2566 การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15684]

          โครงการการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE)เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายร่วมวางแผนงานและดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ โดยในรายงานฉบับนี้จะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมดังนี้

 

กิจกรรมที่ 1 การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

 

          ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์” ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะม่วงให้มีความสม่ำเสมอและเหมือนเดิมในทุกครั้ง และเพื่อให้มีวัตถุดิบ (มะม่วง) ใช้ได้ตลอดปี

 

          เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้ คือ

1. การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

2. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

กิจกรรมที่ 2 กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน

 

           ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และเยลลีมะม่วงลดน้ำตาล และได้สูตรและกระบวนการที่เหมาะสมในการผลิต  

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (กระบวนการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 3 การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) และการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

 

          การพัฒนา “ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล” ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ร่วมทำการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์น้ำดอกไม้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ปริมาณสารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาลทราย ชนิดและปริมาณกะทิ โดยการปรับส่วนผสมจากสูตรดั้งเดิม

          การพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล”ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์น้ำดอกไม้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาการใช้/ ไม่ใช้ สารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาล การเติมวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มปรับความเป็นกรด-ด่าง ของผลิตภัณฑ์เยลลี ศึกษาชนิดของสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) 2 ชนิด คือ คาร์ราจีแนน (carrageenan)และผงบุก (konjac) โดยทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ผู้ทดสอบยอมรับและมีความพึงพอใจ เพื่อให้ได้สูตรและกรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล และดำเนินการถ่ายทอดสู่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ในลำดับต่อไป

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้  “ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล”คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (การกวน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้  “ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล”คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (กระบวนการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

ผลการประเมินความสามารถในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives) พบว่า สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายสามารถจัดการกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดได้ โดยเฉพาะการใช้ผงบุกและคาร์ราจีแนนในผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล สังเกตได้จากลักษณะปรากฏของผลิตภัณฑ์เยลลีที่ได้ในขั้นตอนสุดท้าย มีคุณลักษณะที่ดี เนื้อเจลลีเนียน เป็นเนื้อเดียวกัน เจลไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่มีน้ำบริเวณผิวหน้า แสดงให้เห็นว่าสมาชิกสามารถดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลได้เป็นอย่างดี สำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลนั้น วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เป็นหลักคือ ไซรัปมัลติทอล ซึ่งเป็นของเหลว ซึ่งไม่มีผลต่อการละลายและการจับตัวเป็นก้อนของส่วนผสม จึงไม่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ได้

 

กิจกรรมที่ 4การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

          การประเมินคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมจากกระบวนการผลิตตามหลักการ GMPผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการพัฒนาจากโครงการ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ระหว่างกระบวนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้รับการคัดเลือก

กิจกรรมการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลที่คัดเลือก ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคนิคและองค์ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

สูตรที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล ประกอบด้วย เนื้อมะม่วง ร้อยละ 83.33 กะทิร้อยละ 5.56 แบะแซ ร้อยละ 5.56 น้ำตาลทราย ร้อยละ 2.78 และไซรัปมัลติทอล ร้อยละ 2.78 ตามลำดับ

กระบวนการผลิตมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล มีรายละเอียดดังนี้ นำเนื้อมะม่วงแช่แข็งมาละลายน้ำแข็ง ใส่กระทะ ตั้งไฟ เมื่อน้ำแข็งลลายหมด เติม กะทิ น้ำตาลทราย ไซรัปมัลติทอล และกลูโคสไซรับ (แบะแซ) กวนส่วนผสมทั้งหมด จนกว่าเนื้อมะม่วงกวนแห้ง จับไม่ติดมือ ทิ้งให้เย็น แล้วนำไปห่อ จะได้ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลพร้อมจำหน่าย

สูตรที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ประกอบด้วย เนื้อมะม่วง ร้อยละ 44.88 น้ำสะอาด ร้อยละ 44.88 น้ำตาลทราย ร้อยละ 8.98 ผงบุก ร้อยละ 0.54 คาร์ราจีแนน ร้อยละ 0.54 กรดซิตริก ร้อยละ 0.18 ตามลำดับ

กระบวนการผลิตเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล มีรายละเอียดดังนี้ นำเนื้อมะม่วงสุกแช่แข็งมาละลายน้ำแข็ง เติมน้ำสะอาด ตั้งไฟ ให้ความร้อนจนเนื้อมะม่วงละลายหมด ละลายผงบุกและคาราจีแนน แล้วเติมลงในส่วนผสมของน้ำมะม่วง เติมน้ำตาล และกรดมะนาว วัดอุณหภูมิของส่วนผสมให้มีอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส จับเวลา 30 วินาที พักให้ส่วนผสมมีอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ตักใส่ถ้วยพลาสติก (105 กรัม) ปิดฝา ติดฉลาก วางให้ส่วนผสมเซ็ตตัวที่อุณหภูมิห้อง แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น (8 -15 องศาเซลเซียส) รอการจำหน่าย

 

 

ผลการประเมินคุณภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล แสดงดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2

 

ตารางที่ 1 คุณภาพเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล

 

คุณลักษณะ

ผลการทดสอบ

ลักษณะทั่วไป

เนื้อเนียน เป็นมันวาว จับไม่ติดมือ มีกลิ่นหอมของมะม่วงกวนผสมกะทิ

สี

สีเหลืองปนน้ำตาลแดง และไม่มีสีอื่นปน

กลิ่นรส

กลิ่นรสมะม่วงกวน รสหวาน และมีกลิ่นหอมของกะทิ

สิ่งแปลกปลอม

ไม่พบสิ่งแปลกปลอม

 

ตารางที่ 2 คุณภาพเบื้อต้นของผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล

 

คุณลักษณะ

ผลการทดสอบ

ลักษณะทั่วไป

เนื้อเนียน เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีน้ำที่ผิวหน้า เนื้อสัมผัสเหมือนเยลลีทั่วไป

สี

สีเหลืองทอง และไม่มีสีอื่นปน

กลิ่นรส

กลิ่นรสมะม่วง มีรสหวาน และเปรี้ยว

สิ่งแปลกปลอม

ไม่พบสิ่งแปลกปลอม

 

 

 

ผลการประเมินคุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล แสดงดังตารางที่ 3 และตารางที่ 4

 

ตารางที่ 3คุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล

 

ค่าคุณภาพ

ผลการทดสอบ

หน่วย

Sodium chloride

0.40

g/100g

Total sugars

57.05

g/100g

Escherichia coli

< 3.0

MPN/g

Salmonella spp.

Not detected

in 25g

Staphylococcus aureus

< 10

CFU/g

Total Plate Count

7.5 x 10

CFU/g

Yeast and molds

1.0 x 10

CFU/g

 

 

 

 

ตารางที่ 4คุณภาพทางเคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล

 

ค่าคุณภาพ

ผลการทดสอบ

หน่วย

pH

3.90

 

Coliform Bacteria

< 3.0

MPN/g

Salmonella spp.

Not detected

in 25g

Staphylococcus aureus

< 10

CFU/g

 

 

ผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลและเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล จะอ้างอิงจากประกาศมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 35/2546 ผลไม้กวนและประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 416) พ.ศ. 2563ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ของอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค โดยผลการประเมินพบว่า ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลและเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล มีค่าคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์

 

ผลการประเมินองค์ประกอบทางเคมีและค่าพลังงานของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล แสดงดังตารางที่ 5

 

ตารางที่ 5องค์ประกอบทางเคมีและค่าพลังงานของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล

 

          รายการทดสอบ

ผลทดสอบ

หน่วย

 

กะทิสด

กะทิ UHT

 

Ash

1.34

1.42

g/100g

Carbohydrate

64.54

63.62

g/100g

Energy

355.03

374.62

kcal/100g

Fat

9.07

11.42

g/100g

Moisture

21.24

19.20

g/100g

Protein

3.81

4.34

g/100g

 

 

กิจกรรมที่ 5 การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ  ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล การประเมินอายุการเก็บรักษากำหนดไว้ดังนี้ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล จะทำการประเมินอายุรักษาผลิตภัณฑ์นาน 3 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 35/2546 ผลไม้กวน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค สำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล จะทำการประเมินอายุรักษาผลิตภัณฑ์นาน 21 วัน ที่อุณหภูมิต่ำ คือ อุณหภูมิ 8–12 องศาเซลเซียส โดยอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

2. การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

 

ผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล ระหว่างการเก็บรักษานาน 3 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง แสดงดังตารางที่ 6

 

ตารางที่ 6ค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล ระหว่างการเก็บรักษานาน 3 เดือน

 

รายการทดสอบ

ผลการทดสอบ

หน่วย

0 เดือน

1 เดือน

2 เดือน

3 เดือน

Escherichia coli

< 3.0

< 3.0

< 3.0

< 3.0

MPN/g

Salmonella spp.

