2566 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15380]

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน จำนวน 6460 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือน สิงหาคม 15000 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนกันยายน 15000 บาท



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 05/09/2566 [15380]
36460 0
3 [15220]

วันที่ 16-18 สิงหาคม คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยยรภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566  วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG 

ครั้งนี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆมากมาย อาทิ กิจกรรมการทำเทียนหอมสมุนไพร การทำยาดม ยาหม่องสมุนไพร การทำลูกประคบสมุนไพร แจกแผ่นพับ โบรชัวร์ความรู้เทคโนโลยีต่างๆ  และรวมถึงการจัดกิจกรรมชั้นปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ที่มีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้ทดลองได้สัมผัสความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเอง



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 21/08/2566 [15220]
4000 125
3 [15212]

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว.เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วย ววน. ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี และนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS)  ประจำปี 2566 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15212]
8540 3
3 [15211]

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รับประสานการติดต่อทางโทรศัพท์จากเทศบาลตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ให้ลงไปถ่ายทอดเทคโนโลยี การทำลูกประคบสมุนไพร และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อจะได้นำไปต่อยอดในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตอีกด้วย



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15211]
7000 50
3 [15210]

วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและองค์ความรู้ กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร ชุมชนบ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตามโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ร่วมกับฝ่ายบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาฝึกการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การสกัดน้ำมันสมุนไพรจากไพลและขมิ้น และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาหม่อง และยาดมสมุนไพร
 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15210]
3000 15
3 [15209]

วันที่ 14 กรกฏาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้รับการติดต่อจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ให้ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและองค์ความรู้ โครงการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลดอนชมพู ฝึกการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มสตรี ตำบลดอนชมดู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 22 คน



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15209]
6500 22
3 [15208]

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จาก โรงเรียนบ้านพันดุง ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา  ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงาน UBI ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์  ลงพื้นที่ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ เพื่อต่อยอดจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาธุรกิจในอนาคต โดยในการจัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ในครั้งนี้ โดยผู้อำนวยการ คณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านพันดุง ตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ได้ให้ทีมผู้พัฒนาอบรมให้ความรู้ ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาช่องทางการตลาดและอื่นๆที่สามารถผลักดันสินค้าจากเกลือสินเธาว์ที่เป็นวัตถุดิบหลักก่อให้เกิดรายได้ทั้งโรงเรียนและชุมชน



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15208]
3000 40
3 [15207]

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่บริการชุมชน ณ อบต.หนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ร้องขอรับบริการ โดยครั้งนี้เป็นการทำโลชั่นโปตีนไหมและยาหม่องสมุนไพร  โดยผู้เข้าอบรมเป็นผู้สูงอายุ จะได้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสามารถทำผลิตภัณฑ์เป็นรายได้เสริม



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 18/08/2566 [15207]
6000 30
3 [15007]

วันที่ 12 กรกรฏาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยีลงพื้นที่ให้บริการการทำแชมพูจากสมุนไพรอันอัญ ณ บ้านดอนสะแบง ตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ร้องขอเข้ามา เพื่อชุมชนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการทำแชมพูใช้ในครัวเรือนและสามารถสร้างรายได้เพื่อเป็นอาชีพเสริม เป็นผลิตภัณฑ์ของทางชุมชนไว้จำหน่ายอีกด้วย

 

ค่าใช้จ่ายในการให้บริการการทำผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพร 5500 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 15000 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีเดือนกรกฏาคม 2566 จำนวน 15000



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 10/08/2566 [15007]
35500 21
3 [14913]

มื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยนายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นักวิชาการการศึกษา และผู้ประกอบการกลุ่มแปรรูปสมุนไพรคชนารี อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
🔎รับการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (นครราชสีมา) โดยมีเครือข่ายคลินิกเข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงาน ดังนี้
✏️1.คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
✏️2. คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
✏️3. คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 24/07/2566 [14913]
0 0
3 [14912]

 

