2566 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีแก่ชุมชน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [15391]

ผลการดำเนินงานไตรมาส 4

กิจกรรมที่ 1

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมประชุมจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 ครั้งที่ 3 กับมหาวิทยาลัยนเรศวร (อว. ส่วนหน้า ประจำจังหวัดพิษณุโลก) ณ ห้องประชุมเทาแสด อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/aa1.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/aa2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.1-1.2 ประชุมจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัด

 

กิจกรรมที่ 2

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ  และดร.อรรถพล  ตันไสว  คณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์  ดร.เดือนแรม  แพ่งเกี่ยว  และอาจารย์ภควัต  หุ่นฉัตร์  ร่วมประชุมเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 ครั้งที่ 4 กับมหาวิทยาลัยนเรศวร (อว. ส่วนหน้า ประจำจังหวัดพิษณุโลก)  ณ ห้องประชุม Main Conference อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/bb1.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/bb2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.1-2.2 ประชุมจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัด

 

กิจกรรมที่ 3

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก เข้าร่วมการนำเสนอผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการรับใบประกาศเกียรติคุณคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย "ระดับดีเด่น" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ภายใต้แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS)  ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/dd1.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/dd2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.1-3.2 ร่วมการนำเสนอผลสำเร็จของโครงการ

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/dd3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.3 ร่วมการนำเสนอผลสำเร็จของโครงการ     

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/dd4.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.4 การรับใบประกาศเกียรติคุณคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย "ระดับดีเด่น"

 

กิจกรรมที่ 4

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แพตฟอร์มการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) โดยมี นางสาวรัชนีกร แรงขิง และนางสาวชฎาพร ประทุมมา นำเสนอรายงาน ณ ห้อง เทาแสด ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุม นานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/ee1.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/ee2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.1-4.2 นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

 

กิจกรรมที่5

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการกับหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ของจังหวัดพิษณุโลก  ร่วมให้บริการข้อมูลเทคโนโลยี และให้คำปรึกษาด้านการใช้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร การจัดการงานฟาร์มโคนม ให้แก่ประชาชนตำบลตลุกกระเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              :     1. นางสาวรัชนีกร แรงขิง

                                       2. นายกฤษณะ หมีนิ่ม

                                       3. นางสาวชฎาพร ประทุมมา                        

          ผลการดำเนินงาน        :   มีเกษตรกรมาขอรับคำปรึกษาทั้งด้านการใช้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร การจัดการงานฟาร์มโคนม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนโดยมีผู้ขอรับบริการข้อมูลเทคโนโลยีจำนวน 0 คน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/ff1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.1ให้คำปรึกษากระถางจากฟางข้าว  

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/ff2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.2 ให้คำปรึกษาการใช้มูลโคนม     

.

กิจกรรมที่ 6

วันที่ 30 สิงหาคม -1 กันยายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมกับ ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง กระถางปลูกปลดปล่อยปุ๋ยย่อยสลายได้จากเศษเหลือทิ้งจากการปลูกสับปะรด ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดนวัตกรรม ชื่อผลงาน "กระถาง กาก กาก"  ในงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 13 การประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 12 และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมราชมงคล ครั้งที่ 5  (RMUTCON 2023) ณ สวนนงนุชพัทยา ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/gg1.png

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/gg2.png

ภาพกิจกรรมที่ 6.1-6.2 นำเสนอนวัตกรรมให้แก่คณะกรรมการ

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/gg3.png

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/gg4.png

ภาพกิจกรรมที่ 6.3-6.4 ได้รางวัลระดับดี (Bronze award) และรับเหรียญทองแดง ผลงาน "กระถาง กาก กาก" ในการประกวดผลงานนวัตกรรมกลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม



รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 07/09/2566 [15391]
34720 86
3 [15138]

กิจกรรมที่ 1

          วันที่ 21กรกฎาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566  โดยมีบุคลากร สาขาสัตวศาสตร์และประมง เข้าร่วมให้บริการข้อมูล และให้คำปรึกษาด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน และการจัดการงานฟาร์มโคนม ให้แก่ประชาชนที่ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอบางกระทุ่ม (หลังใหม่) ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1. นายกฤษณะ หมีนิ่ม

                                   2. นางสาวชฎาพร ประทุมมา                        

ผลการดำเนินงาน        :   มีเกษตรกรมาขอรับคำปรึกษาทั้งด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน การและจัดการงานฟาร์มโคนม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/a11.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/a22.jpg



รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 13/08/2566 [15138]
16760 48
3 [14526]

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3

กิจกรรมที่ 1

          วันที่ 8 มีนาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมประชุมคณะทำงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ณ ห้องประชุม Main Conference อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/V%201.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/V%202.jpg

 

กิจกรรมที่ 2

          วันที่ 22-23 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมกิจกรรม NU U2T for BCG MARKET PLACE ณ บริเวณลานโปรโมชั่น เซ็นทรัลพล่าซ่า พิษณุโลก โดย อว.ส่วนหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรม  ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช  ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม ในการนี้ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก นำผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ U2T for BCG ของ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลกเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ พุดดี้ตาลสด จักสานที่ใส่แก้วเยติ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ที่เข้ามาจับจ่ายสินค้าภายในงานเป็นอย่างดี