Not detected

Not detected

Not detected

Not detected

in 25g

Staphylococcus aureus

< 10

< 10

< 10

< 10

CFU/g

Total Plate Count

6.0 x 10

6.0 x 10

6.2 x 10

6.5 x 10

CFU/g

Yeast and molds

1.0 x 10

1.0 x 10

1.0 x 10

1.0 x 10

CFU/g

 

 

          ผลการประเมินค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่เก็บรักษานาน 3 เดือน พบว่า มีค่าคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 35/2546 ผลไม้กวน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล สามารถเก็บรักษาได้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท นานมากกว่า 3 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง

 

ผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ระหว่างการเก็บรักษานาน 21 วัน ที่อุณหภูมิต่ำ (8-12 องศาเซลเซียส) แสดงดังตารางที่ 7

 

 

 

 

ตารางที่ 7ค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ระหว่างการเก็บรักษานาน 21 วัน

 

รายการทดสอบ

ผลการทดสอบ

หน่วย

0 วัน

7 วัน

14 วัน

21 วัน

Coliform Bacteria

< 3.0

< 3.0

< 3.0

< 3.0

MPN/g

Salmonella spp.

Not detected

Not detected

Not detected

Not detected

in 25g

Staphylococcus aureus

< 10

< 10

< 10

< 10

CFU/g

 

ผลการประเมินค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่เก็บรักษานาน 21 วัน พบว่า มีค่าคุณภาพเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล สามารถเก็บรักษาได้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท นานมากกว่า 21 วัน ที่อุณหภูมิต่ำ (8-12 องศาเซลเซียส)

 

กิจกรรมที่ 6 การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

 

กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหาร แต่ยังขาดทักษะองค์ความรู้ในการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในหลายหัวข้อ ได้แก่ เรื่อง หลักการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร GMP

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

2. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

3. การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

 

กิจกรรมที่ 7 การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

 

          การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และได้ข้อสรุปในเบื้องต้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่จะได้จากโครงการมีจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมของกลุ่ม จึงจำเป็นต้องออกแบบฉลากให้มีความแตกต่าง โดดเด่น และบ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพได้ ในขณะเดียวกันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงจำเป็นต้องระบุชนิด ปริมาณการใช้ คำเตือน และการบริโภคอย่างชัดเจน (ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข) นอกจากนั้นการที่ผลิตภัณฑ์มีใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงสามารถใช้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ด้วย สำหรับข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เป็นของกลุ่มยังคงต้องปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มเดิมสามารถจดจำได้แล้ว

การออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยข้อมูลอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 3) ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจำเป็นต้องให้องค์ความรู้นี้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายด้วย ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการ ได้สรุปความต้องการของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย สำหรับการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ และอยู่ระหว่างการปรับแก้ให้ตรงกับความต้องการ โดยกิจกรรมนี้จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2)

3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 3)

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ และโลโก้ ของกลุ่ม แล้วเสนอแก่สมาชากกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย เพื่อคัดเลือก ให้ข้อเสนอแนะ และปรับแก้ เพื่อใช้เป็นฉลากและโลโก้ของกลุ่มต่อไป

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 8 การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

 

กิจกรรมการตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด จัดทำแผนการตลาด ซึ่งสามารถระบุ การจัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation)การ เลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting)และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แล้ว แต่เนื่องจากในปีนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการจะมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ทิศทางการตลาดเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาด และการวิเคราะห์ทิศทางตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

 

ผลจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาด และการวิเคราะห์ทิศทางตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถสรุปได้ดังนี้

 

การแบ่งส่วนตลาด เลือกตลาดเป้าหมาย กำหนดตำแหน่งทางการตลาด

  • การจัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation)

 

ลำดับ

กลุ่มลูกค้า

Attitude

Value

พฤติกรรมการซื้อ

  1.  

กลุ่มOEM

คำนึงถึงชื่อเสียง ระบบการผลิตที่มาตรฐาน การบริการที่รวดเร็ว และสินค้าสดใหม่ ราคาสมเหตุสมผล บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย แต่ต้นทุนต่ำ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มตัวแทนจำหน่าย

คำนึงถึงชื่อเสียง ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มร้านค้าส่ง/ยี่ปั๊ว

คำนึงถึงชื่อเสียง ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มร้านของฝาก

คำนึงถึงชื่อเสียง ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มผู้จัดบริการท่องเที่ยว/จัดกิจกรรม Event

คำนึงถึงชื่อเสียง ระบบการผลิตที่มาตรฐาน การบริการที่รวดเร็ว และสินค้าสดใหม่ ราคาสมเหตุสมผล บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย แต่ต้นทุนต่ำ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มโรงแรมและรีสอร์ท

(จัดสัมมนา/จัดเลี้ยง)

คุณภาพ รสชาติ การบริการ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มร้านอาหาร

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

คู่ค้า

คำนึงถึงชื่อเสียง  ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มโรงเรียน และสถานศึกษา โรงพยาบาล

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มร้านค้าในโรงอาหารโรงงานอุตสาหกรรม

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพปานกลาง

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

Low Cost

คำนึงถึงต้นทุนต่ำ ต้องให้ผลกำไรสูง                                   

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

Product F.S.

คำนึงถึงชื่อเสียง ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มลูกค้าทั่วไป

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มนักท่องเที่ยว

รูปลักษณ์สวยงาม เป็นตัวแทนของท้องถิ่น

คุณภาพปานกลาง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

Online

เห็นง่าย น่าสนใจ

Promotion น่าสนใจ ส่งเร็ว ส่งฟรี

ซื้อสินค้าที่มีPromotion ชื้อในเวลาที่สะดวก หรือ ซื้อตลอด 24 ชั่วโมง

  1.  

หน่วยราชการ B2G

ค่ายทหาร

เรือนจำ

ซื้อของตามระเบียบ คุณสมบัติ ตามข้อกำหนด

ส่งมอบตามสัญญา

ซื้อตามระเบียบราชาการ

  1.  

ส่งออกตรง

ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานที่กำหนด มีสเปคชัดเจน

ส่งมอบตามสัญญา ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ เป็นไปตามสเปค

ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐาน ภาพพจน์แหล่งผลิตชัดเจน ราคาเหมาะสม

 

 

  • การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting)

เป้าหมายหลัก

ลำดับ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

Attitude

Value

พฤติกรรมการซื้อ

  1.  

กลุ่มร้านของฝาก

(ขายขาด เงินสด)

คำนึงถึงชื่อเสียง ต้องให้ผลกำไรสูง

ต้องซื้อง่าย ขายคล่อง ของแถม-ส่วนลดเยอะ

ซื้อสินค้าราคาถูก หรือให้ผลกำไรเยอะ

  1.  

กลุ่มผู้จัดบริการท่องเที่ยว/จัดกิจกรรม Event

คำนึงถึงชื่อเสียง ระบบการผลิตที่มาตรฐาน การบริการที่รวดเร็ว และสินค้าสดใหม่ ราคาสมเหตุสมผล บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย แต่ต้นทุนต่ำ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มโรงแรมและรีสอร์ท

(จัดสัมมนา/จัดเลี้ยง)

คุณภาพ รสชาติ การบริการ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

กลุ่มนักท่องเที่ยว

รูปลักษณ์สวยงาม เป็นตัวแทนของท้องถิ่น

คุณภาพปานกลาง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

  1.  