วันที่ 5 กรกฏาคม 2566 สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) นำโดยน.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สป.อว. ดร. วัฒนจักร พุ่มวิเศษ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สป.อว. ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง น.ส.ศรัญญา ทองอุ่น หัวหน้าหน่วยประสานงานเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) นางสาวเพรชรินทร์ นามประสพ หัวหน้าหน่วยพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม IDE และนายวิทวัส เถาจำปา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
เข้าพบผู้บริหารและหารือแนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผศ.ดร.พิเศษ ตู้กลาง คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร รองคณะบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.วราวุธ ธนะมูล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ดร.พวงพรภัสสร์ วิริยะ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นักวิชาการศึกษา นายวินัฐ จิตรเกาะ นักวิทยาศาสตร์ นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ และนายสุธีร์ เงิมสันเทียะ เจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ เข้าร่วมประชุมหารือในครั้งนี้เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 24/07/2566 [14912]
0 15
3 [14859]

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จังหวัดนครราชสีมา) นำโดยน.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สป.อว. ดร. วัฒนจักร พุ่มวิเศษ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สป.อว. ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พร้อมด้วยคณะ  เข้าพบผู้บริหารและหารือแนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผศ.ดร.พิเศษ ตู้กลาง คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร รองคณะบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงาน



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 10/07/2566 [14859]
0 0
3 [14845]

ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ผู้บริหารศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ และงานคลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามอบหมายให้ นำผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์คั่วหมี่โคราช ตรา ตังค์เติมเต็ม ทีเข้าร่วมในการดำเนินงานในโครงการการศึกษาเพื่อยกระดับความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเคลื่อย้ายบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้ความร่วมมือของอุทยาวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง Pre - Talent ในการยกระดับผลิตภัณฑ์และธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการได้ถ่ายทอดสูตรการผลิตหมี่กรอบให้กับอาจารย์ผุ้เชี่ยวชาญ ในการนำโจทย์ที่ได้นำไปปรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ ในการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ผุ้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์คั่วหมี่โคราชในครั้งนี้ 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 06/07/2566 [14845]
0 0
3 [14844]

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 บุคลากรศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจและงานทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมด้วยงานคลินิกเทคโนโลยี โดย ยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการผลิตผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา เพื่อเก็บข้อมูลการผลิตผ้าไหมคึมมะอุบัวลายและชี้แจงการกรอกแบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติงานให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย ที่มีความประสงค์ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยหรือตรา GI  



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 06/07/2566 [14844]
0 0
3 [14568]

วันที่ 8 มิถุนายน 2566
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ออกให้บริการประชาชนตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน นำโดย นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว ณ โรงเรียนบ้านหนองสะแก หมู่ที่ 6 ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มอบหมายให้ นายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นายจตุรงค์ เชือนไธสง และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ออกให้บริการดังกล่าว
สำหรับภายในงานได้มีหน่วยงานราชการ มาตั้งบูทให้คำปรึกษา การบริการต่างๆ การสอนอาชีพให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้ามารับบริการจำนวน 59 คน โดยคลินิกเทคโนโลยี ได้นำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการคลินิกเทคโนโลยี แผ่นพับงานบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง แผ่นพับสบู่จากกาวไหมและโลชั่นบำรุงผิวโปรตีนไหมไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมกับให้คำปรึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ และแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ยาหม่อง ยาดมสมุนไพรให้แก่ประชาชน
ผลที่ได้รับจากการไปราชการในครั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งให้การบริการชุมชน มีความยินดีที่จะให้ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและในชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
  

 

ค่าใช้จ่ายออกให้บริการประชาชนตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ 5000 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ สำนักงาน 5000 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ เดือนพฤษภาคม  15000 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ เดือนมิถุนายน 15000 บาท



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14568]
40000 59
3 [14567]

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่ตามที่ให้ความรู้กลุ่มชุมชนตามที่ผู้ขอรับบริการได้ร้องขอ ให้ลงไปให้ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปสมุนไพร การสกัดน้ำมันสมุนไพร การทำยาหม่องสมุนไพร เพื่อนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กลุ่มสมาชิกของชุมชนต่อไป



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14567]
11500 30
3 [14565]

ลงพื้นที่จังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.นครรารชสีมา งบประมาณใช้จ่ายในการ 4,000 บาท

 

ให้คำปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรคชนารี พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามที่กลุ่มขอรับบริการ จำนวน 7,000 บาท

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ เดือนเมษายน 2566 จำนวน 15,000 บาท

 


 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 03/07/2566 [14565]
26000 0
3 [14382]