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/W1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.1 ท่าน ดร.ดนุช มาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/W2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.2 ประชาชนมีความสนใจผลิตภัณฑ์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/W3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.3 ตัวแทนกลุ่มแนะนำผลิตภัณฑ์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/W4.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.4 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน

 

กิจกรรมที่ 3

          วันที่ 26 เมษายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำเดือนเมษายน 2566 ของจังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์ และบุคลากร จากสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์และประมง เข้าร่วมให้บริการข้อมูล และให้คำปรึกษา ด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน การจัดการงานฟาร์มโคนม และการฝักไข่ไก่ ให้แก่ประชาชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น หมู่ที่ 3 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกนั้น

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1. นางสาวณวรรณพร จิรารัตน์

                                   2. ผศ.ดร.พรเทพ เกียรติดำรงค์กุล

                                   3. นางสาวรัชนีกร แรงขิง

                                   4. นางสาวชฎาพร ประทุมมา                        

ผลการดำเนินงาน        :   มีเกษตรกรมาขอรับคำปรึกษาทั้งด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน การจัดการงานฟาร์มโคนม และการฝักไข่ไก่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนโดยมีผู้ขอรับบริการข้อมูลเทคโนโลยีจำนวน 44 คน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/R1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.1 บูธพร้อมให้บริการคำปรึกษา  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/R2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.2 ผลิตภัณฑ์ที่นำไปจำหน่าย

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/R3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.3 ไข่เชื้อที่นำไปให้คำปรึกษา              

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/R4.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.4 ให้คำปรึกษาการฟักไข่

 

กิจกรรมที่ 4

          วันที่ 14 มิถุนายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำเดือนมิถุนายน 2566 ของจังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์ และบุคลากร จากสาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์และประมง เข้าร่วมให้บริการข้อมูล และให้คำปรึกษา ด้านการทำเกษตรระบบsmart farm การสาธิตการรีดนมวัว และการฝักไข่ไก่ ให้แก่ประชาชนที่วัดสุวรรณประดิษฐ์ หมู่ที่ 4 ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกนั้น

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1. นางจันทรา สโมสร

                                    2. ผศ.ดร.พรเทพ เกียรติดำรงกุล

                                    3. นางสาวณวรรณพร จิรารัตน์

                                    4. นายกฤษณะ หมีนิ่ม

                                    5. นางสาวอาภรณ์ นากุ

                                    6. นางสาวชฎาพร ประทุมมา                        

ผลการดำเนินงาน        :   มีเกษตรกรมาขอรับคำปรึกษาทั้งด้านการทำเกษตรระบบsmart farm      การสาธิตการรีดนมวัว และการฝักไข่ไก่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนโดยมีผู้ขอรับบริการข้อมูลเทคโนโลยีจำนวน 50 คน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/S1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.1 เกษตรกรเข้ามาขอรับบริการ            

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/S2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.2 เกษตรกรเข้ามาขอรับบริการ (ต่อ)  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/S3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.3 ให้คำปรึกษาเรื่องการฟักไข่            

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/S4.jpg         

ภาพกิจกรรมที่ 4.4 ให้คำปรึกษาเรื่องมูลวัวนม

 

กิจกรรมที่ 5

วันที่ 16-17 มิถุนายน 2566 ร่วมจัดนิทรรศการ “งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนภูมิภาค จังหวัดพิษณุโลก” เนื่องในวันข้าวและชาวหน้าแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้รับบริการ                 :  ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้ปลูกข้าว

วันที่ดำเนินการ            :  วันที่ 16-17 มิถุนายน 2566

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ                 

                                    2.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง        

                                    3.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา   

ผลการดำเนินงาน        :   ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการและนำผลิตภัณฑ์กระถางจากฟางข้าว พร้อมทั้งกระถางเส้นใยจากเศษเหลือทิ้งทางธรรมชาติ เช่น ผักตบชวา ชานอ้อย และต้นกล้วย ไปให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้ปลูกข้าวที่สนใจ ซึ่งในวันงานมีผู้ประกอบการและประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก มีทั้งเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับการพืชเส้นใยที่นำไปทำเป็นกระถางต้นไม้ การแปรรูปพืชเส้นใยให้เกิดผลิตภัณฑ์เชิงการค้า ฯลฯ

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/T1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.1 ประชาชนทั่วไปสนใจผลิตภัณฑ์        

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/T2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.2 ผู้ประกอบการมาขอรับคำปรึกษา

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/T3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.3 ผลิตภัณฑ์ที่นำไปให้คำปรึกษา          

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/T4.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.4 ผู้ประกอบการสนใจที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว

                                                                 

