2566 โครงการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปี พ.ศ. 2566    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15456]

กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่แบบบูรณาการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดนครพนม”
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 9/2566 ประจำเดือน สิงหาคม 2566

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม มอบหมายให้งานคลินิกเทคโนโลยีและงานบริการวิชาการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อออกให้บริการคำปรึกษาข้อมูล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านดง หมู่ที่ 9 บ้านดง ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมตามหนังสือเชิญจากกลุ่มงานปกครองจังหวัดนครพนม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กรุณาให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานดังกล่าว เพื่อนำบริการของรัฐทุกประเภทเข้าไปให้บริการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาขนในพื้นที่ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด อำเภอ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเครือข่ายงานคลินิกเทคโนโลยีและงานบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม นำองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจที่มาร่วมงาน อาทิ สูตรการผลิตอาหารโคต้นทุนต่ำไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์, การผลิตเห็ดเศรษฐกิจแบบครบวงจร และการผลิตอาหารหนูนาต้นทุนต่ำและการแปรรูปหนูนาเพื่อการจำหน่าย พร้อมประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ด้านข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีทั่วประเทศที่พร้อมจะนำเอาองค์ความรู้ถ่ายทอดแก่ผู้ที่ต้องการรับบริการ เป็นต้น
       ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พบปะประชาชน ชี้แจง แนะนำ สอบถามประชาชนในพื้นที่ถึงปัญหาความเดือดร้อน และสรุปความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พร้อมแนะนำแนวทาให้หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือพร้อมทั้งเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
       ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมพร้อมคณะหน่วยงานราชการติดตาม เยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เดินตรวจเยี่ยมนิทัศการทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมออกให้บริการในกิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ในครั้งนี้ 



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 13/09/2566 [15456]
1520 23
3 [15244]
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 
ในวันที่ 14 -15 สิงหาคม พ.ศ. 2566ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนธบุรี
จัดโดย : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่จัดกิจกรรม : ในวันที่ 14–15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 
    1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียนการดำเนินงานเครือชายคลินิกเทคโนโลยี สู่การหัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค" ประจำปี 2566 โดย คลินิกเทคโนโลยี 74 แห่ง นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการบรึการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) ประจำปี 2566
    2. พิธีมอบประกาศเกียรติคุณ อว.ส่วนหน้า 2 จังหวัด ภายใต้โครงการ "การจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วย ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570
    3. พิธีมอบโล่และ โครงการบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และโครงการบ่มเพาะธุรกิจชุมชน ดีเด่น
    4. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการจัดทำแผนการดำเนินโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด โดย อว. ส่วนหน้า 20 จังหวัด ภายใต้โครงการ "การจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วย ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570
 
มหาวิทยาลัยนครพนม มีการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2 โครงการ ดังนี้
    1. โครงการ บริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม 
ประจำปีงบประมาณ 2566
    2. โครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกอ๊อด (ลูกฮวก) และกบด้วย วทน. เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนสู่เชิงพานิชย์อย่างครบวงจร


รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 23/08/2566 [15244]
7384 2
3 [15182]

ลิงค์รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี พ.ศ. 2566

https://drive.google.com/file/d/1RXU__GZ-hHpuXkEEeOKZvt8PJ13S43sJ/view?usp=drive_link

https://drive.google.com/file/d/18L5odyIajbo4aEBpgfBtxutaBLGJsN0L/view?usp=drive_link



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 14/08/2566 [15182]
0 0
3 [15181]

    วันที่ 9 ส.ค. 66 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี และแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน ได้แก่ นายเฉลิมพงษ์ กล้าขยัน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นางสาวนิศากร ยิ่งขจร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และได้รับเกียรติจากคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย นายเมธี ลิมนิยกุล นายวิทยา สุวรรณสุข นางสาวเดือนเพ็ญ อาจไธสง และนางสาววิลาวรรณ งอยผาลา

     ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยนครพนม มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ“บริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพน” โดย นางสาวจริทร โคตพรม รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผู้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน และโครงการ“การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปลรูปจากลูกอ๊อด (ลูกฮวก) และกบด้วย วทน. เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนสู่เชิงพานิชย์อย่างครบวงจร”โดยนางภัทราวดี วงษ์วาศ นักวิจัย สังกัด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผู้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกบนานครพนม บ้านดอนแดง ต.ธาตุพนมเหนือ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยนายสันติ สุนีย์ ประธานกลุ่มฯ พร้อมด้วยสมาชิกเข้าร่วมในการรายงานผลการดำเนินงานในครั้งนี้

https://www.facebook.com/rdi.npu.ac.th/posts/pfbid0eAuC6yWPaGW6CeVYmWLAWJy9yim7qryptSTYTLZ2tmiC93AmkViDUMkDSH1e9yYhl?__cft__[0]=AZV2P2rGncYrBPyO30dm0kxKPHv3eGCpmCyPU7pQCRWxgLWaKLsa5Yu-NLH7nExxTAyVa18HWel-c4vl-JzGN4jTPIDLLJ20lq9Jj1kjG4ntjKoRfZn6Sd7EMYc22XWG5wHGsj12wEFwiBGnLJSKeU1w&__tn__=%2CO%2CP-R



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 14/08/2566 [15181]
0 18
3 [15176]

   

ค่าใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ประจำปี พ.ศ.2566

 ลำดับ                                รายการ                                                                   ค่าใช้จ่าย 
  1            ร่วมประชุมเครือข่าย อว.ส่วนหน้า ที่จังหวัดสกลนคร                                  960

  2            โครงการจังหวัดเคลื่อนที่ อ.ปลาปาก                                                       1040
  3            โครงการจังหวัดเคลื่อนที่อ.นาแกนาแก                                                   1360
  4            จ้างเหมาเจ้าหน้าที่ 12 เดือน                                                                 180000
  5            ลงพื้นที่กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหนูนา อ.ปลาปาก

                 และกลุ่มสับปะรด อ.ท่าอุเทนและอ.โพนสวรรค์                                        29690

  6            วัสดุสิ้นเปลืองสำนักงาน                                                                         2000
  7             ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจกบนานครพนม อ.ธาตุพนมเหนือ                              1200
                                                                                                           รวม          216250

/online/cmo/filemanager/1430/files/ข้อมูลค่าเฉลี่ยผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี.xls

  

 



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 14/08/2566 [15176]
210890 0
3 [14959]

บูรณาการร่วมกับโครงการขับเคลื่อนเศรฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ในการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงหนูนา (หนูพุก) ตำบลโคกสูง อำเภอปลาปากจังหวัดนครพนม

โดยมีการผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 

     1.  ผลิตภัณฑ์แปรรูปหนูนาได้แก่ หนูนาสด และ หนูนาย่าง ซึ่งผลิตจากหนูนาที่ผ่านการเลี้ยงด้วยอาหารหนูคุณภาพสูง พร้อมทั้งพิถีพิถัน ในขั้นตอนการ
ชำ แหละเพื่อให้ได้หนูนาที่ สด สะอาดและไม่มีกลิ่นสาบ
     2.  หนูนาพ่อแม่พันธุ์คุณภาพสูง เลี้ยงในฟาร์มที่มีระบบการจัดการที่ดี ทำ ให้หนูนาพ่อแม่พันธุ์สุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคจำ หน่ายพร้อมให้คำ แนะนำ ในการ
เลี้ยงหนูนาแบบไม่กี๊ก
     3. อาหารหนูนา ซึ่งได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ ซึ่งส่งผลให้อาหารหนูนามีคุณค่าทางโภชนะที่เหมาะสมต่อหนูนา มีโปรตีนไม่ต่ำ กว่า
ร้อยละ 18 ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหนูนา
 


รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 07/08/2566 [14959]
2000 30
3 [14958]

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กำหนดจัดการประชุมหารือ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเลี้ยงโค สนับสนุนการพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ เพื่อหารือ
แนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ผู้ประกอบการสหกรณ์ และรับฟังประเด็นปัญหาความต้องการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อผลักดันแผนงาน/โครงการ สู่การพัฒนาพื้นที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร

                โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม ในนามของ อว.ส่วนหน้า จังหวัดนครพนม ได้มอบหมายให้ นายทนงศักดิ์ ธาตุชัย เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมหารือในครั้งนี้ ซึ่งมีประเด็นการประชุมหารือ ได้แก่

