2566 โครงการการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15420]

วันที่  26 สิงหาคม 2566  คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการบูรณาการเพื่อเพิ่มอาชีพให้แก่ชุมชน โดยมีกำหนดจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเรื่อง หลักสูตรกระบวนการผลิตไข่เค็ม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง วิทยากรโดย อาจารย์วัชรี เทพโยธิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง  โทร : 081-4723916  E-Mail : wichai_swu4@yaoo.com

1. เพราะเหตุใดถึงต้องไปให้ความรู้ (ปัญหาเทคโนโลยีที่เข้ามาของรับ)

ทางกลุ่มมีความประสงค์พัฒนาและต่อยอดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มมี คือ สาโท และไข่เป็ด ให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความงหลากหลายและได้รูปแบบใหม่ๆ

2. กระบวนการให้คำปรึกษา

          ได้ลงไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่ม ด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติการการผลิตไข่เค็มแบบพอกโดยมีการใช้ผงดินสอพองและใบเตยเป็นส่วนผสมในการพอก ซึ่งทำให้ได้กลิ่นของใบเตย ทำให้กลุ่มมีแนวคิดและสามารถทำลองผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนก่อน หากเหลือจากการบริโภค ทำให้สามารถนำออกมาจำหน่ายได้ในอนาคต

3. ผลการให้คำปรึกษา

จากการประเมินผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กระบวนการผลิตสาโทและไข่เค็มแบบพอก” พบว่า ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรวม จำนวน 9 คน มี ให้ระดับความพึงพอใจในการอบรมด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.2-4.6 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด ส่วนความสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.44 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากถึงมากที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 2 จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมประทับใจ คือ การได้รับการถ่ายถอดองค์ความรู้จากวิทยากรได้อย่างดีเยี่ยม เนื้อหาการอบรมเข้าใจง่ายและสามารถนำไปประกอบอาชีพในครัวเรือนหรือพัฒนาเพื่อประกอบเป็นวิสาหกิจชุมชนได้ การอบรมในครั้งนี้ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมคิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับการอบรม

ค่าใช้จ่าย

1. ค่าวัสดุจัดกิจกรรมอบรม 3000 บาท

2. ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกฯ ดำเนินงานเดือน กันยายน 2566 15000 บาท



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 12/09/2566 [15420]
18000 9
4 [15424]

ไฟล์ผลการดำเนินงาน 2566

/online/cmo/filemanager/95/files/RMUTL LAMPANG 2566(1).xlsx



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 12/09/2566 [15424]
0 0
4 [15409]

เข้าร่วมจัดนิทรรศการนำผลงานจัดแสดงในงาน Open House (เปิดบ้านราชมงคล) 

               วันที่ 7 กันยายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมจัดนิทรรศการ งาน Open House (เปิดบ้านราชมงคล) โดยคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำผลงาน การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT) ที่ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้ไปเผยแพร่ให้กับชุมชน ไปจัดแสดงให้ผู้ที่เข้าร่วมงาน นักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 11/09/2566 [15409]
2000 0
4 [15316]

ลงพื้นที่หาโจทย์ และวางแผนงาน เพื่อของบประมาณสนับสนุนปี 2567 ในแฟตฟอร์ม BCE เพิ้่อพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และหมู่บ้านที่เกิดปัญหา จำนวน 2 ครั้ง



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 31/08/2566 [15316]
6600 12
4 [15317]

เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายอว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566

               คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง  เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายอว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนงาน/โครงการ “การเพิ่มศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาพื้นที่” ของเครือข่าย อว.พร้อมรับประกาศเกียรติคุณ คลินิกเทคโนโลยีทีมีผลงานดีเด่น แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) ปี 2564 และ 2565



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 31/08/2566 [15317]
8900 0
3 [15246]

เข้าร่วมจัดทรรศการผลงานมหกรรมสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมกับงานวิจัยและบริการวิชาการ  กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง นำผลงานจัดนิทรรศการ เรื่อง การเลี้ยงหนอน BSF (1.กำจัดขยะอินทรีย์ 2.หนอนเป็นอาหารสัตว์ 3.มูลเป็นปุ๋ย) และเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยฯ ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร จังหวัดลำปาง ณ ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) จังหวัดลำปาง



