2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15307]

1. เข้าติดตามโครงการ แพลตฟอร์มการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI) และแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพเครือข่าย (NCB) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ่วมรับการประเมิน จำนวน 15 คน

 2. เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงาน TechnoMart 2023 ตั้งแต่วันที่ 14 - 15 สิงหาคม 2566       ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนงาน/โครงการ “การเพิ่มศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาพื้นที่” ของเครือข่าย อว.

3. ติดตามเกษตรที่ปลูกมะเขื่อเทศอินทรีย์ แลเมล่อนอินทรีย์ในโรงเรือน และให้บริการให้คำปรึกษาเรื่องการใส่ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ



รายงานโดย น.ส.โฉมสอางค์ ไชยยงค์ วันที่รายงาน 30/08/2566 [15307]
53500 15
3 [14848]

รายงานความก้าวหน้า ไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2566

โครงการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

พื้นที่ดำเนินการ     

จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย  

กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชาชน เยาวชน                          

ระยะเวลา

เดือนเมษายน – มิถุนายน 2565

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ   

42,000 บาท

ผลการดำเนินโครงการ

          1. จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์และปรับปรุงพื้นที่ UBU outlet เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้า เช่น ผักผลไม้ออร์แกนิก ผักปลอดสารพิษ  ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป อาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว

ผ้าทอมือ ผ้าพื้นเมือง ของฝากของที่ระลึก เป็นต้น

          2.  ติดตามเกษตรที่ปลูกเมล่อนอินทรีย์ในโรงเรือน และให้บริการให้คำปรึกษาเรื่องการใส่ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ



รายงานโดย น.ส.โฉมสอางค์ ไชยยงค์ วันที่รายงาน 07/07/2566 [14848]
42000 0
2 [13970]

รายงานความก้าวหน้า ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2566

โครงการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พื้นที่ดำเนินการ     

จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย  

กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชาชน เยาวชน                          

ระยะเวลา

เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ   

50,000บาท

ผลการดำเนินโครงการ

1. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนแบบมืออาชีพ” จำนวน 3 รุ่น รายละเอียดดังนี้

                   1.1 รุ่นที่ 1 วันที่ 21-22 ต.ค. 65 ณ ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วม 42 คน

                   1.2 รุ่นที่ 2 วันที่ 27-28 ตุลาคม 2565 ณ ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วม 26 คน

                   1.3 รุ่นที่ 3 วันที่ 12 – 13 พฤศจิกายน 2565 ณ ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วม 40 คน

2. บริการให้คำปรึกษา เรื่อง การสร้างโรงเรือนปลูกผักแบบกางมุ้งและยกแปลงสูง เพื่อที่จะสามารถปลูกผักจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี โดยมีพื้นที่สำหรับสร้างโรงเรือนขนาด 3X15 X3 เมตร(ก*ย*ส) และวัสดุการเกษตรสำหรับทำโรงเรือน ให้กับนายวีระวร วงศ์สุวรรณ ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านโนนแดง ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยพื้นฐานกลุ่มกำลังดำเนินการ ได้แก่ กลุ่มแปรรูปอาหารใส้กรอกหมู กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ โดย ณ แปลง เกษตรของนายนายวีระวร วงศ์สุวรรณ มีการปลูกปาล์มน้ำมัน สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปีเฉลี่ย 8,000 -10,000 บาท/เดือน มีการปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย มะพร้าว ม่อนเบอรี่ นาข้าว ผักสวนครัว เป็นต้นข้อดีของเกษตรกรกลุ่มนี้คือมีความสามัคคี และมีฐานลูกค้าที่เยอะ สินค้าไม่พอจำหน่าย มีตลาดชุมชน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานราชการในชุมชน

ปัญหาที่พบ

1) กลุ่มเกษตรกรมีกิจกรรมหลายกิจกรรม อาจมีเวลาในการดำเนินแต่ละกิจกรรมไม่มากนัก

2) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีกำลังกายในการทำงานจำกัด

คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตรวจแปลง

1) แนะนำให้เกษตรกรปรับพื้นที่สำหรับสร้างโรงเรือน ขนาด 3X15 เมตร พร้อมเตรียมระบบน้ำ

2) แนะนำให้เกษตรกรทดลองสร้างโรงเรือนจากโครงไม้ไผ่ 3X15 X3 เมตร (เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องในปี 2566)

3) ให้จัดทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักปลา สำหรับใช้ปลูกและเติมตลอดฤดูการผลิต

4) กำหนดให้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

3. บริการให้คำปรึกษา เรื่องการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน ให้กับ นางสาวณัฐนันท์ บุตรราช เกษตรกรตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ คือแปลงยางพารา พื้นที่ 2 งาน ซึ่งมีความประสงค์ที่จะปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ เพื่อสร้างการได้เสริม   โดยมีโรงเรือนขนาด 6X18 X6 เมตร(ก*ย*ส)

ปัญหาที่พบ

1) เป็นเกษตรกรมือใหม่ ยังขาดความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ฃ

2) ระบบน้ำยังไม่เพียงพอสหรับแปลงปลูก (ระดับน้ำบาดาลตื้นเขิน เพียง 25 เมตร ตาน้ำไม่สามารถผลิตน้ำได้ทันความต้องการอย่างต่อเนื่องสำหรับเครื่องสูบน้ำขนาด 3 แรงม้า มีถังพักน้ำขนาดเล็ก เพียง 100 ลิตร 2 ถัง ไม่เพียงพอสำหรับการให้น้ำตลอดทั้งแปลงในเวลาเดียวกัน)