Online

เห็นง่าย น่าสนใจ

Promotion น่าสนใจ ส่งเร็ว ส่งฟรี

ซื้อสินค้าที่มีPromotion ชื้อในเวลาที่สะดวก หรือ ซื้อตลอด 24 ชั่วโมง

  1.  

หน่วยราชการ B2G

ค่ายทหาร

เรือนจำ

ซื้อของตามระเบียบ คุณสมบัติ ตามข้อกำหนด

ส่งมอบตามสัญญา

ซื้อตามระเบียบราชาการ

  1.  

กลุ่มโรงเรียน และสถานศึกษา โรงพยาบาล

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

 

 

 

 

 

 

เป้าหมายรอง

ลำดับ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

Attitude

Value

พฤติกรรมการซื้อ

1.

กลุ่มผู้จัดบริการท่องเที่ยว/จัดกิจกรรม Event

คำนึงถึงชื่อเสียง ระบบการผลิตที่มาตรฐาน การบริการที่รวดเร็ว และสินค้าสดใหม่ ราคาสมเหตุสมผล บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย แต่ต้นทุนต่ำ

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

2.

กลุ่มร้านอาหาร

คำนึงถึงชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รสชาติอร่อย การบริการที่ดี 

คุณภาพสูง

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

 

 

กิจกรรมที่ 9 การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 

          กิจกรรมการจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัด ทำแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในเบื้องต้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปีนี้การดำเนินงานจะมีผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 

ผลจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถสรุปได้ดังนี้

 

 

การกำหนดรูปแบบธุรกิจ ด้วยBusiness Modelที่แสดงให้เห็นสถานะปัจจุบัน และสิ่งที่จะพัฒนาในอนาคต องค์ประกอบ Business Model Canvas ที่เชื่อมโยงกันใน 9 มิติ ดังนี้

ลูกค้า (Customer Segments—CS) ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ

คุณค่า (Value Propositions—VP) จุดขายของสินค้า หรือ บริการนั้น

ช่องทาง (Channels—CH) วิธีในการสื่อสารไปถึงลูกค้า และวิธีการส่งมอบสินค้าหรือบริการ

ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships—CR) วิธีในการรักษาลูกค้าเดิม และสร้างการรับรู้เพื่อสร้างลูกค้าใหม่

กระแสรายได้ (Revenue Streams—RS) รายได้ของธุรกิจนี้

ทรัพยากรหลัก (Key Resources—KR) สิ่งที่ต้องมีในการดำเนินธุรกิจ

กิจกรรมหลัก (Key Activities—KA) กิจกรรมที่ต้องทำเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่ได้

พันธมิตรหลัก (Key Partners—KP) ส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการช่วยป้อนวัตถุดิบและการช่วยขาย โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure-CS) ต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจ



รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 19/09/2566 [15684]
42385 12
3 [14528]

โครงการการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE)เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายร่วมวางแผนงานและดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ โดยในรายงานฉบับนี้จะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมดังนี้

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ลงพื้นที่ เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานจากปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) และชี้แจงกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 11ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกจากผลการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลและผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพและลดการบริโภคน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายมีผลิตภัณฑ์เดิมของกลุ่มที่มีลูกค้าประจำ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรดั้งเดิม ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวดำเนินการในกิจกรรมที่ 4การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP กิจกรรมที่ 5 การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 6 การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร กิจกรรมที่ 7 การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า กิจกรรมที่ 8 การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด และกิจกรรมที่ 9 การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 

กิจกรรมที่ 1 การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

          ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์” ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะม่วงให้มีความสม่ำเสมอและเหมือนเดิมในทุกครั้ง และเพื่อให้มีวัตถุดิบ (มะม่วง) ใช้ได้ตลอดปี โดยเป็นการให้ความรู้และลงมือปฏิบัติ โดยมี

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้ ดังนี้

 

1. การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

2. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

ผลการดำเนินการ

ดำเนินการในกิจกรรมที่ 1 การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เสร็จสิ้น ในไตรสาม 2 สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายสามารถนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพใช้เพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ตลอดปี

 

         

 

กิจกรรมที่ 2 กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน

          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การดำเนินการในกิจกรรมที่ 2 กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน เป็นการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนและเยลลีมะม่วงสูตรลดปริมาณน้ำตาล ร่วมกับการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์) และการเติมวัตถุเจือปนอาหาร โดยใช้การแปรรูปอาหารด้วยความร้อน เทคนิคการกวน และการพาสเจอไรซ์

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 3

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และใช้ไซรัปมัลติทอล ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ แทนการใช้น้ำตาลทราย (sucrose) เนื่องจากไซรัปมัลติทอล เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีค่าพลังงานต่ำกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 0.6 เท่า และทนความร้อนได้ดี จึงสามารถนำไปใช้กับการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเปลี่ยนจากการใช้กะทิคั้นสด เป็นการใช้กะทิกล่อง/ขวด สำเร็จรูป ลดปริมาณกะทิจากสูตรดั้งเดิมลงเหลือเพียงร้อยละ 50ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลในระหว่างกระบวนการพัฒนาสูตรนำเสนอตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย เพื่อร่วมประเมินคุณภาพและคัดเลือกสูตรที่เหมาะสม

ผลการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล จำนวน 6 สูตร ซึ่งมีการปรับลดน้ำตาลและกะทิ ระหว่างร้อยละ 20-50ร่วมกับการใช้ไซรัปมัลติทอล พบว่า มะม่วงกวนลดน้ำตาลที่ได้มีสีเหลืองทองต่างจากสูตรใช้น้ำตาลและกะทิสด เนื้อมีมันวาวขึ้น เนื้อสัมผัสเหนียว เนียน ไม่ร่วน แต่ยังติดมือ มีรสหวานน้อยกว่าสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทรายทั้งหมด และมะม่วงกวนไม่มีกลิ่นหอมของกะทิ ผลการประเมินค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ในผลิตภัณฑ์ทุกสูตรมีค่าระหว่าง 0.65 - 0.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน สำหรับร้อยละผลผลิต (% yield) พบว่า อยู่ระหว่างร้อยละ 43.50 - 48.50 และจากผลการประเมินโดยตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจึงทำการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมต่อในไตรมาสที่ 3

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล เป็นการดำเนินการต่อจากผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับกับข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ดำเนินการ ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดย

 

1. ใช้กะทิคั้นสด ไม่ใช้กะทิสำเร็จรูป เนื่องจากมีผลต่อค่าสี และกลิ่นของผลิตภัณฑ์

2. ใช้น้ำตาลทราย ร้อยละ 50 ของสูตรดั้งเดิม

3. ใช้ไซรัปมัลติทอล ร้อยละ 25 และ 50 ของปริมาณน้ำตาลสูตรดั้งเดิม

 

ผลการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลและการประเมินคุณภาพ พบว่า มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลทั้ง 2 สูตร มีลักษณะปรากฏด้านสี และเนื้องสัมผัสใกล้เคียงสูตรดั้งเดิมของกลุ่ม เนื้อเป็นมันวาว เนื้อสัมผัสเหนียว เนียน ไม่ร่วน ไม่ติดมือ และมีกลิ่นหอมของกะทิสด เมื่อทำการประเมินด้วยการทดสอบชิมพบว่า มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 25มีรสหวานน้อยกว่ามะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50 และมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50มีรสหวานใกล้เคียงสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทราย ตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายจึงได้พิจารณาเลือกมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลใช้น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำตาลสูตรดั้งเดิม เป็นต้นแบบในการผลิตต่อไป