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 23/08/2566 [15246]
4500 109
3 [15243]

เข้าร่วมจัดทรรศการผลงานการงานตลาดนัด คบจ. ส่งต่อความสุข สนับสนุน SME

               วันที่ 29 มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมกับงานวิจัยและบริการวิชาการ  กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง นำผลงาน Eco printing  หนึ่งในผลงานบริการวิชาการ (คลินิกเทคโนโลยี)ของอาจารย์ณัฐอมร จวงเจิม อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เข้าร่วมจัดแสดงในงานตลาดนัด คบจ. ส่งต่อความสุข สนับสนุน SME ณ บริเวณโถงกลางด้านล่างอาคารหอประชุมศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานจำนวนมาก



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 23/08/2566 [15243]
4400 75
3 [15242]

เข้าร่วมจัดทรรศการงานอุตสาหกรรมแฟร์ จังหวัดลำปาง

               วันที่ 23 - 30 มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดนิทรรศการ งานอุตสาหกรรมแฟร์ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไว ด้วยดีพร้อม ” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำผลงาน เครื่องตัดพลาสติกเลเซอร์ และระบบอัตโนมัติเป็นผลงานนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมไฟฟ้า ไปจัดแสดงให้ผู้ที่เข้าร่วมงาน และผู้สนใจในตัวเครื่องได้ศึกษาดูงาน



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 23/08/2566 [15242]
8000 318
3 [15241]

การจัดกิจกรรมอบรมเรื่อง การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรการทำไก่แฮม และไก่แผ่น

วันที่15มิถุนายน  2566ณ วิสาหกิจชุมชนรักษ์พระธรณี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

วิทยากรโดย ดร.อรทัย บุญทะวงศ์ ดร.ปัศนีย์ กองเงิน และผศ.นภาพร ดีสนาม

เรื่องคำปรึกษาที่ขอรับ

   - วิสาหกิจชุมชนรักษ์พระธรณี เป็นกลุ่มเกษตรปลอดภัย และมีการเลี้ยงไก่ จึงต้องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ เพื่อจำหน่าย

กระบวนการให้คำปรึกษา

   - อบรมเชิงปฏิบัติติการ เรื่อง การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรการทำไก่แฮม และไก่แผ่น

ผลการให้คำปรึกษา

   - วิสาหกิจชุมชนรักษ์พระธรณีสามารถนำไก่ที่เลี้ยงมาแปรรูปเป็นไก่แฮม และไก่แผ่น สามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้มากขึ้น



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 23/08/2566 [15241]
6900 18
3 [14900]

ลงพื้นที่ตรวจติดตาม

ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้รับบริการคำปรึกษา และกลุ่มผู้รับบริการกิจกรรมฝึกอบรม ครั้งที่ 1 



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/07/2566 [14900]
7500 50
3 [14898]

เข้าร่วมจัดทรรศการผลงานการขับเคลื่อนล้านนาอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เศรษฐกิจฐานBCG MHESI Innovation Fair for BCG Creative LANNA (LANNA EXPO 2023)

               วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมจัดนิทรรศการ งาน LANNA EXPO 2023 โดยคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำผลงาน การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT) ที่ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้ไปเผยแพร่ให้กับชุมชน ไปจัดแสดงให้ผู้ที่เข้าร่วมงาน และผู้สนใจในการพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT)  ได้ศึกษา และชมผลงาน



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/07/2566 [14898]
16500 0
3 [14897]

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมและสาธิตการพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT)

           วันที่ ๑๒ – ๑๓ มิถุนายน  ๒๕๖๖ คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาสื่อการเรียนรู้การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT) ณ อำเภอพร้าว จังหวัดลำปาง

