2566 วิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15746]

ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้รับผิดชอบโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม  และทีม อบต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะกรรมการในกิจกรรมการลงพื้นที่ติดตาม และประเมินโครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วันที่ 22 สิงหาคม 2566   โดยมีคณะกรรมการตรวจติดตามและประเมิน 4 ท่าน คือ

1. นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้เชี่ยวชาญ จาก วว.

2. นางสาวเบญจวรรณ วงศ์คำ จาก สกสว.

3. นางสาวอัญชลี งอยผาลา จาก กปว.สป.อว.

4. นางสาววิลาวรรณ งอยผาลา จาก กปว.สป.อว.



รายงานโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง วันที่รายงาน 29/09/2566 [15746]
64500 55
3 [15028]
  • ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนผสมของสารสกัดเชือก กลุ่มเวชบำบัด เพื่อสร้างการตลาด ในกลุ่มผู้สูงอายุ สอดรับกับยุคสังคมผู้สูงวัย

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอนิทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ จึงเกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน



รายงานโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง วันที่รายงาน 13/08/2566 [15028]
110000 20
2 [14188]

โครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ

อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม

ในไตรมาสแรก คณะดำเนินการ ได้ดำเนินการ ดังนี้

 

1.การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมสมาชิกวิสาหกิจชุมชน โดยประธานวิสาหกิจ เป็นผู้สื่อสารข้อมูล โดยวิสาหกิจชุมชน ยังใหม่ต่อการดำเนินการในรูปขององค์กรธุรกิจชุมชน ซึ่งต้องมีระบบการบริหารจัดการองค์กร ระเบียบการปันผลประโยชน์ ขั้นตอนการผลิต การทำการตลาด และฐานข้อมูลลูกค้า

2.การเตรียมพร้อมพื้นที่ ผ่านเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกลไกภาคท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลเขวาไร่ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

3.การวิเคราะห์สารสกัดจากต้นเชือก เพื่อเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่น ประกอบด้วย สารสกัดต้นเชือกด้วย 70% Ethanol สารสกัดต้นเชือกด้วย 95% Ethanol โดยพบว่า

§  Total phenolic contents (TPC) เทียบเคียงกับสารมาตรฐานกรดแกลลิก พบว่าสารสกัดจากต้นเชือกมีค่าสารกลุ่มฟีนอลิกมากกว่าสารมาตรฐาน 4เท่า

§  Total flavonoid contents (TFC) เทียบเคียงกับสารมาตรฐานเควอซีติน พบว่าสารสกัดจากต้นเชือกมีค่าสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มากกว่าสารมาตรฐาน 13เท่า

§  Antioxidant activity ด้วยวิธี DPPH assay เทียบเคียงกับสารมาตรฐานกรดแอสคอบิก พบว่าสารสกัดจากต้นเชือกมีค่า IC50ดีกว่าสารมาตรฐาน

            ปัจจุบัน  คณะดำเนินการ ได้พัฒนาศักยภาพของสมาชิกกลุ่ม ให้มีความรู้และทักษะในการเก็บและเตรียมตัวอย่างเปลือกเชือก ซึ่งเป็นทรัพยากรในพื้นที่ เพื่อใช้ในการสกัดในห้องปฏิบัติการ  ซึ่งจะได้สาระสำคัญมากกว่าการต้ม โดยจะมีการพิจารณาความเข้มข้นของ  50% Ethanol  เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับการกำหนดสูตรผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย  สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร และสครับสมุนไพร  และระดมสมองในการสร้างตราผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก คือ ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhon) ต้นเชือกหรือรกฟ้า  (Terminalia alata Heyne ex Roth)  เพื่อสะท้อนเรื่องราวของพื้นที่ และนำเอาอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ มาสะท้อนความโดดเด่นของพื้นที่เขวาไร่ โดยเน้นให้คนในชุมชน สามารถสื่อสารข้อมูลบริบทของชุมชนตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชน 

 



รายงานโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง วันที่รายงาน 05/04/2566 [14188]
0 22