3) ถังพักน้ำขนาดเล็ก และสูงจากระดับพื้นดิน 1.5 เมตร ไม่มีเครื่องส่งน้ำ ทำให้แรงดันไม่พอสำหรับส่งเข้าแปลงปลูกขนาด 200 ต้น ได้พร้อมกัน เกษตรต้องควบคุมการส่งด้วยตนเอง ซึ่งมีท่อเมนหลักในการส่งน้ำหยด 4 เส้น ด้วยปัญหาข้างต้น จึงรดน้ำแปลงมะเขือเทศได้ทีละ 1 เส้น (50 ต้น) ทำให้เสียเวลาในการทำงาน เกือบ 1 ชั่วโมง

4) เกษตรกรมีบ่อผิวดินขนาด 4x6 เมตร ลึก 2.5 เมตร มีน้ำเก็บไม่พอใช้ตลาดทั้งปี

5) น้ำเหมือนจะมีปัญหา เป็นน้ำกร่อย

6) ไม่มีปุ๋ยหมัก และน้ำหมักปลา สำหรับใช้ปลูกและเติมตลอดฤดูการผลิต

คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตรวจแปลง

1) เจาะน้ำบาลดาลใหม่ให้มีความลึกที่ 40 เมตร จากพื้นดิน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการใช้งานตลอดทั้งปี

2) เปลี่ยนเครื่องสูบน้ำบาดาลจากเครื่องขนาด 3 แรงม้า เป็น 1 แรงม้า หากยังต้องการใช้บ่อบาดาลอันเดิม หรือเปลี่ยนเป็นเครื่องขนาด 2 แรงม้า หากดำเนินการเจาะบาดาลใหม่เป็นลึก 40 เมตร

3) เปลี่ยนถังพักน้ำเป็น ขนาด 1,000 – 2,000 ลิตร เพื่อที่จะสามารถกักเก็บน้ำให้เพียงพอสำหรับการความต้องการใช้น้ำ

4) ใช้บ่อผิวดินเป็นที่พักน้ำแทนถังพักน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่เดิม โดยการเติมน้ำจากน้ำบาดาลใส่บ่อผิวดิน แล้วสูบน้ำจากบ่อผิวดินเข้าแปลงเกษตร

5) เพิ่มเครื่องสูบน้ำสำหรับส่งน้ำจากถังพักน้ำ/บ่อพักน้ำ เข้าโรงเรือนปลูกมะเขือเทศ 1 เครื่องขนาด 0.5 – 1 แรงม้า

6) ให้จัดทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักปลา สำหรับใช้ปลูกและเติมตลอดฤดูการผลิต

 

รายงานความก้าวหน้า ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2566

โครงการการบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พื้นที่ดำเนินการ     

จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย  

กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชาชน เยาวชน                          

ระยะเวลา

เดือนมกราคม – มีนาคม 2565

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ   

102,000 บาท

ผลการดำเนินโครงการ

          1. ร่วมจัดนิทรรศการในงานเกษตรอีสานใต้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 10-19กุมภาพันธ์ 2566 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในหัวข้อ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุม โดยมีการแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการแสดงสินค้า จำหน่ายสินค้า ที่มีการดำเนินงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCGมีผู้ประกอบการร่วมการแสดงสินค้า จำหน่ายสินค้า จำนวน 12 กลุ่ม ส่วนที่ 2 เป็นการจัดนิทรรศการการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนแบบมืออาชีพ  มีผู้เข้าร่วมเยี่ยมชมบูธทั้งสิ้น 6,863 คน

          2. ร่วมจัดนิทรรศการ การประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ในหัวข้อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนที่มีคุณภาพสูงสำหรับตลาดพรีเมี่ยมในจังหวัดอุบลราชธานี มีการจำหน่ายมะเขือเทศอินทรีย์ทานสด มีผู้เข้าร่วมเยี่ยมชมบูธทั้งสิ้น 166 คน

          3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติงาน เทคโนโลยีการผลิตเมล่อนอินทรีย์ในโรงเรือน รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2566 ณ ฟาร์มเกษตรอินทรีย์อัจฉริยะ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 51 คน

          4. ตรวจเยี่ยมเกษตรที่ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน และให้บริการให้คำปรึกษาเรื่องการใส่ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การทำหวานให้มะเขือเทศเชอรี่ การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้คุณภาพความหวานที่9 องศาบริกซ์ขึ้นไป ระหว่างวันที่ 15 – 30 มีนาคม 2566 จำนวน 7 คน คือ (1)  นายวีระวร วงศ์สุวรรณ          (2) นายอภิรักษ์ ทูลภิรมย์ (3) นายคชา บุญมา (4) นางทิพย์พร บุญมา (5) นายธนพัฒน์ สุตัญตั้งใจ                      (6) นางสาวณัฐนันท์​  บุ​ตราช​  (7) นายไพฑูรย์ วรสินา



รายงานโดย น.ส.โฉมสอางค์ ไชยยงค์ วันที่รายงาน 30/03/2566 [13970]
152000 7188