เรื่องคำปรึกษาที่ขอรับ

   - ชุมชนมีการปลูกต้นฮ่อม เพื่อใช้ในการขาย ห่อมสดและห่อมเปียกเพื่อการค้ารวมไปถึงการผลิตผ้าฝ้ายสำหรับย้อมหอมสู่กระบวนการใช้ฮ่อม เผื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าในการผลิต โดนผ้าฝ้ายที่ผลิตยังมีการการตลาดและสินค้ายังไม่มีความหลากหลาย Eco printing เป็นอีกแนวทางเพิ่มความหลากหลายในของผลิตภัณฑ์ จากแค่ผ้าฝ้ายย้อมห่อม มีการสร้างผ้าฝ้ายพิมพ์ใบไม้ห่มฮ่อม เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับสินค้า และตลาดที่กว้างขวางขึ้น

กระบวนการให้คำปรึกษา

   - ให้คำปรึกษาโดยวิธีการ แนวทางฝึกปฏิบัติ ในการทำน้ำยา มอแดนซ์สำหรับแช่ผ้า และกระบวนการผลิตกลุ่มชน รวมถึงการคัดเลือกใบไม้ที่ใช้สำหรับพิมพ์

 

ผลการให้คำปรึกษา

   -ทางกลุ่มสามารถผลิตผ้าได้ ในรูปแบบของเสื้อพิมพ์ใบไม้ ห่มด้วยฮ่อมที่มีสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/07/2566 [14897]
19000 20
3 [14803]

วันที่ ๒๐ มิถุนายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการพัฒนาสื่อการเรียนรู้การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ (ECO PRINT)เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง และชุมชนที่สนใจ มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ พัฒนาทักษะความสามารถการพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติ ประเภทพืชให้สี ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จังหวัดลำปาง



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 05/07/2566 [14803]
25000 30
3 [14377]

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษากลุ่มผู้ประกอบการ

เรื่องที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรฤษฎีใหม่บ้านแม่กอนใน ได้ขอคำปรึกษาเรื่องการขอ อย. และการก่อสร้างสถานที่ผลิตอาหารตามมาตรฐานที่ถูกต้อง

การดำเนินงานให้คำปรึกษาลงพื้นพื้นที่ ให้คำปรึกษาด้านกี่จัดทำข้อมูลของผลิตภัณฑ์การวัดขนาดของชิ้นงานจริง และนำมาสร้างแบบสำหรับเขียนโค้ดคำสั่งควบคุมเครื่องจักร



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 02/05/2566 [14377]
600 1
3 [14376]

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาบริษัทแสงเจริญจำกัด

เรื่องที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาบริษัทแสงเจริญจำกัด ได้ขอคำปรึกษาเรื่อง การจัดทำโค้ดคำสั่งเครื่องจักรกลอัตโนมัติสำหรับงานกัดไม้

การดำเนินงานให้คำปรึกษาลงพื้นพื้นที่ ให้คำปรึกษาด้านกี่จัดทำข้อมูลของผลิตภัณฑ์การวัดขนาดของชิ้นงานจริง และนำมาสร้างแบบสำหรับเขียนโค้ดคำสั่งควบคุมเครื่องจักร



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 02/05/2566 [14376]
900 4
3 [14369]

ลงพื้นที่นำนักศึกษา ไปศึกษาดูงาน เพื่อประกอบการเรียนการสอนในวิชาพืชสมุนไพร

          เนื่องด้วยอาจารย์ประจำวิชาพืชสมุนไพร มทร.ล้านนาลำปาง ได้เข้ามาขอคำปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี มีความประสงค์อยากพานักศึกษาไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับพืชสมุนไพร เพื่อประกอบการเรียนการสอนคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง จึงได้นำนึกษาศึก และอาจารย์ลงพื้นที่ไปงาน ณ กลุ่มฮักน้ำจาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 ความรู้ที่นักศึกษาได้รับได้แก่ 1. การปลูกพื้นสมุนไพรพื้นบ้าน 2. การจำแนกพืชสมุนไพร 3. ประโยชน์ชองพืชสมุนไพร 4. การชิม การดมกลิ่น พืชสมุนไพรต่างๆ โดยมีนักศึกษาดูงานจำนวน 6 คน



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 27/04/2566 [14369]
1200 6
3 [14368]