กิจกรรมที่ 6

          วันที่ 20 มิถุนายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมประชุมจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 (จังหวัดพิษณุโลก) Focus group ครั้งที่ 1 ด้านการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะเปียกที่เกิดจากชุมชน ณ ห้องประชุมเทาแสด อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/X%201.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/X%202.jpg

 

กิจกรรมที่ 7

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 จัดกิจกรรมการบริการให้คำปรึกษา เรื่องการขยายพันธุ์พืช ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

จำนวนผู้รับบริการ        :  30คน

วิทยากรและทีมงาน      : 1. ดร.อนุสรา จบศรี

                                    2. นางสาวชฎาพร ประทุมมา

เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด :   เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช

                                                 - การปักชำ

                                                 - การเสียบยอด

ผลการดำเนินงาน        :  เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการขยายพันธุ์พืช และมีการปฏิบัติการปักชำโดยใช้พืชตัวอย่าง คือ ต้นเล็บครุฑ และต้นมัลเบอร์รี จากนั้นได้ปฏิบัติการเสียบยอดต้นมะม่วงที่ได้นำยอดของมะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้นไปเสียบยอดกับต้นมะม่วงพันธุ์พื้นบ้าน ปฏิบัติการเสียบยอดต้นมะนาว และมีการสาธิตการตอนกิ่งอีกด้วย เกษตรกรได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก สนุกและได้รับองค์ความรู้ไปกันอย่างเต็มที่

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/U1.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 7.1 ถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายพันธุ์พืช 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/U2.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 7.2 การปักชำ

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/U3.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 7.3 การเสียบยอด                              

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/U4.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 7.4 การตอนกิ่ง

 

กิจกรรมที่ 8

          วันที่ 27มิถุนายน 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมประชุมจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 (จังหวัดพิษณุโลก) Focus group  ครั้งที่ 2 ด้านการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะเปียกที่เกิดจากชุมชน ณ ห้องประชุม Main Conference อาคารศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/Y%201.jpg

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/Y%202.jpg



รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 29/06/2566 [14526]
62920 74
2 [13951]

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2

กิจกรรมที่ 1

วันที่ 6-8 มกราคม 2566 ร่วมจัดนิทรรศการงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 ในหัวข้อ การพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัยนวัตกรรมภูมิปัญญาล้านนา และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG       ซึ่งทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการและรวบรวมผลิตภัณฑ์ของทางคลินิกเทคโนโลยีและงานวิจัยอาทิ ปุ๋ยมูลจิ้งหรีดอัดเม็ด ดินปลูกขี้เค้กอ้อย ชุดเช็ดกระถางพร้อมวัสดุปลูก การสาธิตการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบใช้แผงไข่และแบบใช้แผ่นเส้นใยสับปะรด และผลิตภัณฑ์ U2T จากตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

ผู้รับบริการ                 :  ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป

วันที่ดำเนินการ            :  วันที่ 6-8 มกราคม 2566

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ      

                                   2.  นายศุภชัย ชุมนุมวัฒน์        

                                   3.  นายศุภกร วงศ์สุข             

                                   4.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง        

                                   5.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา   

                                   6.  นายกิตตินันท์ เสือจุ้ย         

                                    7.  นายนราพัฒน์ สระทองคำ    

ผลการดำเนินงาน        :   ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ของทางคลินิกเทคโนโลยี งานวิจัย และผลิตภัณฑ์โครงการ U2Tเข้าร่วมจัดนิทรรศการ ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยมูลจิ้งหรีดอัดเม็ด ดินปลูกขี้เค้กอ้อย ชุดเซ็ทกระถางพร้อมวัสดุปลูก การสาธิตการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบใช้แผงไข่และแบบใช้แผ่นเส้นใยสับปะรด ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากเส้นใยใบสับปะรด และผลิตภัณฑ์โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จากตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ สบู่ พุดดิ้งตาลสด และผลิตภัณฑ์    จักสาน ในวันงานมีผู้ประกอบการและประชาชนสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากมาย มีทั้งเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับการพืชเส้นใยที่นำไปทำเป็นกระถางต้นไม้ การแปรรูปพืชเส้นใยให้เกิดผลิตภัณฑ์เชิงการค้า ปรึกษาเกี่ยวกับทางด้านการเกษตร ฯลฯ

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.1 ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(3).jpg

 ภาพกิจกรรมที่ 1.2 แนะนำผลิตภัณฑ์ U2T

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.3 ท่าน ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เดินเยี่ยมชมบูธผลิตภัณฑ์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(5).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.4 มอบชุดกระถางพร้อมวัสดุปลูกให้แก่ท่าน ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(6).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.5 ท่าน ผอ.เอกพงศ์  มุสิกะเจริญ เดินเยี่ยมชมบูธผลิตภัณฑ์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/E%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.6 ท่าน ผอ.เอกพงศ์  มุสิกะเจริญ เดินเยี่ยมชมบูธผลิตภัณฑ์ (ต่อ)

 

กิจกรรมที่ 2

          วันที่ 12 มกราคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก     พร้อมทั้งอาจารย์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ได้ลงพื้นที่กลุ่มจักสาน ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์      จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน ตะกร้อกรองชา