ดังนั้นสูตรในการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่เหมาะสม คือ ใช้กะทิคั้นสด ไม่ใช้กะทิสำเร็จรูป ใช้น้ำตาลทราย ร้อยละ 50 ของสูตรดั้งเดิม และใช้ไซรัปมัลติทอล ร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำตาลสูตรดั้งเดิม ตามลำดับ กระบวนการผลิตมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล เริ่มจาก นำเนื้อมะม่วงแช่แข็งมาละลายน้ำแข็ง ใส่กระทะ ตั้งไฟ เมื่อน้ำแข็งลลายหมด เติม กะทิ น้ำตาลทราย ไซรัปมัลติทอล กลูโคสไซรับ (แบะแซ) และเกลือ กวนส่วนผสมทั้งหมด จนกว่าเนื้อมะม่วงกวนแห้ง จับไม่ติดมือ ทิ้งให้เย็น แล้วนำไปห่อ จะได้ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลพร้อมจำหน่าย

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ซึ่งดำเนินการ ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอ     วังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยใช้สูตรและกระบวนการผลิตมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่คัดเลือกในขั้นต้น

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (การกวน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

ในการกวน 1 กระทะ จะใช้เนื้อมะม่วงกวน 15 กิโลกรัม ใช้เวลาในการกวน 3.5 ชั่วโมง จะได้มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลน้ำหนัก 4 กิโลกรัม โดยผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการในส่วนของกิจกรรมนี้ 3 ครั้ง เป็นเวลารวม 6 วัน

 

นำมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ได้มาห่อด้วยแผ่นพลาสติกใส ประกบเป็นคู่ มัดด้วยตอก หรือแผ่นลวด โดยมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล 1 คู่ มีน้ำหนักประมาณ 22.0 - 25.0 กรัม กระบวนการห่อด้วยแผ่นพลาสติกใส ประกบเป็นคู่ แล้วมัด ใช้เวลา 3 ชั่วโมง (ใช้คน 4 คน)

ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ได้นำไปประเมินค่าคุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ต่อไป (แสดงผลการประเมินในกิจกรรมที่ 4)

 

สำหรับการดำเนินการในไตรมาสที่ 3 ในส่วนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ดำเนินการในระดับห้องปฏิบัติการ ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากผลการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตในไตรมาสที่ 2 โดยการปรับเพิ่มสัดส่วนของส่วนผสมใหม่ ดังนี้

 

1. ใช้น้ำตาลทราย ร้อยละ 50 ของสูตรดั้งเดิม

2. ใช้ไซรัปมัลติทอล ร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำตาลสูตรดั้งเดิม

3. ใช้เนื้อมะม่วงสุกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 ของเนื้อมะม่วงสุกสูตรดั้งเดิม ไม่เติมไซรัปมัลติทอล

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (กระบวนการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปประเมินคุณภาพและทดสอบความชอบโดยการทดสอบชิมร่วมกับตัวแทนของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ผลการประเมินพบว่า เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลทั้ง 2 สูตร มีลักษณะปรากฏ สี และเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบความชอบพบว่า เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลทั้ง 2 สูตร มีรสหวานแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ใช้เนื้อมะม่วงสุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และไม่เติมไซรัปมัลติทอล จะมีรสหวานกว่าเล็กน้อย แต่มีเนื้อสัมผัสที่ดีกว่าเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50นอกจากนั้นยังพบว่า เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ใช้เนื้อมะม่วงสุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และไม่เติมไซรัปมัลติทอล จะมีกลิ่นและกลิ่นรสของมะม่วงสุกมากกว่าอย่างชัดเจน ตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายจึงได้พิจารณาเลือกเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ใช้เนื้อมะม่วงสุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และไม่เติมไซรัปมัลติทอล เป็นต้นแบบในการผลิตต่อไป

กระบวนการผลิตเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลมีรายละเอียดดังนี้ นำเนื้อมะม่วงสุกแช่แข็งมาละลายน้ำแข็ง เติมน้ำสะอาด ตั้งไฟ ให้ความร้อนจนเนื้อมะม่วงละลายหมด ละลายผงบุกและคาราจีแนน แล้วเติมลงในส่วนผสมของน้ำมะม่วง เติมน้ำตาล และกรดมะนาว วัดอุณหภูมิของส่วนผสมให้มีอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส จับเวลา 30 วินาที พักให้ส่วนผสมมีอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ตักใส่ถ้วยพลาสติก (105 กรัม) ปิดฝา ติดฉลาก วางให้ส่วนผสมเซ็ตตัวที่อุณหภูมิห้อง แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น (8 -15 องศาเซลเซียส) รอการจำหน่าย

 

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ซึ่งดำเนินการ ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอ     วังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยใช้สูตรและกระบวนการผลิตเยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่คัดเลือกในขั้นต้น

 

ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ได้นำไปประเมินค่าคุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ต่อไป (อยู่ระหว่างการประเมินผล)

 

กิจกรรมที่ 3 การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) และการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

          น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ซึ่งได้จากปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (hydrogenation) ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) โดย carbonyl oxygen ถูกรีดิวซ์ได้เป็น polyhydroxy alcoholแมนนิทอล (mannitol) เป็นสารให้ความหวานที่เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้จากกระบวนการไฮโดรจิเนชันของน้ำตาลฟรักโตส (fructose) เป็นสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งสามารถพบได้ตามธรรมชาติในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และผลไม้อีกหลายชนิด รวมทั้งเห็ดเยื่อไผ่ (bamboo mushroom) และสาหร่ายทะเล มีคุณสมบัติ คือ มีรสชาติหวาน มีความหวานสัมพัทธ์ (relative sweetness) น้อยกว่าน้ำตาลทราย ละลายได้น้อยกว่าน้ำตาลทราย ดูดความชื้นน้อย มีค่า glycemic index ต่ำกว่าน้ำตาลทราย ร่างกายจะย่อยและดูดซึมได้ช้า จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูง ให้พลังงานเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำตาลทราย (น้ำตาลทรายให้พลังงาน 4.0 Kcal/g, mannitol ให้พลังงาน 2.1 Kcal/g) ทนต่อกรดและความร้อนได้ดีกว่าน้ำตาล ไม่เกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่ไม่ใช้เอนไซม์ แบคทีเรียในปากไม่สามารถนำไปใช้ได้ จึงไม่ทำให้ฟันผุ ปัจจุบันมีการนำใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากมาย เช่น ใช้แทนที่น้ำตาลในอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำ (low-calorie) หรือไม่มีน้ำตาล (sugar-free) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี (bakery) แยม (jam) และผสมเครื่องดื่มต่างๆ ที่ต้องการรสหวานแต่ให้พลังงานต่ำ เช่น กาแฟ น้ำนม นมถั่วเหลือง คุกกี้ ลูกอม และหมากฝรั่ง เป็นต้น

 

          ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

การพัฒนา “ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล” ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ร่วมทำการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ปริมาณสารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาลทราย ชนิดและปริมาณกะทิ โดยการปรับส่วนผสมจากสูตรดั้งเดิม

          การพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล”ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาการใช้/ ไม่ใช้ สารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาล การเติมวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มปรับความเป็นกรด-ด่าง ของผลิตภัณฑ์เยลลี ศึกษาชนิดของสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) 2 ชนิด คือ คาร์ราจีแนน (carrageenan)และผงบุก (konjac) โดยทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ผู้ทดสอบยอมรับและมีความพึงพอใจ เพื่อให้ได้สูตรและกรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล และดำเนินการถ่ายทอดสู่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ในลำดับต่อไป

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้  “ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล” คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (การกวน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้  “ผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล” คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน (กระบวนการพาสเจอไรด์เซชัน)

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

กิจกรรมที่ 4การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

          กิจกรรมที่ 4 การประเมินคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมจากกระบวนการผลิตตามหลักการ GMPผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการ ได้ทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการพัฒนาจากโครงการ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ระหว่างกระบวนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้รับการคัดเลือก

