2567 โครงการบริการคำปรึกษาและบริการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 0
ผล 1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี (คน) (จัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการลงในไฟล์ แล้วนำส่งตอนรายงานความก้าวหน้าในระบบ CMO) ค่าเป้าหมาย 60 คน ผลการดำเนินงาน 203 คน 2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี (คน) (จัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการลงในไฟล์ แล้วนำส่งตอนรายงานความก้าวหน้าในระบบ CMO) ค่าเป้าหมาย 250 คน ผลการดำเนินงาน 724 คน 3. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการคำปรึกษา (จัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการลงในไฟล์ แล้วนำส่งตอนรายงานความก้าวหน้าในระบบ CMO) ค่าเป้าหมาย 80 % ผลการดำเนินงาน 97.09 % 4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการข้อมูลด้าน ว และ ท ค่าเป้าหมาย 80 % ผลการดำเนินงาน 98.75 % 5. จำนวนข้อมูลในระบบ CMO (ข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา) ค่าเป้าหมาย 20 ข้อมูล ผลการดำเนินงาน - รายงานความก้าวหน้าในระบบ CMO 22 ครั้ง - เพิ่มข้อมูล Call center จำนวน 203 คน
ผล กระบวนการเพิ่มผลผลิตผลิตภัณฑ์น้ำหมากเม่าของสหกรณ์การเกษตรโนนหัวช้าง จำนวน 15 คน การเก็บรักษาคงสภาพสีของดอกดิน จำนวน 2 คน การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ลูกหว้า) ของ อ.นาหว้า จ.สกลนคร จำนวน 11 คน การควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยชีววิธีแบบเกษตรปลอดภัย จำนวน 1 คน การควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยชีววิธีแบบเกษตรปลอดภัย จำนวน 1 คน การใช้งาน ซ่อมแซม และการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟ จำนวน 3 คน การใช้งานเครื่องจักรผลิตถ่านแบบไบโอชาร์ การดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักรเพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน จำนวน 10 คน การใช้งานเครื่องจักรผลิตถ่านแบบไบโอชาร์ การดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักรเพื่อการใช้งานอย่างยั้งยืน จำนวน 1 คน การใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตคราม (การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมศัตรูพืช) จำนวน 30 คน การใช้สื่อโซเชียล และการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ของผู้สูงอายุ จำนวน 38 คน การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จำนวน 50 คน การซ่่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จำนวน 1 คน การซ่อมเครื่องยนต์เล็ก จำนวน 65 คน การป้องกันกำจัดเพลี้ยในแปลงเม่า และการใช้กับดักล่อแมลงวันทอง จำนวน 2 คน การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช จำนวน 2 คน การแปรรูป/ใช้ประโยชน์จากขมิ้นดำจำนวน 1 คน การแปรรูปหมากเม่าเป็นแยมและน้ำผลไม้ จำนวน 30 คน การผลิตปุ๋ยเคมีอินทรีย์ จำนวน 189 คน การผลิตแมลงโปรตีน BSFจำนวน 5 คน การผลิตแมลงโปรตีน BSF สำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้ จำนวน 17 คน การผลิตแมลงห้ำเพื่อกำจัดเพลี้ยแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของคราม จำนวน 30 คน การผลิตหนอนแมลงโปรตีน BSF จำนวน 81 คน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน จำนวน 16 คน แนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหน่อไม้ รวมถึงแนวทางการจัดสถานที่ผลิตเพื่อรองรับการขอรับรองมาตรฐานในอนาคต จำนวน 15 คน หลักสูตรส่งเสริมการผลิตสมุนไพรคุณภาพตามระบบ GMP เพื่อเป็นการสร้างความรู้ที่ถูกต้องให้กับกำลังพล และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้ จำนวน 278 คน อบรมเชิงปฏิบัติการลูกประคบสมุนไพร จำนวน 33 คน รวมทั้งสิ้น 927 จำนวน
ผล โครงการคลินิกเทคโนโลยีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป โดยมีงบประมาณดำเนินโครงการจำนวน 250,000 บาท ซึ่งสามารถแสดงผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ดังนี้ 1. การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ จากการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการเพิ่มผลผลิต เช่น การแนะนำการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรที่ทันสมัย การใช้ปุ๋ยชีวภาพ การจัดการน้ำ การป้องกันโรคพืชและศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น คิดเป็นการเพิ่มรายได้ประมาณ 1,500,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบการที่ได้รับคำปรึกษาสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตได้ ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น คิดเป็นการเพิ่มรายได้ประมาณ 1,000,000 บาท ต่อปี รวมการเพิ่มรายได้ทั้งหมด: 2,500,000 บาท 2. การลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การใช้พลังงานทดแทน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิต และการลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ คิดเป็นมูลค่าการลดต้นทุนประมาณ 500,000 บาท ต่อปี การลดค่าใช้จ่ายในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เช่น การลดความสูญเสียจากการจัดการวัสดุเหลือใช้ หรือการลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็นมูลค่าการลดต้นทุนประมาณ 250,000 บาท ต่อปี รวมการลดต้นทุนทั้งหมด: 750,000 บาท 3. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และการสร้างนวัตกรรมใหม่ การแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ คิดเป็นมูลค่าการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ประมาณ 1,000,000 บาท ต่อปี รวมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด: 1,000,000 บาท ผลกระทบทางเศรษฐกิจรวม การเพิ่มรายได้: 2,500,000 บาท การลดต้นทุน: 750,000 บาท การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์: 1,000,000 บาท ผลตอบแทนต่อการลงทุน (ROI) ของโครงการคลินิกเทคโนโลยีอยู่ที่ 1,700% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการนี้อย่างชัดเจน
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17615] |
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับ คณะอาจารย์จากสาขาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี นำทีมโดย อ.ชัดชัย รัตนะพันธ์, อ.ดร.มีแสน แก่นชูวงศ์, อ.ดวงพร เทียนถาวร, ผศ.ดาริกา แสนพวง และ ผศ.ดร.กนกกาญจน์ วิชาศิลป์ เข้าให้บริการคำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าชุมชน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรด้วยหลักการตลาดยุคใหม่ และการสร้างจุดเด่นของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง และเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของสถาบันเกษตรกรและสมาชิกให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยสินค้าที่สหกรณ์การเกษตรผลิตและแปรรูป ได้แก่น้ำนมโค ปลาร้า และเม่า การฝึกอบรมจัดขึ้น ณ อาคารบริหารธุกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17615] |
0 | 16 |
4 [17645] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ขออนุญาตให้ นางสาวชลาลัย เหง้าน้อย ตำแหน่ง ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall ภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี สป.อว ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นําไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ภายใต้งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 7,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17645] |
7000 | 0 |
4 [17643] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 'การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค' ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ 2567 โดยมีการบรรยายจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและการแบ่งกลุ่มอภิปราย Show & Share success การพัฒนางาน ววน. ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจัดขึ้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2567 เพื่อร่วมกันวางแนวทางและผลักดันความสำเร็จของโครงการในปีต่อไป หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 4,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17643] |
4000 | 0 |
4 [17640] |
8 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย จัดอบรมการบริการข้อมูลเรื่อง “การใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตคราม" (การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมศัตรูพืช)” สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตคราม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้และการผลิตสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1,000 บาท ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนสิงหาคม 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17640] |
16000 | 30 |
4 [17641] |
17 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร ร่วมจัดอบรมการบริการข้อมูลเรื่อง "การผลิตหนอนแมลงโปรตีน BSF" สำหรับกลุ่มนักศึกษาและคณะอาจารย์จากคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม มีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน BSF เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ทั้งการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์และแนวทางการสร้างรายได้เสริมจากการแปรรูป ณ ห้องประชุมภูเม่าหลวง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) และทีมวิทยากรผู้ช่วย น.ส.พิกุล ทองสลับ (ผู้ช่วยนักวิจัย), น.ส. พัชราภา ผ่องระนาด (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), น.ส. มัลลิกา จอมศรีกระยอม (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), น.ส. อัญธิวา สิงนาค (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย นฤบดินท์ จันทะสิงห์ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย จักรพันธ์ ปรินิพันธ์ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย เอกสิทธิ์ เเสงชาติ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย วชิรวิทย์ ไชยพัด (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย สิทธิชัย พรมศรี (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์) หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 3,500 บาท ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนกรกฎาคม 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17641] |