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมด้วยงานคลินิกเทคโนโลยี นำโดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา ถินสูงเนิน นายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ นายสุธีร์ เงิมสันเทียะ และนางสาวทรัพย์มณี บุญญโก เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแชร์ประสบการณ์ในกิจกรรมสร้างศักยภาพผู้บริหารเพื่อการดำเนินโครงการระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STDB-1) และกิจกรรมสร้างศักยภาพผู้ปฏิบัติงานเพื่อการดำเนินโครงการระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STDB-2) ระหว่างวันที่ 25 - 26 เมษายน 2566 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) โดยมีกิจกรรมดังนี้
.
 ✏การแชร์ประสบการณ์การใช้งานระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (STDB) จาก มหาวิทยาลัยเครือข่ายหลักของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย อาจารย์ ดร.วรรณภา น่าบูรณะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
.
✏การบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (STDB) ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ” โดย รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
✏การบรรยายในหัวข้อ “การบูรณาการฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (STDB) และประโยชน์ของโครงการระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ National Science and Technology Information System (NSTIS) ที่มหาวิทยาลัยจะได้รับ” โดย ดร.วัฒนจักร พุ่มวิเศษ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชํานาญการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
✏การระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนและแนวทางในการดำเนินงานโครงการระบบฐานข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดย ผศ.ดร. ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
📢โดยกิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแชร์ประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรค เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ รวมถึงเสนอแนวทางการปฏิบัติงานระบบฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (STDB) ของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 09/05/2566 [14382]
0 8
2 [14055]

วันที่ 3 เมษายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย นายสุธีร์ เงิมสันเทียะ เจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา รอบที่ 2 ในเรื่องของส่วนผสม วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำการนำวัตถุดิบมาทดลองในขั้นตอนต่อไป เพื่อที่จะได้รู้ปัญหาและแก้ไขกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือน มีนาคม 2566  จำนวน 15,000 บาท

ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์/เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์/แผ่นพับประชาสัมพันธ์ โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 16,000 บาท

รวม 31,000 บาท



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 04/04/2566 [14055]
31000 3
2 [13881]

วันที่ 22 มีนาคม

งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยดร.ชุติมา เปลื้องกลาง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี  มอบหมายให้ นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ ถ่ายทำคลิปหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
🎥🎬การถ่ายคลิปเพื่อประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การสกัดน้ำมันสมุนไพร การทำผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร และน้ำมันสมุนไพร สูตรเย็น สูตรร้อน โดยได้รับความอนุเคราะห์บุคลากรและอุปกรณ์ ในการถ่ายทำ จากสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


🎯✏เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการวิจัยการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา กิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อฟื้นฟูสุขภาพตามแนวทางมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว ผ่านการตลาดออนไลน์ 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 23/03/2566 [13881]
0 0
2 [13875]

วันที่ 20 มีนาคม 2566


ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึก ณ สถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่ายร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
โดยมีคุณณัฐาภัณฑ์ เกียรติภูมิกุลจิริ และคุณวัฒนา เพิ่มวัฒนชัย ผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี ร่วมให้ข้อมูลและพาชมวิธีการ กระบวน ขั้นตอนต่างๆ ในการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อการแปรรูปสมุนไพรในแต่ละชนิด
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะให้ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใน 3 ประเด็น


1. การยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์
2. การยื่นขอเลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์น้ำมันถอนพิษและครีมน้ำนมข้าวแตงกวา
3. การแก้ปัญหากลิ่นที่แรงของผลิตภัณฑ์น้ำมันถอนพิษ


ทั้งนี้ยังให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ เช่น กระบวนการหมัก การสกัดน้ำมันแต่ละชนิด แนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมาขึ้น
#ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
#คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/03/2566 [13875]
0 2
1 [13760]

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ✏

🧪🧫✍งานคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย นายสุธีร์ เงิมสันเทียะ เจ้าหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
👩🏼‍🤝‍👩🏼☘🌿ผู้ประกอบการจากวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยคุณณัฐาภัณฑ์ เกียรติภูมิกุลจิริ ประธานกลุ่ม และคุณวัฒนา เพิ่มวัฒนชัย ที่ปรึกษากลุ่ม