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล จำนวน 6 สูตร ซึ่งมีการปรับลดน้ำตาลและกะทิ ระหว่างร้อยละ 20-50ร่วมกับการใช้ไซรัปมัลติทอล พบว่า มะม่วงกวนลดน้ำตาลที่ได้มีสีเหลืองทอง เนื้อมีมันวาว เนื้อสัมผัสเหนียว ไม่ร่วน แต่ติดมือ ไม่มีกลิ่นกะทิ มีรสหวานน้อยกว่าสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทรายทั้งหมด ไม่ให้ความรู้สึกว่ามีส่วนผสมของกะทิ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของมะม่วงกวนสูตรโบราณ ผลการประเมินค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ในผลิตภัณฑ์ทุกสูตรมีค่าระหว่าง 0.65 - 0.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน สำหรับร้อยละผลผลิต (% yield) พบว่า อยู่ระหว่างร้อยละ 43.50 - 48.50

ผลการประเมินผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ทำการพัฒนาต่อ จำนวน 2 สูตร คือ สูตรที่ใช้ กะทิคั้นสด น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 25และสูตรที่ใช้กะทิคั้นสด น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50 ผลการประเมินพบว่า มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลทั้ง 2 สูตร มีลักษณะปรากฏด้านสี และเนื้องสัมผัสใกล้เคียงสูตรดั้งเดิมของกลุ่ม เนื้อเป็นมันวาว เนื้อสัมผัสเหนียว เนียน ไม่ร่วน ไม่ติดมือ และมีกลิ่นหอมของกะทิสด เมื่อทำการประเมินด้วยการทดสอบชิมพบว่า มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 25มีรสหวานน้อยกว่ามะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50 และมะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่ใช้ไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50มีรสหวานใกล้เคียงสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทราย

ผลการประเมินค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ในผลิตภัณฑ์พบว่า มะม่วงกวนลดน้ำตาลสูตรที่ใช้ กะทิคั้นสด น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 25และสูตรที่ใช้กะทิคั้นสด น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50มีค่าระหว่าง 0.60 และ 0.63 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน และมีร้อยละผลผลิต (% yield) ที่ร้อยละ 33.67- 36.67 ตามลำดับ

ผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่คัดเลือก (กะทิคั้นสด น้ำตาลทรายร้อยละ 50 และไซรัปมัลติทอลร้อยละ 50) แสดงดังตารางที่ 1และตารางที่ 2

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1ค่าคุณภาพทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลที่คัดเลือก

 

ค่าคุณภาพ

ผลการทดสอบ

หน่วย

Sodium chloride

0.40

g/100g

Total sugars

57.05

g/100g

Ash

1.34

g/100g

Carbohydrate

64.54

g/100g

Energy

355.03

Kcal/100g

Fat

9.07

g/100g

Moisture

21.24

g/100g

Protein

3.81

g/100g

 

 

ตารางที่ 2ค่าคุณภาพทางจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาลคัดเลือก

 

ค่าคุณภาพ

ผลการทดสอบ

Escherichia coli

< 3.0 MPN/g

Salmonella spp.

Not detected in 25g

Staphylococcus aureus

< 10 CFU/g

Total Plate Count

7.5 x 10 CFU/g

Yeast and molds

1.0 x 10 CFU/g

 

 

          กิจกรรมการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลที่คัดเลือก ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคนิคและองค์ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ร่วมพิจารณาผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลที่คัดเลือก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน และมีค่าคุณภาพใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์และจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างไร

ผลการประเมินผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลที่ทำการพัฒนาต่อ จำนวน 2 สูตร อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินคุณภาพ โดยอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค

          กิจกรรมการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลที่คัดเลือก ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคนิคและองค์ความรู้แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ณ อาคารเอนกประสงค์ กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ร่วมพิจารณาผลการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรน้ำตาลที่คัดเลือก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน และมีค่าคุณภาพใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์และจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างไร สำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาลอยู่ระหว่างการรอผลการประเมินคุณภาพ

 

กิจกรรมที่ 5 การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

          การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ  ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล การประเมินอายุการเก็บรักษากำหนดไว้ดังนี้ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล จะทำการประเมินอายุรักษาผลิตภัณฑ์นาน 3 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค สำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล จะทำการประเมินอายุรักษาผลิตภัณฑ์นาน 21 วัน ที่อุณหภูมิแช่เย็น คือ อุณหภูมิ 8-15 องศาเซลเซียส โดยอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

2. การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างการประเมินอายุการเก็บรักษาทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์

  

 

กิจกรรมที่ 6 การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

กิจกรรมการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร เนื่องจากกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหาร แต่ยังขาดทักษะองค์ความรู้ในการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในหลายหัวข้อ ได้แก่ เรื่อง หลักการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร GMPประเภทของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) หลักการเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)ชนิดและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยดำเนินการในบางหัวข้อควบคู่กับกิจกรรมที่ 2 กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน กิจกรรมที่ 3 การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) และการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)กิจกรรมที่ 4 การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMPซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในไตรมาสที่ 2 - 3

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากค่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลอาจมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เนื่องจากในขั้นตอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตมีโอกาสสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ค่อนข้างบ่อย และผลิตภัณฑ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง แม่ว่ากระบวนการแปรรูปด้วยความร้อนจะทำให้ประมาณน้ำอิสระที่เหลือในผลิตภัณฑ์มีค่าต่ำ แต่ก็ยังถูกจัดเป็นประเภท intermediate foods (IMF) ซึ่งยังคงมีโอกาสพบการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ได้ ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเน้นไปที่การลดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมแก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายอีกครั้ง ในเดือนกรกฎาคม 2566

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

2. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

3. การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

 

กิจกรรมที่ 7 การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

          กิจกรรมการแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และได้ข้อสรุปในเบื้องต้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่จะได้จากโครงการมีจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมของกลุ่ม จึงจำเป็นต้องออกแบบฉลากให้มีความแตกต่าง โดดเด่น และบ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพได้ ในขณะเดียวกันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงจำเป็นต้องระบุชนิด ปริมาณการใช้ คำเตือน และการบริโภคอย่างชัดเจน (ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข) นอกจากนั้นการที่ผลิตภัณฑ์มีใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงสามารถใช้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ด้วย สำหรับข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เป็นของกลุ่มยังคงต้องปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มเดิมสามารถจดจำได้แล้ว

การออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยข้อมูลอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 3) ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจำเป็นต้องให้องค์ความรู้นี้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายด้วย ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการ ได้สรุปความต้องการของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย สำหรับการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ และอยู่ระหว่างการปรับแก้ให้ตรงกับความต้องการ โดยกิจกรรมนี้จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2)

3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 3)

 

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

สามารถออกแบบร่างฉลากผลิตภัณฑ์ และแบบโลโก้ ของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย และจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 8 การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

          สำหรับกิจกรรมการตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด จัดทำแผนการตลาด ซึ่งสามารถระบุ การจัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation)การ เลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting)และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แล้ว แต่เนื่องจากในปีนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการจะมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ทิศทางการตลาดเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาด และการวิเคราะห์ทิศทางตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยกิจกรรมนี้จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

          ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ประสานวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการตลาดแล้ว โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 9 การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

          กิจกรรมการจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัด ทำแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในเบื้องต้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปีนี้การดำเนินงานจะมีผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยกิจกรรมนี้จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

 

1. การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 3

          ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ประสานวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการการจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์แล้ว โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566

 

 

ปัญหาอุปสรรค

          ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1 - กิจกรรมที่ 4ล่าช้ากว่าแผนงานที่เสนอไว้ เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ตามแผนงานจะต้องได้สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล เพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย แต่อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมโครงการทำการพัฒนาและทำให้ได้สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงสูตรลดน้ำตาล ทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ และอยู่ระหว่างการประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์  สำหรับการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 7 – กิจกรรมที่ 9 อยู่ระหว่างดำเนินการและจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 29/06/2566 [14528]
86715 12
2 [14021]

กิจกรรมที่ 4 การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

          กิจกรรมที่ 4 การประเมินคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมจากกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ทำการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้น (บางรายการ) ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการพัฒนา 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ในระดับห้องปฏิบัติการ

ผลการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล จำนวน 6 สูตร ซึ่งมีการปรับลดน้ำตาลและกะทิ ระหว่างร้อยละ 20-50 ร่วมกับการใช้ไซรัปมัลติทอล พบว่า มะม่วงกวนลดน้ำตาลที่ได้มีสีเหลืองทอง เนื้อมีมันวาวขึ้น เนื้อสัมผัสเหนียว ไม่ร่วน แต่ยังติดมือ และมีรสหวานน้อยกว่าสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทรายทั้งหมด ผลการประเมินค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ในผลิตภัณฑ์ทุกสูตรมีค่าระหว่าง 0.65 - 0.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน สำหรับร้อยละผลผลิต (% yield) พบว่า อยู่ระหว่างร้อยละ 43.50 - 48.50 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการดำเนินการในขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตมะม่วงกวนลดน้ำตาลยังไม่ได้สูตรที่เหมาะสมและจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อ ดังนั้นในส่วนของกิจกรรมนี้จึงต้องมีการดำเนินการต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตในกิจกรรมที่ 2 และกิจกรรมที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล เนื่องจากได้สูตรที่เหมาะสมแล้ว ดังนั้นในการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์จึงอยู่ระหว่างการดำเนินการและติดตามผลการประเมิน

           กิจกรรมการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ซึ่งใช้ไซรัปมัลติทอลที่เหมาะสม ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคนิคและองค์ความรู้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในลำดับต่อไป แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

 

กิจกรรมที่ 5 การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

          การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 1 – ไตรมาสที่ 2 มีผลให้ได้สูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เยลลีลดน้ำตาลเพียง 1 ผลิตภัณฑ์ และยังมีผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจึงจะทำการประเมินอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เยลลีลดน้ำตาลก่อน โดยอาศัยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรค ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประเมิน   

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP

2. การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์

 

กิจกรรมที่ 6 การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

กิจกรรมการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร เนื่องจากกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายเป็นกลุ่มผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ยังขาดทักษะองค์ความรู้ในการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะจัดกิจกรรมเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในหลายหัวข้อ ได้แก่ เรื่อง หลักการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร GMP ประเภทของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) หลักการเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ชนิดและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 (เมษายน - มิถุนายน)

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร

 

กิจกรรมที่ 7 การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

          กิจกรรมการแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และได้ข้อสรุปในเบื้องต้น คือ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่จะได้จากโครงการมีจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล (สูตรใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล) นั้น จำเป็นต้องออกแบบฉลากให้มีความแตกต่างและโดดเด่น ในขณะเดียวกันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงจำเป็นต้องระบุชนิด ปริมาณการใช้ คำเตือน และการบริโภคอย่างชัดเจน (ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข) นอกจากนั้นการที่ผลิตภัณฑ์มีใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงสามารถใช้สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ด้วย สำหรับข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เป็นของกลุ่มยังคงต้องปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มเดิมสามารถจดจำได้แล้ว

แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยข้อมูลอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 401) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 3) ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจำเป็นต้องให้องค์ความรู้นี้แก่วิสาหกิจชุมชนฯ ด้วย สำหรับกิจกรรมนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 (เมษายน - มิถุนายน)

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า

 

กิจกรรมที่ 8 การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

          สำหรับกิจกรรมการตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด จัดทำแผนการตลาด ซึ่งสามารถระบุ การจัดกลุ่มลูกค้า (Segmentation) การ เลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แล้ว แต่เนื่องจากในปีนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการจะมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ทิศทางการตลาดเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การตลาด และการวิเคราะห์ทิศทางตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ระหว่างไตรมาสที่ 3-4  (เมษายน - กันยายน)

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด

 กิจกรรมที่ 9 การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

          กิจกรรมการจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัด ทำแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในเบื้องต้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปีนี้การดำเนินงานจะมีผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มเติม โดยผู้รับผิดชอบโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้ในเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ระหว่างไตรมาสที่ 3-4  (เมษายน - กันยายน)

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

 ปัญหาอุปสรรค

          ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการดำเนินงาน (กิจกรรมที่ 1 - กิจกรรมที่ 4) ล่าช้ากว่าแผนงานที่เสนอไว้ เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ตามแผนงานจะต้องได้สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล สูตรใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะเร่งการดำเนินงานเพื่อให้ทุกกิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่ได้เสนอไว้ สำหรับกิจกรรมที่ 5 - กิจกรรมที่ 9 นั้น ตามแผนการดำเนินงานเสนอไว้เป็นการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตามลำดับ



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14021]
10000 2
2 [14020]

กิจกรรมที่ 3 การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) และการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

          น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ซึ่งได้จากปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (hydrogenation) ของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) โดย carbonyl oxygen ถูกรีดิวซ์ได้เป็น polyhydroxy alcohol แมนนิทอล (mannitol) เป็นสารให้ความหวานที่เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้จากกระบวนการไฮโดรจิเนชันของน้ำตาลฟรักโตส (fructose) เป็นสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งสามารถพบได้ตามธรรมชาติในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และผลไม้อีกหลายชนิด รวมทั้งเห็ดเยื่อไผ่ (bamboo mushroom) และสาหร่ายทะเล มีคุณสมบัติ คือ มีรสชาติหวาน มีความหวานสัมพัทธ์ (relative sweetness) น้อยกว่าน้ำตาลทราย ละลายได้น้อยกว่าน้ำตาลทราย ดูดความชื้นน้อย มีค่า glycemic index ต่ำกว่าน้ำตาลทราย ร่างกายจะย่อยและดูดซึมได้ช้า จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูง ให้พลังงานเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำตาลทราย (น้ำตาลทรายให้พลังงาน 4.0 Kcal/g, mannitol ให้พลังงาน 2.1 Kcal/g) ทนต่อกรดและความร้อนได้ดีกว่าน้ำตาล ไม่เกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่ไม่ใช้เอนไซม์ แบคทีเรียในปากไม่สามารถนำไปใช้ได้ จึงไม่ทำให้ฟันผุ ปัจจุบันมีการนำใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากมาย เช่น ใช้แทนที่น้ำตาลในอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำ (low-calorie) หรือไม่มีน้ำตาล (sugar-free) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี (bakery) แยม (jam) และผสมเครื่องดื่มต่างๆ ที่ต้องการรสหวานแต่ให้พลังงานต่ำ เช่น กาแฟ น้ำนม นมถั่วเหลือง คุกกี้ ลูกอม และหมากฝรั่ง เป็นต้น

           ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ทำการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ปริมาณสารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาลทราย และปริมาณกะทิจากสูตรดั้งเดิม

          การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาปริมาณสารให้ความหวานชนิดไซรัปมัลติทอลแทนน้ำตาล เติมวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มปรับความเป็นกรด-ด่างของผลิตภัณฑ์เยลลี ศึกษาชนิดของสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) 2 ชนิด คือ คาร์ราจีแนน (carrageenan) และผงบุก (konjac) โดยทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ผู้ทดสอบยอมรับและมีความ พึงพอใจ เพื่อให้ได้สูตรและกรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล และดำเนินการถ่ายทอดสู่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ในลำดับต่อไป

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14020]
10000 3
2 [14019]

สำหรับการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ได้ดำเนินการ ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยการใช้ไซรัปมัลติทอลแทนการใช้น้ำตาลทราย (sucrose) ซึ่งการดำเนินการแล้วเสร็จ และได้สูตรและกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาลเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเตรียมการถ่ายทอดแก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในลำดับต่อไป

เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ใช้ในกิจกรรมนี้ คือ

1. กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน

2. การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additives)

3. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14019]
0 0
2 [14018]

กิจกรรมที่ 2 กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน

          กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อน เป็นการใช้เทคนิคการกวนเพื่อผลิตมะม่วงกวน แต่เนื่องจากผลการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการดำเนินการดำเนินการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตมะม่วงกวนเบรกแตก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ให้เป็นไปตามหลักการผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรดั้งเดิมอาจไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ คณะกรรมการติดตามโครงการจึงมีข้อเสนอแนะให้พัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตมะม่วงกวนลดน้ำตาลเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค นอกจากนั้นกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายยังต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อีก 1 ผลิตภัณฑ์ คือ เยลลีมะม่วง เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นเยลลีมะม่วงลดน้ำตาล ดังนั้นกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยความร้อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงเป็นการลดปริมาณน้ำตาล ร่วมกับการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ลดปริมาณกะทิ และเติมวัตถุเจือปนอาหาร โดยใช้การแปรรูปอาหารด้วยความร้อน เทคนิคการกวน