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.รัชตา มาอากาศ 

                                   2.  นางสาวศิริภรณ์ บุญประกอบ

                                   3.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง        

                                   4.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา             

ผลการดำเนินงาน        :   เนื่องจากทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ได้รับโจทย์จากผู้ประกอบการให้ทำตะกร้อกรองชา ซึ่งทางผู้ประกอบการต้องการตะกร้อกรองชาที่ใช้ตอกเส้นเล็กๆในการสาน ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก จึงไปลงพื้นที่กลุ่มจักสาน ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพูดคุยกับทางกลุ่มในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานตะกร้อกรองชา และทางกลุ่มได้ตกลงรับทำผลิตภัณฑ์ ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก จึงได้ให้ตัวอย่างกับทางกลุ่มไว้ดู และนัดวันส่งผลิตภัณฑ์ เมื่อได้ผลิตภัณฑ์แล้ว ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก ได้ส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการต่อไป

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/F%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.1 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน ตะกร้อกรองชา

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/F%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.2 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน ตะกร้อกรองชา (ต่อ)   

                

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/F%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.3 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสาน ตะกร้อกรองชา (ต่อ)   

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/F%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.4 ตะกร้อกรองชา

 

กิจกรรมที่ 3

วันที่ 17 มกราคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมทั้งอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ฟิลเตอร์เค้ก (Filter Cake) หรือขี้เค้กอ้อย ณ บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก  เพื่อศึกษาการจัดการของเสีย และการใช้ประโยชน์จากฟิลเตอร์เค้ก โดยนำองค์ความรู้มาเสริมด้านการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แก่งานคลินิกเทคโนโลยี

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ       

                                   2.  นายพีรพันธ์ ทองเปลว        

                                   3.  นางสาวสุรีย์รัตน์ บัวชื่น      

                                   4.  นางสาวณัฐชญา สายคำวงศ์  

                                   5.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง        

                                   6.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา             

ผลการดำเนินงาน        :  งานคลินิกเทคโนโลยี พร้อมทั้งอาจารย์สาขาพืชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  กับ บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด เรื่อง การจัดการของเสีย และการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งจากอ้อย หลังจากกระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนางานวิจัย งานบริการวิชาการ และเสริมด้านการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แก่งานคลินิกเทคโนโลยี

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/G%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.1 ลงพื้นที่บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/G%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบริษัทน้ำตาล พิษณุโลก จำกัด

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/G%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบริษัทน้ำตาล พิษณุโลก จำกัด

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/G%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.4 ไปดูกระบวนการจัดการของเสีย

 

กิจกรรมที่ 4

          วันที่ 19 มกราคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก   พร้อมอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดนาทุ่ง ตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และกลุ่มผู้ผลิตเห็ด ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ       

                                   2.  ดร.อรรถพล ตันไสว

                                   3.  ดร.เดือนแรมแพ่งเกี่ยว        

                                   4.  นายศุภชัย ชุมนุมวัฒน์

                                   5.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง        

                                   6.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา             

ผลการดำเนินงาน        :   ทางคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา พิษณุโลก  พร้อมอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดนาทุ่ง ตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และกลุ่มผู้ผลิตเห็ด ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตเห็ด การจัดการโรงเรือน และการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งก้อนเห็ด เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาที่ได้จากกลุ่มผู้ผลิตเห็ดและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.1 ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดนาทุ่ง

           

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.2  ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดนาทุ่ง (ต่อ)

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.3 ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดนาทุ่ง (ต่อ)

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(5).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.4 ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดตำบลท่างาม

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(6).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.5 ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดตำบลท่างาม (ต่อ)   

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/H%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.6 ลงพื้นที่กลุ่มผู้ผลิตเห็ดตำบลท่างาม(ต่อ)                                                             

 

กิจกรรมที่ 5

วันที่ 25 มกราคม 2566 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและวิธีการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อควบคุมกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ณ ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้รับบริการ                 :  เกษตรกร

จำนวนผู้รับบริการ        :  10 คน

วันที่ดำเนินการ            :  วันที่ 25 มกราคม 2566

วิทยากรและทีมงาน      : 1. ดร.สุจริตพรรณ บุญมี

        2. นายศุภกร    วงศ์สุข                         

        3. นางสาวชฎาพร ประทุมมา

เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด :    เชื้อรากำจัดแมลง

                                         - เชื้อราเมตาไรเซียม Metharhiziumanisopliae

                                         - เชื้อราบิวเวอเรีย Beauveriabassiana

                                                   เชื้อราปฏิปักษ์ เชื้อราโรคพืช

                                         - เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma sp.