18500 | 35 |
4 [17639] |
2 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร เข้าร่วมจัดบูธประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลในงานโครงการพาหมอไปหาประชาชนฯ ณ อาคาร 12 มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยในการจัดบูธบริการข้อมูลในครั้งนี้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหย และเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย จากโรงงานกลั่นน้ำมันหอมระเหยเชิงพาณิชย์ต้นแบบ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยและบริการวิชาการของ ผศ.ดร.นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์ อาจารย์คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และภายในบูธของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร ยังมีการนำเสนอและแจกจ่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยของอาจารย์จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ สาขาแพทย์แผนไทย รวมทั้งทางโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท ยังมีบริการนวดแผนไทยให้กับประชาชนที่มาขอรับบริการในงานนี้อีกด้วย รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17639] |
480 | 0 |
4 [17635] |
วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับคณะทรัพยากรธรรมชาติ นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) และ น.ส.พิกุล ทองสลับ (ผู้ช่วยนักวิจัย) ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น “หลักสูตรการผลิตแมลงโปรตีน BSF สำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้” ณ ห้องประชุมภูเม่าหลวง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการเลี้ยงแมลงโปรตีน และรู้เท่าทันตลาด รวมทั้งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 2,225 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17635] |
2225 | 15 |
4 [17642] |
18 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และอาจารย์จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมผู้ช่วยนักวิจัย ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาและตรวจประเมินสถานการณ์การระบาดของแมลงศัตรูพืชเพื่อการป้องกันกำจัด รวมถึงการสอนเลี้ยงแมลงหางหนีบสำหรับการกำจัดแมลงศัตรูพืช ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์นาดอกไม้ ต.ฮางโฮง อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1,009 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17642] |
1009 | 2 |
4 [17636] |
5 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าให้บริการคำปรึกษาในเรื่องแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหน่อไม้ รวมถึงแนวทางการจัดสถานที่ผลิตเพื่อรองรับการขอรับรองมาตรฐานในอนาคต ให้กับกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังยาง ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังยาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 500 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17636] |
500 | 15 |
4 [17646] |
คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร เข้าร่วมการประชุมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพครูของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ด้วย ววน. ณ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น วันที่ 12-13 กันยายน 2567 โดยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ และกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมทักษะให้กับครู สกร. ผ่านกระบวนการ Up-skill และ Re-skill เพื่อให้ครูสามารถทำหน้าที่เป็นนักส่งเสริมการเรียนรู้มืออาชีพ พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย คลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ และสนับสนุนการพัฒนาแผนงานโครงการต่าง ๆ ร่วมกับครู สกร. จาก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมุ่งเน้นการสร้างชุมชนนวัตกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 4,000 บาท ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโรโลยีประจำเดือนกันยายน 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 25/09/2567 [17646] |
19000 | 0 |