 

 

การกวนเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการนำผักหรือผลไม้มาผสมกับน้ำตาลโดยใช้ความร้อนเคี่ยว กวนจนปริมาณน้ำน้อยลงและผสมเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถเก็บไว้ได้นาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงประมาณร้อยละ 75 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ การผลิตผักและผลไม้กวน ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

          1. การเลือกวัตถุดิบ ผักหรือผลไม้ที่จะนำมากวน ควรเป็นชนิดที่มีปริมาณเนื้อเยื่อมาก เช่น ฟักทอง เผือก มันเทศ สับปะรด มะม่วง ทุเรียน เป็นต้น ควรเป็นผลไม้แก่จัด สุกงอม เนื้อนิ่ม จะช่วยทำให้ผลไม้กวนมีรสชาติดี กลิ่นหอม นอกจากนี้ควรเป็นผักและผลไม้ที่มีเมล็ดน้อย กากผลไม้ที่เหลือจากการสกัดน้ำผลไม้ออกแล้ว สามารถนำมากวนได้

2. ประเภทการกวน สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับผักและผลไม้ต่างกัน

2.1 การกวนโดยใช้น้ำตาลกับน้ำ ใช้กับ พุทรา มะขาม กระท้อน มะปราง มะม่วงดิบ

มะละกอ

2.2 การกวนโดยใช้น้ำตาลกับกะทิ ใช้กับ กล้วย ฟักทอง เผือก มันเทศ

2.3 การกวนโดยใช้น้ำตาลอย่างเดียว ใช้กับสับปะรด มะม่วงสุก มะดัน มะเฟือง ทุเรียน

มังคุด มะยม

3. กรรมวิธีการผลิต มีขั้นตอน ดังนี้

3.1 การเตรียมผักและผลไม้สำหรับกวน ได้แก่ การเลือกวัตถุดิบ ล้างทำความสะอาด

จากนั้นนำมาเตรียมโดยผลไม้ต้องนำมาปอกเปลือก แยกเมล็ด แล้วนำมาบด สับ หรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ สำหรับผักที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง เผือก มันเทศ หลังจากปอกเปลือกออกแล้ว ต้องนำมานึ่งให้สุก แล้วบดเนื้อให้ละเอียด

3.2 การกวน ได้แก่ การนำส่วนผสมทั้งหมดใส่ในภาชนะสำหรับกวน ทั้งนี้ควรใช้กระทะ

สแตนเลสหรือภาชนะเคลือบปากกว้าง เพราะไม่ทำให้สีอาหารเปลี่ยนไป ก้นภาชนะควรมีลักษณะโค้งมนเพื่อความสะดวกในการกวน และควรใช้พายไม้สำหรับกวน การกวนควรใช้ไฟอ่อน การทดสอบความเหนียวของอาหารกวนโดยการหยดลงในน้ำที่เย็นจัด ถ้ามีลักษณะเป็นก้อนคงสภาพ ไม่แตกกระจาย แสดงว่าได้ที่แล้ว แต่ถ้าลักษณะเหลว ละลายไปกับน้ำ ต้องกวนต่อไปอีก แล้วจึงทดสอบอีกครั้ง ปริมาณน้ำตาลที่ใช้เป็นส่วนผสมจะขึ้นกับปริมาณกรดของวัตถุดิบ กล่าวคือ ถ้าวัตถุดิบมีปริมาณกรดสูง มีรสเปรี้ยว ก็ต้องใช้ในปริมาณมาก ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้จะขึ้นกับชนิดของวัตถุดิบเช่นกัน เช่น ผักและผลไม้ที่มีเนื้อละเอียด มีแป้งมาก เช่น มันเทศ เผือก กล้วย ทุเรียน เมื่อกวนแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อเนียนและเหนียว ในส่วนผสมอาจมีการปรับปรุงเนื้อสัมผัส โดยการเติมสารที่ช่วยให้ข้น (Thickening agent) เช่น เพกติน เจลาติน เป็นต้น หรืออาจใส่แบะแซ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความเหนียวมากขึ้น ควรใส่เมื่อกวนอาหารจนน้ำงวดลดลงครึ่งหนึ่งโดยใช้แบะแซ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ ปริมาณเนื้อผักหรือผลไม้ 1 กิโลกรัม

ลักษณะที่ดีของอาหารกวน มีดังนี้

1. ต้องเป็นเงา มีความวาว

2. มีลักษณะอยู่ตัว แต่ไม่แข็งเกินไป

3. มีความเหนียวตามธรรมชาติ

4. ไม่ตกทราย

4. การบรรจุและการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวนมักจะห่อในกระดาษแก้วใส ขนาดพอดีคำ แล้วใส่ขวดโหล เก็บหรือบรรจุในภาชนะที่แห้ง สะอาด มีฝากปิดสนิท เก็บรักษาไว้ในที่เย็น ไม่ชื้น ไม่ถูกแสง

เยลลี (jelly) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ซึ่งทำจากน้ำผลไม้ หรือน้ำผลไม้เข้มข้น เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบแดง สตรอเบอรรี่ มะนาว ส้ม มะม่วง ผสมกับสารที่ให้ความหวาน (sweetening agent) และสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) เช่น เจลาติน (gelatin) คาร์ราจีแนน (carrageenan) กลูโคแมนแนน (glucomannan) อาจมีการผสมสี (coloring agent) และแต่งกลิ่นรส ผลิตภัณฑ์เยลลีที่จำหน่ายในตลาดสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

          1. เยลลีขนมหวาน (dessert jelly) เป็นเยลลีที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม มีน้ำมาก ใช้ช้อนตักรับประทาน หรือใช้หลอดดูด มักรับประทานแบบแช่เย็น เป็นของหวาน เป็นอาหารว่าง หรือ หลังมื้ออาหาร อาจรับประทานกับไอศกรีม เยลลีประเภทนี้มีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดเจล ได้แก่ คาร์ราจีแนน เจลาติน ผงบุก มีการเติมน้ำตาล กรดซิตริก สีผสมอาหาร และสารปรุงแต่งกลิ่นรส (flavoring agent) ผลิตภัณฑ์มีรสหวานและรสเปรี้ยว เยลลีที่ดีต้องมีลักษณะใสและมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มแต่ไม่เหนียวจนหนืดและไม่เหลว ต้องแข็งพอที่จะคงรูปเดิมเมื่อตัดด้วยมีดก็เป็นเหลี่ยมตามรอยมีด ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่พบในท้องตลาดอาจเป็นผงเยลลีผสมสำเร็จรูปที่ผู้บริโภคนำมาผสมน้ำร้อนตามสัดส่วนแล้วแช่เย็นเพื่อให้เกิดเจล อีกรูปแบบหนึ่งคือ เยลลีที่พร้อมรับประทานบรรจุถ้วยในภาชนะที่ปิดผนึกสนิท

          2. เยลลีแห้ง หรือ กัมมี่เยลลี (gummy jelly) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน (confectionery) ที่ได้จากการนำสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) เช่น เจลาติน คาร์ราจิแนน หรือวุ้น ผสมกับสารให้ความหวาน (sweetener) เช่น น้ำตาลทราย น้ำเชื่อมกลูโคส (glucose syrup) อาจผสมส่วนผสมอื่นๆ เช่น ผลไม้ผัก ธัญชาติ สมุนไพร แต่งสีผสมอาหาร สารให้กลิ่นรส (flavoring agent) กรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ให้ความร้อนจนมีความข้นเหนียวพอเหมาะที่อุณหภูมิที่เหมาะสม หยอดใส่พิมพ์ หรือตัดเป็นชิ้นหลังจากทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลีที่มีลักษณะแห้งไม่ติดมือ มีเนื้อสัมผัสเหนียวหนึบ แล้วอาจคลุกด้วยน้ำตาลหรือแป้งบริโภคได้