วันที่ 5 เมษายน 2566 ได้มีผู้ประกอบการจาก จากร้านบังอรรีไซเคิล จ.ลำปาง เป็นร้านรับซื้อของเก่าขนาดใหญ่ในจังหวัดลำปาง เข้ามาขอคำปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี เรื่อง 1.การวางแผนจัดการขยะในชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ (การคัดแยก การประกันราคา ประโยชน์จะขยะ)   2. วิธีการลงพื้นพื้นที่ การทำ MOU ร่วมกับชุมชนในการรับซื้อขยะ 3. การวางแผนการจัดการกลุ่มชุมชนในการบริการกลุ่มในการขายขยะ (รายรับ รายจ่าย เงินปันผล)

รายละเอียดการให้คำปรึกษา

          1. ให้ความรู้และแนวทางการจัดการขยะในชุมชนระหว่างมหาลัยฯ เทศบาลในท้องถิ่น และชุมชน

          2. ให้ความรู้การลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับเทศบาลในท้องถิ่น การประสานงานต่างๆ ร่วมถึงการทำ MOU ร่วมกับชุมชน

          3. ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับเทศบาลตำบลพิชัย อ.เมือง จ.ลำปางเพื่อวางแผนการลงพื้นที่ชุมชน และกำหนดวันลงพื้นที่ชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมอบรมการจัดการขยะในชุมชน การรับซื้อขยะ การคัดแยกขยะ การประกันราคาซื้อ-ขาย

 

ค่าใช้จ่าย

- ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนเมษายน 15000 บาท



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 27/04/2566 [14368]
15000 3
3 [14367]

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมและสาธิตการเพาะเลี้ยงปลานิลจิตลดาในบ่อดิน

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จัดอบรมและสาธิตการเพาะเลี้ยงปลานิลจิตลดาในบ่อดิน ณ บ้านป่าเสี้ยว ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 30 คน

วิทยากร

อาจารย์สมเกียรติ ตันตา อาจารย์ประจำสาขาประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโ

นโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โทร :086-7302101

เรื่องคำปรึกษาที่ขอรับ

เนื่องจากองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงปลานิลเป็นสิ่งใหม่ในชุมชน และบางเรื่องชุมชนเข้าใจผิดมาตลอดไม่ว่าจะเป็น การเตรียมบ่อการเลี้ยง การเพาะเลี้ยง และความรู้อื่นๆที่เกี่ยวกับปลานิลมีค่าเท่ากับศูนย์ แค่การแยกเพศกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วม 40 คนไม่มีใครรู้เลยว่าปลานิลเพศผู้และเพศเมียแตกต่างกันอย่างไร นี่เป็นตัวบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าเรื่องที่เกษตรกรร้องขออยากฝึกอบรมนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นและเร่งด่วนจริงๆ

กระบวนการให้คำปรึกษา

เป็นการบรรยายให้ความรู้พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติ และตอลข้อซักถามในเรื่องต่างๆที่เกษตรกรสงสัยและอยากเรียนรู้เพิ่มเติม

ผลการให้คำปรึกษา

เกษตรกรสามารถติดตั้งกระชังเลี้ยงปลาได้ตามที่ฝึกอบรมรวมถึงเข้าใจในการเลี้ยงปลานิลมากขึ้น รู้จักปลานิลมากขึ้นจากการทวนถามตอนท้ายการอบรม



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 27/04/2566 [14367]
8000 26
2 [13863]

ร่วมจัดนิทรรศการในงาน“วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง” ในงานประชุมวิชาการ อกท. ระดับชาติ ครั้งที่ 43

        คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำผลงานด้านการแปรรูปสับปะรด ให้หน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคเหนือ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง” ในงานประชุมวิชาการ อกท. ระดับชาติ ครั้งที่ 43 ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัด โดยในการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ได้นำผลงานด้านการแปรรูปสับปะรด ได้แก่ สับปะรดกวน แครกเกอร์จากแกนสับปะรด ไดฟูกุสับปะรด คุกกี้สับปะรด น้ำยาล้างจานจากสับปะรด และผลิตภัณฑ์การแปรรูปเส้นใยสับปะรด เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย - ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเดือนมีนาคม 15,000 บาท