ผลการดำเนินงาน        :   วิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องเชื้อราที่สามารถกำจัดแมลงและป้องกันโรคพืช ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถแยกประเภทได้แบบไหน และวิธีการขยายเชื้อทำอย่างไร จากนั้นได้มีการสอนปฏิบัติการขยายเชื้อราแต่ละชนิด โดยเริ่มจากการเตรียมอาหารสำหรับการเลี้ยงเชื้อ และการขยายเชื้อรา เมื่อขยายเชื้อราเสร็จเรียบร้อยแล้วทางด้านวิทยากรได้มีการสอนวิธีการใช้เชื้อราแต่ละชนิด และการใช้ให้ถูกชนิดกับแมลงและโรคพืช แล้วได้มีการแจกจ่ายเชื้อราที่เกษตรกรได้ขยายไว้ให้นำกลับไปใช้ที่บ้านอีกด้วย

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.1 ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเชื้อรา 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.2 การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.3ขั้นตอนการขยายเชื้อ     

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(5).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.4 ให้ผู้อบรมฝึกขยายเชื้อเอง 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(6).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.5อธิบายอัตราส่วนการใช้เชื้อรา  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/I%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 5.6 สาธิตวิธีการใช้เชื้อรา

 

กิจกรรมที่ 6

วันที่ 25 มกราคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้พาอาจารย์ศุภกร วงศ์สุข ไปติดตามผลการให้คำปรึกษาการทำกับดักด้วงแรดที่เข้าทำลายมะพร้าว ณ ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผลการดำเนินงาน   :   จากการไปลงพื้นที่ครั้งที่แล้วอาจารย์ได้สอนวิธีการทำกับดักด้วงแรดซึ่งได้โรยเชื้อราเมตาไรเซียมไว้แล้วเพื่อล่อให้ด้วงแรดที่มากินอาหารนั้นตาย แล้วหลังจากนั้นอาจารย์ได้นำวัสดุอุปกรณ์การขยายเชื้อราเมตาไรเซียมมาสอนให้เกษตรกรได้ขยายเชื้อราไว้ใช้เองเพราะกองกับดักด้วงแรดจะต้องคอยเติมเชื้อราเมตาไรเซียมทุก 1 เดือน ผลจากการไปติดตามได้ผลว่ามีตัวอ่อนด้วงเข้ามาฝักตัวในกองกับดักรวมทั้งด้วงชนิดอื่นด้วย แต่มีจำนวนน้อยเนื่องจากช่วงนี้ไม่ใช่ช่วงที่ด้วงระบาด จึงได้แนะนำให้เกษตรกรคอยดูแลกองกับดัก เติมเชื้อราเมตาไรเซียม ต่อไป และเกษตรกรได้ทำกองกับดักเพิ่มอีก 1 กองด้วย

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/J%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 6.1 รื้อกองกับดักเพื่อดูแมลง

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/J%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 6.2 ให้คำแนะนำการสำรวจแมลง

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/J%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 6.3 ตัวอ่อนแมลงอื่นที่พบในกองกับดัก 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/J%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 6.4 เติมความชื้นให้แก่กองกับดัก

 

กิจกรรมที่ 7

          วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  พร้อมทั้งอาจารย์คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ และวิทยากรผู้เชียวชาญภายนอก ได้ลงพื้นที่กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงโชคอนันต์ ตำบลน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การปลูกมะม่วงโชคอนันต์

วิทยากรผู้เชียวชาญ       : ผศ.มนัส จูมี

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  นางสวรรยาหาญวงษา

                                   2.  นางรัชดาภรณ์ แสนประสิทธิ์

                                   3.  นางสาวศิริภรณ์ บุญประกอบ

                                   4.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง                           

ผลการดำเนินงาน        :   วิทยากรผู้เชียวชาญและเกษตรกร พร้อมด้วยอาจารย์ ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการปลูกมะม่วงโชคอนันต์ ซึ่งเกษตรแต่ละท่านได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เจอและไม่สามารถแก้ไขเองได้ ทางด้านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญก็ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงโชคอนันต์ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/M%201.jpg

 ภาพกิจกรรมที่ 7.1 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้การปลูกมะม่วงโชคอนันต์ 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/M%202.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 7.2 ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้การปลูกมะม่วงโชคอนันต์ (ต่อ)

 

กิจกรรมที่ 8

          วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมจัดนิทรรศการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ของจังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์ และบุคลากร จากสาขาพืชศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์และประมง เข้าร่วมให้บริการข้อมูล และให้คำปรึกษา ด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน การจัดการงานฟาร์มโคนม และการเลี้ยงไก่ไข่ ให้แก่ประชาชนหมู่ที่ 1 ตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  นางพรวิภา สะนะวงศ์

                                   2. นางสาวณวรรณพร จิรารัตน์

                                    3.  ผศ.ดร.พรเทพ เกียรติดำรงค์กุล

                                   4.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง,

                                   5.  นายดำรงศักดิ์ สุวรรณศรี

                                    6.  นายกฤษณะ หมีนิ่ม

                                    7.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา                      

ผลการดำเนินงาน        :   มีเกษตรกรมาขอรับคำปรึกษาทั้งด้านการทำเกษตรแบบแบบผสมผสาน และการส่องไข่เชื้อ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านอาชีพ มีทั้งขอรับข้อมูลด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนโดยมีผู้ขอรับบริการข้อมูลเทคโนโลยีจำนวน 79 คน โดยมีเอกสารประกอบและแผ่นพับให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%201.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.1 ร่วมจัดนิทรรศการกับจังหวัด