        1. การนำเสนอเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเลี้ยงโค (แอปพลิเคชันเซียน Zyan Beef)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง และคณะมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้อธิบายการนำแอปพลิเคชันเซียนเข้าไปช่วยในการบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ของเกษตรกร ใช้ได้ตั้งแต่ฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ ซึ่งแอปพลิเคชันเซียนสามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของฟาร์มและสัตวแพทย์ประจำฟาร์ม รวมไปถึงผู้ที่จะซื้อ-ขาย สัตว์

                   1.1 แอปพลิเคชัน Zyan Beef สำหรับบริหารจัดการฟาร์มโคเนื้อ และการแจ้งเตือนกิจกรรมภายในฟาร์ม สำหรับการใช้งานของเกษตรกรเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มโคเนื้อสามารถ
ใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม โดยใช้เว็บเพจ beef.zyanwoa.com ซึ่งทำให้เกษตรกรใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ แอปพลิเคชันนี้ทำให้ให้เกษตรกรได้ให้ความสำคัญต่อการบันทึกช้อมูลด้วยตัวเอง การบันทึกข้อมูลที่สำคัญได้แก่ พิกัดฟาร์ม บันทึกพันธุ์ประวัติโค ข้อมูลการผสมพันธุ์ การคลอด การตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายสัตว์ การตรวจรอบการเป็นสัดและการผสมเทียม การตรวจการตั้งท้องสัตว์ โดยผู้ใช้บริการ
จะได้รับประโยชน์ ดังนี้

1) การแสดงพิกัดฟาร์มและฟาร์มใกล้เคียง

2) เมนูครอบคลุมการบริหารจัดการฟาร์มเนื้อ โคนม

3) กราฟแสดงจำนวนโค เช่น โคสาว โคคลอด โครอคลอด โคหลังคลอด ลูกโค โคพ่อพันธุ์ ได้อย่างเป็นระเบียบ

4) ค้นหาโคภายในฟาร์มได้อย่างง่าย

5) แสดงรายละเอียดโคเป็นหมวดหมู่

6) แสดงรายละเอียดโคแต่ละตัวได้อย่างแม่นยำ

7 เมนูจัดการประวัติโคพร้อมแสดงประวัติอย่างละเอียต

8) สร้าง OR Code ของโคแต่ละตัวพร้อมความสามารถในการแชร์สู่สื่อสังคมออนไลน์ และยังสามารถดาวน์โหลดประวัติโค

9) ปฏิทินการแจ้งเตือนในแต่ละวันพร้อมความสามารถการเตือนผ่านไลน์บอท (Line bot "ZyanWoa.com)

               ระบบซอฟต์แวร์เซียนวัว (Zyanwoa - zyanwoa.com) เป็นระบบหลักในการสร้างระบบ
 Big Data ในกิจการปศุสัตว์ เป็นระบบที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการใช้งานจริง มีผู้ลงทะเบียนใช้งานทั่วประเทศสำหรับโคนม ประมาณ 9,500 ฟาร์ม และสำหรับโคเนื้อ ประมาณ 8,000 ฟาร์ม (ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2566) มีการวางแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยบริษัท ชินเทลลิเจนท์ จำกัด ระบบซอฟต์แวร์เซียนวัวทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของฟาร์ม ประกอบด้วยระบบซอฟต์แวร์หลัก 4 ระบบ 1) เว็บแอป
พลิเคชัน Zyan Beef สำหรับบริหารจัดการฟาร์มโคเนื้อและการแจ้งเตือนกิจกรรมภายในฟาร์ม 2) ระบบ Zyan Coop (Bee!) สำหรับจัดการส่งเสริมสมาชิกในเครือข่ายและตรวจสอบสถิติต่างๆ ของฟาร์มและสหกรณ์โคเนื้อ การรวบรวมโคเพื่อส่งขายไปยังตลาดต่างๆ 3) เว็บแอปพลิเคชัน Zyan Semen สำหรับบันทึกโคพ่อพันธุ์ การรีดน้ำเชื้อ และควบคุมการกระจายน้ำเชื้อโคสายพันธุ์ต่าง ๆ4) เว็บแฮปพลิเคชัน Zyan MAX สำหรับโรงฆ่าสัตว์ โรงตัดแต่งเนื้อสัตว์ การรับโคจากเกษตรกรและสหกรณ์ รายงานคุณภาพซากและราคาซาก การแช่เย็น การคัดเกรดและการตัดแต่ง รวมทั้งระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และการพัฒนาคุณภาพร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อ 