4 [17638] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย อาจารย์เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะทรัพยากรธรรมชาติ นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) จัดอบรมโครงการ "การผลิตแมลงห้ำเพื่อกำจัดเพลี้ยแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของคราม" ในวันที่ 25 เมษายน 2567 ซึ่งได้รับงบประมาณจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพพันนาสามัคคี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1,000 บาท รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/09/2567 [17638] |
1000 | 30 |
4 [17405] |
16 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร ร่วมจัดอบรมการบริการข้อมูลเรื่อง "การผลิตหนอนแมลงโปรตีน BSF" ให้กับกลุ่มนักเรียน และคณะครู จากโรงเรียนเทพสวัสดิ์วิทยา ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ภายใต้โครงการศึกษาดูงานค่ายวิชาการ (ส่งเสริมศักยภาพนักเรียน 8 กลุ่มสาระ) ณ ห้องประชุมภูเม่าหลวง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการเลี้ยงแมลงโปรตีน และรู้เท่าทันตลาด รวมทั้งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) และทีมวิทยากรผู้ช่วย น.ส.พิกุล ทองสลับ (ผู้ช่วยนักวิจัย), น.ส. พัชราภา ผ่องระนาด (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), น.ส. มัลลิกา จอมศรีกระยอม (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), น.ส. อัญธิวา สิงนาค (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย นฤบดินท์ จันทะสิงห์ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย จักรพันธ์ ปรินิพันธ์ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย เอกสิทธิ์ เเสงชาติ (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย วชิรวิทย์ ไชยพัด (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์), นาย สิทธิชัย พรมศรี (นักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์) หมายเหตุ : ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนมิถุนายน 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 16/09/2567 [17405] |
15000 | 46 |
3 [16861] |
สืบเนื่องจากทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร ได้รับการประสานเรื่องทางโทรศัพท์ จากทาง พระอาจารย์อธิปุญโญ เพื่อขอรับบริการคำปรึกษาในเรื่องของการใช้งาน ซ่อมแซม และการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟ ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.อีสาน วข.สกลนคร จึงได้ประสานเรื่องไปยัง สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเชิญ ผศ.จรัญ มงคลวัย, อ.อมร ดอนเมือง และ ผศ.กรรณิการ์ สมบุญ จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าให้บริการคำปรึกษาในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ณ วัดป่าภูล้อมข้าว ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 01/07/2567 [16861] |
0 | 3 |
3 [16862] |
วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) และ น.ส.พิกุล ทองสลับ (ผู้ช่วยนักวิจัย) ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาแก่เกษตรกรในเรื่องการป้องกันกำจัดเพลี้ยในแปลงเม่าและการใช้กับดักล่อแมลงวันทอง ณ สวนวรรณวงศ์ ต.สร้างค้อ อ.ภูพาน จ.สกลนคร รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 01/07/2567 [16862] |
0 | 2 |
3 [16721] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และคณะอาจารย์จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้เดินทางไปยังพื้นที่ อ.นาหว้า จ.สกลนคร เพื่อเข้าให้บริการคำปรึกษากับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาตินาหว้า ร่วมกับกลุ่มชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสีย และ อบต.นาคูณใหญ่ ในเรื่องแนวทางการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ของลูกหว้าให้เป็นของ อ.นาหว้า จ.สกลนคร มีการส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์ต้นหว้าเพิ่มขึ้นในชุมชน และแนะนำแนวทางการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งมีการแนะนำให้ทาง อบต.นาคูณใหญ่ดำเนินการขอรับป้ายสนองพระราชดำริ ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขึ้นทะเบียนพื้นที่ป่าปกปักและพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งนี้การดำเนินการให้บริการคำปรึกษาในครั้งนี้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างสามหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย ดร.พิศดาร แสนชาติ (คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร), อ.สมชัย วะชุม (วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม) และคุณศักดิ์สกล วาจาสิทธิ์ (อดีตประธานอุสาหกรรมการท่องเที่ยวสกลนคร) รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 23/05/2567 [16721] |
1696 | 11 |
3 [16723] |
วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย (อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์) และ น.ส.พิกุล ทองสลับ (ผู้ช่วยนักวิจัย) ลงพื้นที่ให้บริการคำปรึกษาแก่เกษตรกรในเรื่องการควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เข้าทำลายเม่าของเกษตรกร โดยชีววิธีแบบเกษตรปลอดภัย ณ สวนวรรณวงศ์ ต.สร้างค้อ อ.ภูพาน จ.สกลนคร
หมายเหตุ : ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนพฤษภาคม 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 23/05/2567 [16723] |
15000 | 2 |
3 [16726] |
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น “หลักสูตรการผลิตแมลงโปรตีน BSF สำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ ซึ่งช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับความสำคัญ ความรู้พื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ การตลาด ธุรกิจ และการนำไปใช้ประโยชน์ของแมลงโปรตีน ช่วงบ่ายลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF และการใช้ประโยชน์จากบุคคลต้นแบบ การเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF เพื่อการเกษตรแบบผสมผสานและการเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF เพื่อการเกษตรแบบครบวงจร
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1,915 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 23/05/2567 [16726] |
1915 | 5 |
3 [16725] |
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น “หลักสูตรการผลิตแมลงโปรตีน BSF สำหรับเป็นอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนและสร้างรายได้” โดยผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชศาสตร์ ซึ่งช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับความสำคัญ ความรู้พื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ การตลาด ธุรกิจ และการนำไปใช้ประโยชน์ของแมลงโปรตีน ช่วงบ่ายลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF และการใช้ประโยชน์จากบุคคลต้นแบบ การเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF เพื่อการเกษตรแบบผสมผสานและการเลี้ยงแมลงโปรตีน BSF เพื่อการเกษตรแบบครบวงจร
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1,915 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 23/05/2567 [16725] |
1915 | 5 |
3 [16720] |
วันที่ 6 - 10 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และคณะอาจารย์จากคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ประกอบด้วย อาจารย์เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา, ผศ. ดร.สัณหวัจน์ ทองแดง, อาจารย์ ดร.บัญชา ล้ำเลิศ, อาจารย์ศรายุทธ พลสีลา และนายอภิชาติ อาแพงพันธ์ เข้าให้บริการคำปรึกษาในเรื่องการใช้งานเครื่องจักรผลิตถ่านแบบไบโอชาร์ การดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักรเพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพคนพิการผลิตถ่าน แบบไบโอชาร์ ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมคริสตจักรความหวังแม่ฮ่องสอน ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจุดประสงค์เพื่อนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ แทนการเผาทิ้งที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดำเนินโครงการโดยสมาคมคนพิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายชูชีพ พงษ์ไชย ได้มาเป็นประธานเปิดพิธีการอบรมในครั้งนี้ด้วย
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 9,360 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 23/05/2567 [16720] |
9360 | 11 |
3 [16684] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำทีมโดย อาจารย์ ดร.หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ อาจารย์ประจำสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ให้บริการคำปรึกษากับกลุ่มผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลวังยาง ภายใต้โครงการ "พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในการใช้สื่อโซเชียล และการป้องกันภัยทางไซเบอร์" ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลวังยาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หมายเหตุ : ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนเมษายน 15,000 บาท รายงานโดย นายศูภณัฐ อุบาลี วันที่รายงาน 29/04/2567 [16684] |
15000 | 38 |
2 [16489] |
วันที่ 4 เมษายน 2567 คณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจังหวัดสกลนคร ภายใต้การดำเนินงานของ อว.ส่วนหน้าประจำจังหวัดสกลนคร ซึ่งประกอบไปด้วย 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจังหวัดสกลนคร และมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เชื่อมโยงการดำเนินงานของ สป.อว. พร้อมทั้งให้หน่วยงานทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ภายใต้การทำงานของอว.ส่วนหน้าประจำจังหวัดสกลนคร เสนอแนวทางการดำเนินงาน/โครงการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนจังหวัดแก่คณะทำงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน.สป.อว. ณ กลุ่มผ้าย้อมมูลควาย บ้านนาเชือก ตำบลแร่ จังหวัดสกลนคร รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 04/04/2567 [16489] |