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%202.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.2 แนะนำผลิตภัณฑ์ชุดปลูกต้นไม้

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%203.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.3 ให้คำปรึกษาด้านการทำเกษตรแบบผสมผสาน   

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%204.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.4 สาธิตการรีดนมโค

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%205.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.5 ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ                  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/N%206.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 8.6 สอนวิธีการส่องไข่เชื้อ

 

กิจกรรมที่ 9

          วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมทั้งอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การจัดการฟาร์มสุกรและการทำบ่อแก๊ส ณ หมู่ที่ 2 ตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  นายวรกฤช ดอนคำเพ็ง

                                   2.  ดร.อัษฎาวุธ สนั่นนาม

                                   3.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง

                                   4.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา                       

ผลการดำเนินงาน        :   เนื่องจากเล้าหมูของเกษตรกรได้ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านในบริเวณนั้น ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจึงได้มาขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการกลิ่นเหม็นที่รบกวนชาวบ้าน งานคลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วยอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จึงได้ลงพื้นที่ไปให้คำปรึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ในการจัดการเล้าหมูตั้งแต่ต้นเหตุไปจนถึงปลายเหตุ และได้แนะนำการทำบ่อแก๊สซึ่งจะช่วยในการลดกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นตอนนี้ ซึ่งทางอาจารย์ได้ติดต่อหาวัสดุอุปกรณ์และวางแผนพังการทำบ่อแก๊ส ให้แก่เกตรกรไว้และรอนัดวันไปทำบ่อแก๊สอีกครั้ง

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/O%201.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 9.1 ลงพื้นที่พูดคุยถึงปัญหา                  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/O%202.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 9.2 คอกหมูของเกษตรกร

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/O%203.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 9.3  บ่อพักมูลสุกรที่ส่งกลิ่นเหม็น           

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/O%204.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 9.4 วางแผนการทำบ่อแก๊ส

 

กิจกรรมที่ 10

          วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมทั้งอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องการทำเห็ดฟางในตะกร้าและการเปิดดอกเห็ดนางฟ้าณ ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  ดร.สุจริตพรรณ บุญมี

                                   2.  นายศุภกร วงศ์สุข

                                   3.  นางสาวชฎาพร ประทุมมา                       

ผลการดำเนินงาน        :  งานคลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วยอาจารย์สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมฝึกอบรมการทำเห็ดฟางในตะกร้า โดยสอนตั้งแต่การแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อจัดหาได้ง่าย แล้วทำไมถึงต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆและมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเห็ดอย่างไร แล้วสอนการปฏิบัติการทำเห็ดฟางในตะกร้าแบบละเอียด พร้อมสอนวิธีการดูแลเห็ดด้วย จากนั้นก็ไปสอนขั้นตอนวิธีการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า พร้อมแนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่จัดซื้อจัดหาได้ง่าย แล้วทำไมถึงต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆและมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเห็ดอย่างไร พร้อมสอนวิธีการวางก้อนเชื้อเห็ดและการดูและเห็ด และคอยติดต่อเกษตรกรเผื่อติดตามผลอยู่ตลอด

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/P%201.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 10.1 วัสดุอุปกรณ์การทำก้อนเชื้อเห็ด        

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/P%202.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 10.2 การวางก้อนเห็ด

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/P%203.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 10.3 สอนการทำเห็ดฟางในตะกร้า         

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/P%204.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 10.4 สอนการทำเห็ดฟางในตะกร้า (ต่อ)        

 

กิจกรรมที่ 11

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้พาอาจารย์ศุภกร วงศ์สุข ไปติดตามผลการให้คำปรึกษาการทำกับดักด้วงแรดที่เข้าทำลายมะพร้าว ณ ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผลการดำเนินงาน   :   จากการไปลงพื้นที่ติดตามผลครั้งที่แล้วอาจารย์ได้แนะนำให้เกษตรกรคอยดูแลความชื้นกองกับดัก และให้เติมเชื้อราเมตาไรเซียมลงไป ครั้งนี้พบว่ากองกับดักด้วงมีความชื้นไม่เพียงพอและเชื้อราเมตาไรเซียมในกองมีน้อยซึ่งต้องใช้เวลานานมากถึงจะเดินได้ทั่วกอง อาจารย์จึงได้แนะนำให้เกษตรกรคอยรดน้ำกองกับดักบ่อยๆพร้อมกับกองกับดักให้บ่อยขึ้น และเติมเชื้อที่ขยายไว้ให้หมด เกษตรกรคอยดูผลต่อไปเรื่อยๆ

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/Q%201.jpg

ภาพกิจกรรมที่ 11.1 สำรวจแมลงในกองกับดัก             

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/Q%202.jpg

 ภาพกิจกรรมที่ 11.2 แนะนำการให้ความชื้อและการเติมเชื้อรากำจัดแมลง

   