             2. ผู้เลี้ยงโคเนื้อผู้ประกอบการและสหกรณ์ในพื้นที่ ผู้บริหาร อว. ส่วนหน้า มหาวิทยาลัย
ในพื้นที่ กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ผู้แทนสหกรณ์โพนยางคำจังหวัดสกลนคร ผู้แทนสหกรณ์หนองสูงจังหวัดมุกดาหาร ร่วมกันหารือแนวทางการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการผลิตสัตว์
รวมไปถึงการจำหน่าย ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการในพื้นที่คือการหาโคเข้าขุนไม่ได้ เนื่องจากผู้ซื้อกับผู้ขายไม่มีช่องทางการติดต่อ ของซึ่งคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีแนวทางที่จะเป็นผู้ประสานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโคให้แก่เกษตรกรในพื้นที่



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 07/08/2566 [14958]
960 1
3 [14943]

   บูรณาการในการดำเนินโครงการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัดนครพนม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรได้มาตรฐานที่สำคัญของจังหวัดนครพนมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี กิจกรรมหลักพัฒนาเศรษฐกิจ BCG
(Bio Circular-Green Economy) ด้วยฐานการผลิตสับปะรด (พลังงานชีวมวล วัสดุอินทรีย์ อาหารฟังก์ชัน)

เพื่อพัฒนากลุ่มแปลงใหญ่ผู้ปลูกสับปะรด ต.โนนตาล อ.ท่าอุเทน และต.นาใน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม เช่น การยืดอายุสับปะรดด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสับปะรด



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 06/08/2566 [14943]
0 100
3 [14942]
   ร่วมนำผลงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง ร่วมจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการภายในงานประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ระดับชาติ ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรนครพนม นำผลงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง ร่วมจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการภายในงานประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ระดับชาติ ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม ในนามของ อว.ส่วนหน้าจังหวัดนครพนมเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีผลงานที่นำมาจัดแสดงจำนวน 3 ผลงาน ประกอบด้วย
   1) โครงการ แร่ธาตุและอาหารอัดก้อนคุณภาพสูงที่มีสารโพลีฟีนอลเป็นองค์ประกอบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผู้รับผิดโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาจ เภสัชชา สังกัด สาขาวิขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม โดยได้มีการนำแร่ธาตุอัดก้อน และส่วนประกอบ
ของการทำแร่ธาตุอัดก้อน แหล่งโปรตีน แหล่งวิตามิน และแหล่งพลังงาน สำหรับโค ร่วมจัดแสดงผลงาน
   2) โครงการ เพาะเลี้ยงกบในบ่อดินแบบธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกบและลูกอ๊อด ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทราวดี วงษ์วาศ สังกัด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
โดยมีการนำหมกลูกอ๊อด (หมกฮ๊วก) ที่พัฒนาขึ้นให้สามารถมีลักษระด้านกลิ่น สี เนื้อสัมผัส รสชาติ
แบบดั้งเดิม และสามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ ยาวนาน 3-6 เดือน
   3) โครงการ การศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพัชญทัฬห์ กิณเรศ สังกัด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม โดยได้นำองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชนเมือง และการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารไก่ไข่ ร่วมกับฟาร์มเอกชนสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามที่อยู่ลิงค์ดังนี้
https://www.facebook.com/rdi.npu.ac.th/posts/pfbid02gCzGWi6FWqEhdbTk87QzCTHv6RnEuUDapXcS834VgAnAbHrJXK8jd1mVMhwTcxEpl
 


รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 06/08/2566 [14942]
0 2
3 [14941]

กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่แบบบูรณาการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดนครพนม” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาเลียง หมู่ที่ 1 บ้านนาเลียง ตำบลนาเลียง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนมและ โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม หมู่ที่ 2 บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

งานบริการวิชาการและงานคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจเช่น การผลิตอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิตและการแปรรูป การผลิตเห็ดเศรษฐกิจแบบครบวงจร



รายงานโดย นายธีรพล คำขึ้น วันที่รายงาน 06/08/2566 [14941]
2400 52