปลงปลูกชา

4. การวิเคราะห์ต้นทุนและการจัดการงบประมาณสำหรับการผลิตชา

5. การสร้างผลิตภัณฑ์ชาให้ตรงกับความต้องการของตลาด: การตลาดและการคิดต้นทุน

6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

- จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 6 ราย
1. นายจีรภัทร สุวรรณยศ          2. นายชยุต พลอยภัสสร 
3. นายเอนก ฤทธิชัย                4. นายสิงห์แก้ว ศรีมา    
5. นายปรีชา สุวรรณมา             6. นางสาวดารินทร์ ศรีมา

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความต้องการบรรจุภัณฑ์หลายๆ ขนาด วิทยากรจึงจะออกแบบฉลากที่สามารถใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

 



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 17/10/2567 [18115]
20751.04 30
4 [18114]

ผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรม  การจัดการแปลงปลูกชา ตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practice (GAP) ครั้งที่ 2

ในวันที่ 9 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง หมู่ที่ 7 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

“โครงการการใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปชาอัสสัมสู่มาตรฐาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง”

 

ผลการดำเนินงาน

- จากการดำเนินงานการจัดการแปลงปลูกชา ตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practice (GAP) ครั้งที่ 1 ไปเรียบร้อยแล้วนั้น ได้มีการลงพื้นที่ การจัดการแปลงปลูกชา ตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practice (GAP) ครั้งที่ 2 ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 9 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่หาง หมู่ที่ 7 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 34 ราย โดยกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้

- นายทวิพิชญ์ อายะนันท์ เจ้าหน้าที่เกษตร สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นวิทยากร มาบรรยายให้ความรู้แลกเปลี่ยนประเด็นข้อมูลระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ ใน เรื่อง การควบคุมโรค แมลงในแปลงชา และฝึกปฏิบัติการทำกับดักแมลงในแปลงชา, การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อเพิ่มไนโตรเจนในแปลงปลูกชา โดยน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย สามารถนำมาใช้งานในแปลงชาได้ในวันที่ 23 กันยายน 2567

 

ผลของตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

หน่วยนับ

 

ค่าเป้าหมาย

แผน

ผล

1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี

คน

กลุ่มเกษตรกรจำนวน 31 ราย

34

2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด (ระบุรายละเอียดองค์ความรู้เทคโนโลยี)

เรื่อง

การถ่ายทอดเทคโนโลยี
จำนวน 5 เรื่อง

 

3

3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้

คน

วิทยากรจำนวน 5 คน

5

4. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์

คน

จำนวน 31 คน

31

5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ร้อยละ

มากกว่าร้อยละ 80

90

 

ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/เป้าหมายของโครงการ

- การถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่

1. ความรู้เบื้องต้น ความเข้าใจในหลักการ และหลักปฏิบัติ มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP พืชอาหาร มกษ.9001-2564 และการเตรียมความพร้อมพื้นที่แปลงปลูกชาของเกษตรกรในการขอมาตรฐาน GAP

2. การควบคุมโรค แมลงในแปลงชา และฝึกปฏิบัติการทำกับดักแมลงในแปลงชา

3. การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อเพิ่มไนโตรเจนในแปลงปลูกชา

 

- จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 5 ราย

1. นายจีรภัทร สุวรรณยศ         

2. นายชยุต พลอยภัสสร 

3. นายเอนก ฤทธิชัย               

4. นายสิงห์แก้ว ศรีมา    

5. นายปรีชา สุวรรณมา

 

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความต้องการน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพื่อเพิ่มไนโตรเจนในแปลงปลูกชา เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตในแปลงชา ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะนัดหมายกันเพื่อทำ น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ป่า และจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพิ่มเติม โดยใช้วัตถุดิบ และอุปกรณ์ตามที่วิทยากรได้ถ่ายทอด


 


 



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 17/10/2567 [18114]
12184.92 30