✏✏✏โดยขอรับคำปรึกษาจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย


🍃1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันถอนพิษ คชนารี ประเด็นคือ 1. แนวทางการแก้ปัญหากลิ่นของผลิตภัณฑ์ 2.การยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 3. ฉลากและโลโก้ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์
🧫2. การตรวจสารปรอทในผลิตภัณฑ์โลชั่นโปรตีนไหม ประเด็นคือ 1. ตรวจพบสารปรอทปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ 2. ข้อดีข้อเสียของบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิด 3. การควบคุมคุณภาพการผลิต 4. การพัฒนาและผลิต 5.แนะนำแหล่งซื้อบรรจุภัณฑ์ 6. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์

✍👩‍🔬📸ทั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และยังได้เป็นตัวกลางประสานไปยังอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ได้หารือในเรื่องการลงพื้นที่ดูกลุ่มวิสาหกิจในวันที่ 20 มีนาคม 2566 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป🌿☘✍💪🙏 

ภาพประกอบกิจกรรม คลิกที่ลิ้งค์

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0VmJBtt3K2GiUtGvftzSjhXUPwkfzXzWHcARJW5sj6N9rd1XK8xgvWVhLEvzftR6el&id=100064644404415



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 07/03/2566 [13760]
0 2
1 [13746]

      วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ออกให้บริการประชาชน
ตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “การเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน นำโดย นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว ณ ลานไทรงามท่าช้าง หมู่ที่ 12 ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มอบหมายให้ นายยุทธนา ตอสกุล นายชัยยุทธ ปิยวรนนท์ และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ออกให้บริการดังกล่าว
      สำหรับภายในงานได้มีหน่วยงานราชการ มาตั้งบูทให้คำปรึกษา การบริการต่างๆ การสอนอาชีพให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้ามารับบริการจำนวนมาก โดยคลินิกเทคโนโลยี ได้นำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการคลินิกเทคโนโลยี แผ่นพับงานบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง แผ่นพับสบู่จากกาวไหมและโลชั่นบำรุงผิวโปรตีนไหมไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมกับให้คำปรึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี จำนวน 2 ที่มาขอรับบริการคำปรึกษาที่บูทคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
      ผลที่ได้รับจากการไปราชการในครั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งให้การบริการชุมชน พร้อมแจกจ่ายน้ำยาล้างจาน ที่ผลิตโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้กับประชาชนที่มาลงทะเบียนและรับคำปรึกษา จำนวน 59 คน คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีความยินดีที่จะให้ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและใน ชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
 

คลิกที่ลิ้งเพื่อดูภาพประกอบกิจกรรม

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid025jZ7u31rYCLjZ8eFniVYBKmhNmLL5NW2MEaEnsDx1cHYojDraZPBMyRGDquzeJqTl&id=100064644404415

ค่าใช้จ่าย ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 15000 บาทถ้วน



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 03/03/2566 [13746]
15000 59
1 [13683]

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการและแนวทางขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 (ผ่านระบบออนไลน์) ครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำโดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พร้อมด้วยนายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
สำหรับหัวข้อการบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาโครงการสู่ความยั่งยืน” โดย ดร.อุทัย เจริญวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ/และรองประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการการส่งเสริม วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง “ระบบคลินิกเทคโนโลยีออนไลน์ CMO” โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เรื่อง “แนวทางการประเมินโครงการภายใต้ One Route Cooperative Model : CIPPiest Model และ SROI” โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อด้วยการ Workshop เรื่อง “การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้าน ววน. สู่การพัฒนาภูมิภาค ประจำปี 2566-2570” โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม
จากนั้นเป็นการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการประเด็นการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปิดการประชุม

ภาพประกอบรายงาน

 https://www.facebook.com/photo/?fbid=573472508150891&set=a.573472544817554

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเดือนมกราคม 2566 จำนวน 15000 บาทถ้วน



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/02/2566 [13683]
15000 0
1 [13684]

งานคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 😊
ลงพื้นที่หารือการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้า ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
😊 พร้อมกันนี้ยังได้หารือประเด็นโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาดใหญ่และชุมชน ที่จะดำเนินการในปี 2566 นี้

ภาพและรายละเอียดข่าวตามลิ้งค์ด้านล่าง

https://www.facebook.com/photo?fbid=548392733992202&set=a.459834386181371



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/02/2566 [13684]
0 30