กิจกรรมที่ 12

          วันที่ 22 มีนาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมทั้งอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการแปลงข้าวโพด ณ บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              :  1.นายดำรงค์​ศักดิ์​สุวรรณ​ศรี​

                                    2. นางสาวปฏิกมล โพธิคามบำรุง

                                    3. นางสาวลัดดาวัลย์ หวังเจริญ

                                    4. นายนนท์ แสนประสิทธิ์

                                    5. นางสาวนันทยา เก่งเขตร์กิจ

                                    6. นางพรวิภา สะนะวงศ์

                                    7. นายอรรถพล ตันไสว

                                    8. นายพีรพันธ์ ทองเปลว

                                    9. นางสาวชฎาพร ประทุมมา              

ผลการดำเนินงาน        :  งานคลินิกเทคโนโลยีมทร.ล้านนา พิษณุโลก พร้อมด้วยอาจารย์สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการไร่ข้าวโพด ซึ่งทางเกษตรกรและคณาจารย์ ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการปลูกข้าวโพด เกษตรกรแต่ละท่านได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่พบเจอและยังไม่สามารถแก้ไขเองได้ ทางด้านคณาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/K%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 12.1 แนะนำทีมงาน                           

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/K%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 12.2 พูดคุยการแก้ไขปัญหาต่างๆ

 

กิจกรรมที่ 13

วันที่ 25 มีนาคม 2566 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พร้อมทั้งอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การทำบ่อแก๊ส ณ หมู่ที่ 2 ตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้ร่วมกิจกรรม              : 1.  นายวรกฤช ดอนคำเพ็ง

                                   2.  นายศุภชัย ชุมนุมวัฒน์

                                   3.  นางสาวรัชนีกร แรงขิง                 

ผลการดำเนินงาน        :  จากการไปลงพื้นที่ครั้งที่แล้วทางอาจารย์ได้แนะนำการทำบ่อแก๊สซึ่งจะช่วยในการลดกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้น พร้อมติดต่อหาวัสดุอุปกรณ์ เตรียมพื้นที่ และวางแผนพังการทำบ่อแก๊สไว้ก่อนแล้ว     วันไปลงพื้นที่จึงได้ดำเนินการติดตั้งบ่อแก๊ส พร้อมแนะนำให้ขุดบ่อพักเพิ่มอีก 1 บ่อ และต่อสายแก๊สที่ได้ไปไว้ใช้ในครัวเรือน

 

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.1 เตรียมพื้นที่                              

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(6).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(5).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.3 การวางถุงลมพลาสติก                 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.4 การประกอบบ่อแก๊ส

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.5 การต่อแก๊สมาใช้ในครัวเรือน          

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/L%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 13.6 บ่อแก๊สที่เสร็จสมบูรณ์



รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 29/03/2566 [13951]
85600 108
2 [13948]

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1

กิจกรรมที่ 1

เรื่อง  การทำกระถางจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตร 

วันที่  9 ธันวาคม 2565

ผู้ขอรับบริการ  นางสาวบุษบา เพ็งผ่อง

ผู้ให้คำปรึกษาดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ

สถานที่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

ผลการให้คำปรึกษา นางสาวบุษบา เพ็งผ่อง อาจารย์โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม ขอรับคำปรึกษาการทำกระถางจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งดร.นันทยา เก่งเขตร์กิจ ได้บรรยายวิธีและขั้นตอนการทำส่วนผสมที่จะขึ้นรูปกระถาง พร้อมแนะนำการปรับปรุงสูตรการผสมให้ขึ้นรูปได้อย่างสวยงาม อาจารย์จะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนที่โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคมนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ต่อไป

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/A%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.1 ปรับปรุงสูตรวัสดุทำกระถาง  

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/A%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 1.2 บรรยายวิธีและขั้นตอนการทำส่วนผสม

 

กิจกรรมที่ 2

เรื่อง  เทคโนโลยีการใช้เครื่องขึ้นรูปกระถาง 

วันที่  9 ธันวาคม 2565

ผู้ขอรับบริการ  นายภาณุวัฒน์ ขวัญอ่อน

ผู้ให้คำปรึกษาอาจารย์ศุภชัย ชุมนุมวัฒน์

สถานที่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

ผลการให้คำปรึกษา นายภาณุวัฒน์ ขวัญอ่อน อาจารย์โรงเรียนบึงบัวพิทยาคม ขอรับคำปรึกษาเทคโนโลยีการใช้เครื่องขึ้นรูปกระถาง  ซึ่งอาจารย์ศุภชัย ชุมนุมวัฒน์ ได้บรรยายวิธีและขั้นตอนการใช้งานเครื่องขึ้นรูปกระถาง   อาจารย์จะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนที่โรงเรียนบึงบัวพิทยาคมนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ต่อไป

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/B%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.1 การขึ้นรูปกระถาง   

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/B%20%20(2).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 2.2  กระถางที่ขึ้นรูปแล้ว

 