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เนื้อมะม่วงสุกพันธุ์พิมเสนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และใช้ไซรัปมัลติทอล ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ แทนการใช้น้ำตาลทราย (sucrose) เนื่องจากไซรัปมัลติทอล เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีค่าพลังงานต่ำกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 0.6 เท่า และทนความร้อนได้ดี จึงสามารถนำไปใช้กับการแปรรูปอาหารด้วยความร้อนได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการลดปริมาณกะทิจากสูตรดั้งเดิมลงด้วย ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลในระหว่างกระบวนการพัฒนาสูตรนำเสนอตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย เพื่อร่วมประเมินคุณภาพและคัดเลือกสูตรที่เหมาะสม

ปัจจุบันกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลอยู่ระหว่างกระบวนการพัฒนาสูตร ร่วมกับการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อการคัดเลือกสูตรที่เหมาะสม โดยผู้รับผิดชอบโครงการและตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ทั้งนี้เมื่อได้สูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลที่เหมาะสมแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะได้ดำเนินการถ่ายทอดแก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายในลำดับต่อไป

ผลการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาล จำนวน 6 สูตร ซึ่งมีการปรับลดน้ำตาลและกะทิ ระหว่างร้อยละ 20-50 ร่วมกับการใช้ไซรัปมัลติทอล พบว่า มะม่วงกวนลดน้ำตาลที่ได้มีสีเหลืองทอง เนื้อมีมันวาวขึ้น เนื้อสัมผัสเหนียว ไม่ร่วน แต่ยังติดมือ และมีรสหวานน้อยกว่าสูตรดั้งเดิมที่ใช้น้ำตาลทรายทั้งหมด ผลการประเมินค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ในผลิตภัณฑ์ทุกสูตรมีค่าระหว่าง 0.65 - 0.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้กวน สำหรับร้อยละผลผลิต (% yield) พบว่า อยู่ระหว่างร้อยละ 43.50 - 48.50 และจากผลการประเมินโดยตัวแทนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจึงต้องทำการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14018]
30000 4
2 [14017]

กิจกรรมที่ 1 การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

          ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ณ อาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะม่วงให้มีความสม่ำเสมอและเหมือนเดิมในทุกครั้ง และเพื่อให้มีวัตถุดิบ (มะม่วง) ใช้ได้ตลอดปี โดยเป็นการให้ความรู้และลงมือปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

          1. การจัดการวัตถุดิบ เริ่มจากการคัดคุณภาพมะม่วง โดยจำเป็นต้องแยกมะม่วงออกตามพันธุ์ เพราะมะม่วงสุกแต่ละพันธุ์มีปริมาณน้ำตาลไม่เท่ากัน ดังนั้นหากไม่มีการแยกออกจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากมะม่วงมีคุณภาพไม่คงที่ โดยเฉพาะลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และรสชาติ นอกจากนั้นการจัดการวัตถุดิบยังต้องคัดผลมะม่วงที่มีบาดแผล ตำหนิ เน่า ออก ไม่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเกิดผลเสียต่อผลิตภัณฑ์และการยอมรับของผู้บริโภค

          2. การเตรียมวัตถุดิบ เนื่องจากมะม่วงเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ออกตามฤดูกาล (มกราคมเมษายน) ดังนั้นหากในอนาคตจะมีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น มะม่วงกวนพลังงานต่ำ เครื่องดื่มน้ำมะม่วงปราศจากน้ำตาล หรือเยลลีมะม่วง จึงความจำเป็นต้องมีเนื้อมะม่วงสุกไว้ใช้ตลอดทั้งปี ผลจากการสอบถามข้อมูลจากสมาชิกของกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายพบว่า ผลผลิตมะม่วงพันธุ์ที่มีตลอดทั้งปี คือ มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ แต่พันธุ์นี้นิยมบริโภคแบบดิบมากกว่าสุก และนิยมนำไปแปรรูปเป็นมะม่วงดอง หรือมะม่วงแช่อิ่ม หรือมะม่วงแช่อิ่มอบแห้ง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงที่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายต้องการพัฒนา คือ มะม่วงกวนพลังงานต่ำ เครื่องดื่มน้ำมะม่วงปราศจากน้ำตาล หรือเยลลีมะม่วง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีกระบวนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี โดยมะม่วงที่จะนำมาเตรียมในที่นี้ คือ พันธุ์พิมเสน และพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยเกณฑ์ในการเตรียมในกรณีมะม่วงพิมเสนจะสามารถใช้มะม่วงสุกเกรดทั่วไปเนื่องจากราคาไม่สูง แต่ในกรณีมะม่วงน้ำดอกไม้จะใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ตกเกรดจากการขายผลสดปกติเนื่องจากมีราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น และโดยส่วนใหญ่จะจำหน่ายแบบผลสดมากกว่าการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเตรียมวัตถุดิบ (มะม่วงสุก) คือ การแช่แข็ง (Freezer) ขั้นตอนการเตรียมมีรายละเอียดดังนี้ นำผลมะม่วงสุกมาคัดคุณภาพ เอาผลที่เน่าเสีย มีตำนิ บาดแผลออก นำไปล้างน้ำสะอาด ปอกเปลือก ฝานเอาเฉพาะส่วนเนื้อ นำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น บรรจุใส่ถุง (ชั่งให้แต่ละถุงมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม) ปิดผนึก บันทึกรายละเอียดของพันธุ์มะม่วง วัน/เดือน/ปี ที่เตรียม แล้วนำไปแช่ในตู้แช่แข็ง อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เก็บรักษาไว้สำหรับนำไปใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนต่อไป

          3. การประเมินคุณภาพของวัตถุดิบ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ วางแผนให้กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายทำการทำสอบคุณภาพของวัตถุดิบอย่างง่าย โดยการสังเกตลักษณะปรากฏของวัตถุดิบที่มีสถานะเป็นของแข็ง (เนื้อมะม่วงแช่แข็ง) ลักษณะปรากฏของเนื้อมะม่วงหลังขั้นตอนการละลายน้ำแข็ง โดยสังเกตสี เนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติ ซึ่งเป็นการทดสอบแบบง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และสามารถทำได้เอง โดยกำหนดให้มีการทดสอบทุก 1 เดือน หากพบลักษณะที่ผิดปกติให้พิจารณากำจัดวัตถุดิบถุงที่มีความผิดปกติและไม่นำไปใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

           เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่นำไปใช้ คือ

1. การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์

2. การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14017]
10000 3
2 [14016]

โครงการการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงในท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ให้แก่กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายร่วมวางแผนงานและดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ โดยในรายงานฉบับนี้จะเป็นการรายงานผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมดังนี้

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการ ลงพื้นที่ เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานจากปีงบประมาณที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) และชี้แจงกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แก่สมาชิกกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้าย ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 11 ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกจากผลการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนลดน้ำตาลและผลิตภัณฑ์เยลลีมะม่วงลดน้ำตาล เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพและลดการบริโภคน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านวังคล้ายมีผลิตภัณฑ์เดิมของกลุ่มที่มีลูกค้าประจำ คือ ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวนสูตรดั้งเดิม ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมโครงการจะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวดำเนินการในกิจกรรมที่ 4 การประเมินคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตตามหลักการ GMP กิจกรรมที่ 5 การประเมินอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 6 การผลิตอาหารตามเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร กิจกรรมที่ 7 การแสดงข้อมูลสำคัญให้มีเอกลักษณ์และการสร้างตราสินค้า กิจกรรมที่ 8 การตลาดและการวิเคราะห์ทิศทางตลาด และกิจกรรมที่ 9 การจัดทำแผนธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 03/04/2566 [14016]
10000 3
1 [13756]

นักวิจัยได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจและวางแผนร่วมกับกลุ่ม เพื่อดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 หลังได้รับการจัดสรรงบประมาณ



รายงานโดย ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป วันที่รายงาน 05/03/2566 [13756]
35000 3