               - ค่าผลิตภัณฑ์จัดแสดงผลงาน 700 บาท



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/03/2566 [13863]
15700 0
2 [13859]

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมและสาธิตการพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตถัณฑ์น้ำพริก ที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อยืดอายุการรักษา และจำหน่ายเชิงพาณิชย์

วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2566คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จัดอบรมและสาธิตการพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตถัณฑ์น้ำพริก ที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อยืดอายุการรักษา และจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ณ ศาลาอเนกประสงค์ วัดแม่ก๋ง บ้านแม่ก๋ง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 12คน

รายละเอียดการให้ข้อมูล

วิทยากร

อาจารย์ธีรวัฒน์ เทพใจกาศ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

อาจารย์ปรีดา  ตัญจนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล) สาขาบริหารธุรกิจ (การตลาด) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 

โทร :08-6912-3868  E-Mail : teeravat.11tee@gmail.com, teeravat@rmutl.ac.th

เรื่องคำปรึกษาที่ขอรับ

1.หลักการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูปที่ถูกสุขลักษณะและการผลิตที่ดี

2. การจัดการวัตถุดิบ ส่วนผสม สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูปตามมาตรฐานความปลอดภัย

3. การจัดการกระบวนการผลิตน้ำพริกสำเร็จรูป การกำหนดสูตรมาตรฐาน การชั่งตวงวัด และบรรจุภัณฑ์

4. การรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูปโดยไม่ใช้วัตถุกันเสีย

การแก้ปัญหาเทคโนโลยี

1.การเตรียมวัตถุดิบและส่วนผสมสำหรับน้ำพริกสำเร็จรูป ที่มีการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม

2. กระบวนผลิตน้ำพริกตามสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร โดยอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานตามศักยภาพที่มีความปลอดภัย

3.วิธี และมาตรฐานการชั่ง ตวง วัด สำหรับกระบวนการผลิตน้ำพริกสำเร็จรูป

3.การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การออกแบบฉลาก ให้เหมาะสมกับการเก็บรักษาน้ำพริกสำเร็จรูป ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา เพื่อการบริโภคและการจำหน่ายตามช่องทางการตลาดที่เหมาะสม

ผลการดำเนินงาน

จากการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กลุ่มผู้ผลิตและผู้ที่สนใจ ที่เข้าร่วมการอบรมและให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ดังกล่าว

  1. มีความรู้ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับ สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร กระบวนผลิตน้ำพริกสำเร็จรูปแบบปลอดภัย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำพริกตาแดง น้ำพริกตาแดงปลาย่าง/ ปลาป่น น้ำพริกลาบ (สูตรบ้านแม่ก๋ง) น้ำพริกนรกกุ้ง น้ำพริกนรกปลาป่น น้ำพริกถั่วเน่า ฯลฯ 
  2. มีความรู้ความเข้าใจ  ในการคัดเลือก การเตรียม การประเมินคุณภาพเบื้องต้นของวัตถุดิบและส่วนผสม การชั่ง ตวง วัด สำหรับกระบวนการผลิต
  3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปที่เหมาะสม การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูป และการจัดการด้านการตลาดเพื่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ค่าใช้จ่าย - ค่าจ้างเจ้าหน้าทีคลินิกเทคโนโลยีเดือนกุมภาพันธ์ 15,000 บาท

               - ค่าวิทยากร 1,800



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/03/2566 [13859]
16800 12
2 [13857]

ให้คำปรึกษา เรื่องการวิเคราะห์หาองค์ประกอบสำคัญ การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบมะหล่ำตาหนู

          วันที่ 25 มกราคม 2566 ได้มีผู้ประกอบการจาก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เข้ามาขอคำปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี เรื่อง 1. การวิเคราะห์หาองค์ประกอบสำคัญของชาที่ผลิตจากใบมะกล่ำตาหนู 2. กระบวนการแปรรูปชามะกล่ำตาหนูที่เหมาะสม 3. การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากมะกล่ำตาหนู คลินิกเทคโนโลยีจึงได้ประสานงานผู้เชี่ยวชาญเพื่เป็นที่ปรึกษา