กิจกรรมที่ 3

เรื่อง  การจัดการด้วงทำลายยอดมะพร้าว 

วันที่  13 ธันวาคม 2565

ผู้ขอรับบริการ  นายพนอม ศรีวัฒนสมบัติ

ผู้ให้คำปรึกษาอาจารย์ศุภกร วงศ์สุข

สถานที่  ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ผลการให้คำปรึกษา อาจารย์และทีมงานได้ลงพื้นที่ไปดูต้นมะพร้าวที่ถูกทำลาย อาจารย์ได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรว่านั้นคือการทำลายที่เกิดจากด้วงแรด ซึ่งด้วงแรดจะชอบกัดกินบริเวณกลางต้นของพืชตกูลมะพร้าวทำให้ต้นมะพร้าวยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก ทางอาจารย์จึงได้สอนวิธีการทำกับดักด้วงแรดซึ่งได้โรยเชื้อราเมตาไรเซียมไว้แล้วเพื่อล่อให้ด้วงแรดที่มากินอาหารนั้นตาย แล้วหลังจากนั้นอาจารย์ได้นำวัสดุอุปกรณ์การขยายเชื้อราเมตาไรเซียมมาสอนให้เกษตรกรได้ขยายเชื้อราไว้ใช้เองเพราะกองกับดักด้วงแรดจะต้องคอยเติมเชื้อราเมตาไรเซียมทุก 1 เดือน และรอไปติดตามผลต่อไป

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(5).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.1 ดูความเสียหายของต้นมะพร้าว 

   

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(6).jpg   

ภาพกิจกรรมที่ 3.2 วิทยากรอธิบายเกี่ยวกับด้วงแรดที่มาเจาะกินต้นมะพร้าว

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.3 การทำกองกับดักด้วงแรด 

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(2).jpg

 ภาพกิจกรรมที่ 3.4 การปิดกองกับดักด้วงแรด             

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.5 วัสดุอุปกรณ์ในการขยายเชื้อราเมตาไรเซียม

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/C%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 3.6 การสอนให้เกษตรกรขยายเชื้อใช้เอง

 

กิจกรรมที่ 4

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 ร่วมจัดนิทรรศการในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field day) ปี 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านคลองตาล หมู่ที่ 8 ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 

ผู้รับบริการ                 :  เกษตรกร

จำนวนผู้รับบริการ        :  62 คน

วันที่ดำเนินการ            :  วันที่ 27 ธันวาคม 2565

วิทยากรและทีมงาน      :    1. นางพรวิภา สะนะวงศ์

                                       2. นางสาวสุจริตพรรณ บุญมี

                                       3. นางสาวณัฐชญา สายคำวงศ์

                                       4. นายดำรงศักดิ์ สุวรรณศรี

                                       5. นางสาวสุรีย์รัตน์ บัวชื่น

                                       6. นางสาวชฎาพร ประทุมมา

                                       7. นางสาวอริสรา ทองทุม (นักศึกษา)

                                      8. นางสาวนราทิพย์ สุทธิโส (นักศึกษา)

                                      9. นางสาวจิตรทิพย์ พรมสี (นักศึกษา)

                                     10. นางสาวอรจิรา งามพิษ (นักศึกษา)

                                      11. นางสาวลักษณารีย์ ปาปะพัง (นักศึกษา)

                                      12. นางสาวอรัญญา บุญเกิน (นักศึกษา)

                                      13. นางสาววิมลรัตน์ สีสุวงค์ (นักศึกษา)

เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอด :    - การเพาะกล้านาโยน

       - ปลูกข้าวนาโยน

ผลการดำเนินงาน        :   วิทยากรได้สาธิตการเพาะกล้านาโยนโดยวิธีการผสมดิน+อินทรียวัตถุ การวางถาดเพาะปลูก การโรยเมล็ดข้าวปลูก การโรยดินกลบเมล็ดข้าวปลูก การนำถาดไปวาง การให้น้ำ และสาธิตปลูกข้าวนาโยนโดยวิธีการถอนกล้า การเก็บรักษากล้าก่อนโยน การเตรียมแปลงนาในการโยน การโยนกล้า การให้น้ำระยะต้นกล้า และการดูแลรักษาและป้องกันแมลงศัตรูพืชในนาข้าว แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมจำนวน 62 คน ซึ่งเป็นการทำนาแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และเป็นความรู้ใหม่ๆในการใช้เครื่องมือทางการเกษตรเพื่อลดแรงคน

ภาพกิจกรรม

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/D%20%20(3).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.1 การโรยเมล็ดข้าวปลูก

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/D%20%20(4).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.2 การโรยดินกลบเมล็ดข้าวปลูก

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/D%20%20(1).jpg

ภาพกิจกรรมที่ 4.3 การโยนกล้าแบบใช้รถ   

 

http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/570/images/D%20%20(2).jpg

 ภาพกิจกรรมที่ 4.4 การดูแลรักษาและป้องกันแมลงศัตรูพืชในนาข้าว

 



รายงานโดย นางสาวชฎาพร ประทุมมา วันที่รายงาน 29/03/2566 [13948]
61250 72