16400 | 40 |
2 [16280] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาแก่สหกรณ์โคนมวาริชภูมิจำกัด ทางด้านการตลาด การดึงดูดลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และการสร้าง Content Marketing เพื่อดึงดูดลูกค้าในรูปแบบออนไลน์ รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16280] |
1185 | 20 |
2 [16270] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำโดย ผศ.กรรณิการ์ สมบุญ ลงพื้นที่ สวนวรรณวงค์ เพื่อต่อยอดศูนย์เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพหมากเม่าสกลนครจากการดำเนินการร่วมกันกับ Bedo ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 เพื่อปรับปรุงข้อมูล เทคนิคประบวนการทางด้านเทคโนโลยี ด้วยการจัดสร้าง QR Codeข้อมูลของหมากเม่าที่ได้จากการสำรวจโดยผศ.ดร.สุดารัตน์ สกุลคู เพื่อให้ผู้ที่มาศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมสามารถรับทราบข้อมูลลักษณะโดยทั่วไป / ปริมาณและปฏิกิริยาการต้านอนุมูลอิสระ / ชนิดและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระของหมากเม่า ทั้ง 26 สายพันธ์ุ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาเรื่องหมากเม่าสกลนคร รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16270] |
1300 | 10 |
2 [16271] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับสาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ เข้าให้ความรู้อบรมหลักสูตรส่งเสริมการผลิตสมุนไพรคุณภาพ ตามระบบ GAP ให้กับกำลังพล และครอบครัวค่ายกฤษณ์สีวะรา ณ ค่ายกฤษณ์สีวะรา ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อประกอบอาชีพ หรือสร้างรายได้เสริม และสามารถใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 44 ราย งบประมาณดำเนินจากมณฑลทหารบกที่ 29 ค่ายกฤษณ์สีวะรา รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16271] |
0 | 44 |
2 [16272] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาแก่วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาตินาหว้า โดยทางกลุ่มได้จัดตั้งโรงงานผลิตไวน์ วิสาหกิจชุมชน เกษตรธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจชุมชน เพื่อร่วมกันเป็นเครือข่ายทางวิชาการในการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่น ได้แก่ ผลไม้ท้องถิ่น สมุนไพรต่างๆ ต่อไป รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16272] |
1500 | 7 |
2 [16274] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทบาเขตสกลนคร ร่วมกับ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ แก่สมาชิกสหกรณ์เกษตรโนนหัวช้าง ต.สร้างค้อ อ.ภูพาน จ.สกลนคร เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิต ของผลิตภัณฑ์จากเม่า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ สหกรณ์เกษตรโนนหัวช้าง โดยคณะทำงานของคลินิกเทคโนโลยี ประกอบด้วย ผศ.กรรณิการ์ สมบุญ ผศ.ดร.สุกัญญา สายธิ และ ผศ.ศิริพร สารคล่อง ให้ความรู้แก่สมาชิกฯ ในประเด็น - แนวคิดและความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต - 5 วิธีในการเพิ่มผลผลิต - องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต - เราจะช่วยกันเพิ่มผลผลิตได้อย่างไร - เทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายกิจกรรม : 2,500 บาท
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนธันวาคม 15,000 บาท
รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16274] |
17500 | 20 |
2 [16275] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาแก่ สมาคมหมากเม่าสกลนคร ในการร่วมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนานักชิมไวน์หมากเม่า โดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายกิจกรรม : 1,500 บาท
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนมกราคม 15,000 บาท
รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16275] |
16500 | 7 |
2 [16278] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาแก่บุคคลาทั่วไปที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการงานเกษตรพื้นบ้าน ฯ เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักกำจัดแมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งแจกตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพให้กับบุคคลที่มาเยี่ยมชมได้นำไปทดลองใช้
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายกิจกรรม : 3,000 บาท
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนมีนาคม 15,000 บาท รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16278] |
18000 | 203 |