          รายละเอียดการให้คำปรึกษา

          1. แนะนำการเตรียมตัวอย่างเพื่อการตรวจวิเคระห์องค์ประกอบที่สำคัญ และคุณภาพพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ

 ผลิตภัณฑ์ พร้องการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ในระยะเวลาที่เหมาะสม

          2. การพิจารณากระบวนการแปรรูป นับตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต พร้อมสืบค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมในการยกระดับกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อการจำหน่ายเชิงพานิช

          3. การเสนอแนวทางในการต่อยอด ผลิตภัณฑ์โดยอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปแบบชา เครื่องดื่ม หรืออาหารเพื่อสุขภาพ โดยพิจารณากระบวนการ และเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น การสกัดสารสำคัญ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเคลือบนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น ให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ธีรวัฒน์ เทพใจกาศ อาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ค่าใช้จ่าย - ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเดือนมกราคม 15000

              - ค่าที่ปรึกษา 600 บาท



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/03/2566 [13857]
15600 1
2 [13855]

ให้คำปรึกษา เรื่องกระบวนการขึ้นรูปแผ่นหนังโดยเส้นใยสับปะรด

          วันที่ 23 มกราคม 2566 นักศึกษาสาขาอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ได้เดินทางมาของปรึกษา กับ คลนิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง เรื่องกระบวนการขึ้นรูปแผ่นหนังโดยเส้นใยสับปะรด และการทำเครื่องตีเส้นใยสับปะรด เพื่อทำโครงการปัญหาพิเศษในการเรียนการสอนตามหลักสูตร คลนิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง จึงได้ประสานงานให้อาจารย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นที่ปรึกษา ให้แก่นักศึกษาในครั้งนี้

รายละเอียดการให้ข้อมูล

          1. การเลือกใบสับปะรดในการทำเส้นใยสับปะรด

          2. การใช้งาน การบำรุงรักษา เครื่องตีเส้นใยสับปะรด

          3. การประกอบ และวัสดุในการประกอบเครื่องตีเส้นใยสับปะรด

          4. การทำเส้นใยสับปะรดให้นุ่ม ขาว สะดาดหลังจากตีเส้นใย

          5. การนำเส้นใยสับปะรดไปใช้ให้เหมาะสม ระหว่างหนังเทียม กับเส้นใยสับปะรด

          6. วัสดุการทำหนังเทียม เพื่อนำมาผสมกับเส้นใยสับปะรด

หลังจากให้คำปรึกษา นักศึกษาสาขาอุตสาหการ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ขออนุญาติเข้ามาศึกษาข้อมูลต่อเรื่อยๆ เนื่องจากต้องการทำปัญหาพิเศษ เพื่อจบการศึกษาต่อไป



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/03/2566 [13855]
600 3
2 [13854]

ลงพื้นที่จัดกิจกรรมจัดอบรมและสาธิตการพัฒนากระบวนการแปรรูปปลาที่ถูกสุขลักษณะ

วันที่ 18-19มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลบ้านเป้า จัดอบรมและสาธิตการพัฒนากระบวนการแปรรูปปลาที่ถูกสุขลักษณะ ณ บ้านแค่ หมู่ที่ 1ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวนผู้เข้าอบรม 18คน

วิทยากร

อาจารย์ธีรวัฒน์ เทพใจกาศ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

อาจารย์ปรีดา  ตัญจนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ (การตลาดและการตลาดดิจิทัล) สาขาบริหารธุรกิจ (การตลาด) คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 

โทร :08-6912-3868  E-Mail : teeravat.11tee@gmail.com, teeravat@rmutl.ac.th

เรื่องคำปรึกษาที่ขอรับ

1.หลักการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลานิลที่ถูกสุขลักษณะและการผลิตที่ดี

2. การจัดการวัตถุดิบ ส่วนผสม สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปปลานิลตามมาตรฐานความปลอดภัย

3. การจัดการกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูป การกำหนดสูตรมาตรฐาน การชั่งตวงวัด และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการจัดการด้านการตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์