2 [16281] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้บริการคำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร้างขุ่ย อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ด้านการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูง ลดค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารสัตว์ และสามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริมให้แก่กลุ่มได้อีกด้วย รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16281] |
0 | 3 |
2 [16282] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมจัดกิจจกรม"สานสัมพันธ์ เรียนรู้ร่วมกัน ผลิตภัณฑ์หมากเม่าสกลนคร" เป็นการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนครและสมาคมหมากเม่าสกลนคร ซึ่งกิจกรรมภายในได้มีการจัดแข่งขันประกวดนักชิมไวน์ รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16282] |
15615 | 0 |
2 [16277] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำโดย ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโยี ให้บริการคำปรึกษา และบริการข้อมูลในงานรวมน้ำใจไทสกล(งานกาชาด 67) ณ ศาลากลางจังหวัดสกลนคร
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายกิจกรรม : 3,400 บาท
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีประจำเดือนกุมภาพันธ์ 15,000 บาท
รายงานโดย นางสาวชญาภา บุตรแสน วันที่รายงาน 25/03/2567 [16277] |
18400 | 250 |
1 [15939] |
บริการข้อมูล/จับริการข้อมูล/จัดอบรมหลักสูตร “ส่งเสริมการผลิตสมุกิจกรรมบริการข้อมูล/จัดอบรมหลักสูตร “ส่งเสริมการผลิตสมุนไพรคุณภาพตามระบบ GAP”
ณ มลฑลทหารบกที่ 29
วันที่ 19 ตุลาคม 2566
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับมลฑลทหารบกที่ 29 ค่ายกฤษณฺสีวะรา ให้บริการข้อมูล จัดอบรมหลักสูตร ส่งเสริมการผลิตสมุนไพรคุณภาพตามระบบ GAP ตามการขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการและอาชีพให้กับบุคลากร มลฑลทหารบกที่ 29 , ร 3 พัน 1 หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร,
โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม 278 ราย
รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 19/01/2567 [15939] |
1000 | 278 |
1 [15948] |
บริการข้อมูล/กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เรื่อง การซ่อมเครื่องยนต์เล็ก
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
20 ธันวาคม 2566
ลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นำโดย ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโยี คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ และคณาจารย์ พร้อมด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้บริการข้อมูล/ศึกษาดูงานด้านการผลิต และแปรรูปสมุนไพร เพื่อให้ได้องค์ความรู้ และประสบการณ์ รวมทั้งเพื่อให้เกิดแนวความคิดในการขับเคลื่อนการพัฒนา ให้แก่มลฑลทหารบกที่ 29 ค่ายกฤษณฺสีวะรา ในการเข้าศึกษาดูโรงงานแปรรูปสมุนไพรตามมาตรฐาน GMP และร่วมห่อลูกประคบ เพื่อเป็นอีก 1 ช่องทางในการสร้างรายได้ให้แกกำลังพล และครอบครัวของนายทหาร
รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 19/01/2567 [15948] |
0 | 8 |
1 [15947] |
บริการข้อมูล/กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เรื่อง การซ่อมเครื่องยนต์เล็ก
ณ มลฑลทหารบกที่ 29
วันที่ 9 ธันวาคม 2566
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับมลฑลทหารบกที่ 29 ค่ายกฤษณฺสีวะรา จัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เรื่อง การซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ให้แก่ พลทหารใหม่ มลฑลทหารบกที่ 29 เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสานต่อในการใช้ในชีวิตประจำวัน และการต่อยอดการพัฒนาอาชีพในอนาคตหลังปลดประจำการ นำโดย คณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม 65 ราย
รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 19/01/2567 [15947] |
1500 | 65 |
1 [15946] |
บริการข้อมูล/กิจกรรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เรื่อง การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน
ณ มลฑลทหารบกที่ 29
วันที่ 2 ธันวาคม 2566
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับมลฑลทหารบกที่ 29 ค่ายกฤษณฺสีวะรา จัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เรื่อง การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน ให้แก่ พลทหารใหม่ มลฑลทหารบกที่ 29 เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสานต่อในการใช้ในชีวิตประจำวัน และการต่อยอดการพัฒนาอาชีพในอนาคตหลังปลดประจำการ นำโดย ผอ.รร.สาธิตเตรียมวิศวกรรมและเทคโนโลยี พร้อมด้วย นศ.ฝึกประสบการณ์ จากครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรนาคม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม 51 ราย
รายงานโดย น.ส.ชลาลัย เหง้าน้อย วันที่รายงาน 19/01/2567 [15946] |
1500 | 51 |