การแก้ปัญหาเทคโนโลยี

1.การจัดการและเตรียมวัตถุดิบ ส่วนผสมสำหรับการแปรรูปปลานิล ที่มีการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม

2. กระบวนการคัดเลือก ชำแหละและเตรียมปลานิลเพื่อการแปรรูป

3. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลานิล ตามสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานตามศักยภาพที่มีความปลอดภัย และสามารถนำไปสู่การยกระดับการผลิตในอนาคต

4.วิธีการใช้และมาตรฐานการชั่ง ตวง วัด สำหรับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลานิล

5.การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การออกแบบฉลาก ให้เหมาะสมกับการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูป ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา เพื่อการบริโภคและการจำหน่ายตามช่องทางการตลาดที่เหมาะสม

ผลการดำเนินงาน

จากการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กลุ่มผู้ผลิตและผู้ที่สนใจ ที่เข้าร่วมการอบรมดังกล่าว

  1. มีความรู้ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับ สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร เพื่อการจัดการและเตรียมวัตถุดิบ ส่วนผสมสำหรับการแปรรูปปลานิลที่เหมาะสม และมีความปลอดภัย
  2. มีความรู้ความเข้าใจ  ในการคัดเลือก การเตรียม การประเมินคุณภาพเบื้องต้นของวัตถุดิบและส่วนผสม การชั่ง ตวง วัด สำหรับกระบวนการผลิต
  3. มีความรู้ความเข้าใจในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลานิล ได้แก่ ปลานิลแดดเดียว ปลาส้มจากปลานิล (แบบทั้งตัวและหั่นชิ้น) ไส้อั่วปลานิล ปลาเส้น ปลานิลหยอง ฯลฯ ตามสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานตามศักยภาพที่ปลอดภัย นำไปสู่การยกระดับการผลิตในอนาคต
  4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปที่เหมาะสม การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ การออกแบบฉลาก ให้เหมาะสมกับการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูป ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา เพื่อการบริโภค และการจัดการด้านการตลาดเพื่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามช่องทางการตลาดที่เหมาะสม


รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 20/03/2566 [13854]
4300 18
2 [13846]

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเรื่องขยะรีไซเคิล

          วันที่ 19 มกราคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมกับร้านบังอร รีไซเคิล ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา วางแผนการพัฒนา และจัดการขยะชุมชนของเทศบาลตำบลพิชัย ร่วมกับ รองนายกเทศบาลตำบลพิชัย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนรู้จักวธีการกำจักขยะในครัวเรือน การคัดแยกขยะ และการรับซื้อขยะในชุมชนโดยร้านบังอรรีไซเคิลในราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป และยังสามารถนำขยะที่ไม่สามารถขายได้ นำไปวิจัยเพื่อแปรรูปขยะให้เป็นของใช้ที่มีประโยชน์

         หลังจากวางแผนร่วมกับเทศบาล จึงมีมัติว่าจะมีการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสอนการคัดแยกขยะ และแหล่งรับซื้อขยะที่มีราคาสูง ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 16/03/2566 [13846]
2000 4
2 [13845]

เข้าร่วมจัดทรรศการ และจัดเตรียมงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566

          วันที่ 6 - 8 มกราคม 2565 คลินิก มทร.ล้านนา ลำปาง ร่วมจัดนิทรรศการ และจัดเตรียมงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 เนื่องจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกันจัดงาน"มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัย นวัตกรรม ภูมิปัญญาล้านนาและโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG” โดยมี นายจำลักษณ์  กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โดยได้นำผลงาน 1. กระบวนการผลิตเส้นใยสับปะรดและการแปรรูป 2. กระบวนการแปรรูปสับปะรดด้านอาหาร  3. กระบวนการแปรรูปสับปะรดให้เป็นของใช้ในครัวเรือ มาจัดแสดง



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 16/03/2566 [13845]
0 35
1 [13748]

ยอดเงินรวมของไตรมาส 1



รายงานโดย น.ส.กัญญารัตน์ โพธิตา วันที่รายงาน 03/03/2566 [13748]
52000 20