ปค. เสริมศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาข้อเสนอโครงการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่  78

คำสำคัญ : ปค  อีสาน  โครงการ  

ปค. เสริมศักยภาพบุคลากรในการพัฒนาข้อเสนอโครงการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่

เมื่อวันที่  30กันยายน - 3 ตุลาคม 2567ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมศักยภาพเครือข่าย อว. และการพัฒนาข้อเสนอโครงการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 30กันยายน - 3 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ (The Berkeley Hotel Pratunam) กรุงเทพมหานคร

โดยมีหัวข้อการบรรยายดังนี้

1. การผลักดันผลผลิตจากงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ และการจัดทำข้อเสนอโครงการภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดย รศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ ผู้ทรงคุณวุฒิ

2. ยุทธศาสตร์และหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณด้านการ วิจัยของกองทุนส่งเสริม ววน. และการดำเนินงานของหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU)” ภายใต้แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566 - 2570 โดย รศ.ดร. นิรมล สุธรรมกิจ ผู้อํานวยการกลุ่มภารกิจพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลด ความเหลื่อมล้ำ (O-Inclusiveness) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

3. หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและ นวัตกรรมให้ตอบโจทย์แหล่งให้ทุนและการขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ ประโยชน์ โดย รศ.ดร. นวดล เพ็ชรวัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

4. การอภิปรายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการ โดย รศ.ดร. จันจิรา จับศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

 

1.สรุปความรู้ที่ได้รับการอบรมในครั้งนี้และการประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ

1) จุดเริ่มต้นของการวิจัยต้องคิดถึง Outcome ก่อน และต้องกำหนด Outcome ให้ชัดเจนก่อน

2) กำหนดผลผลิต (Output) ที่ชัดชัดเจน โครงการต้องส่งมอบอะไรบ้าง เพื่อให้ผลงานนั้นไปก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงจนบรรลุเป้าหมายที่อยากได้

3) การเขียนโครงการต้องทราบว่าพื้นที่ต้องการอะไร สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หรือเป้าประสงค์ในพื้นที่หรือไม่

4) ต้องศึกษาข้อกำหนด วัตถุประสงค์ของแพลตฟอร์มที่เราต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

5) การจัดทำโครงการต้องหาข้อแตกต่างจากคนอื่น มีข้อมูลการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน

6) การเขียนขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน นอกจากการบรรยายเป็นข้อแล้ว ควรสรุปให้เข้าใจง่ายเป็นแผนภูมิ

7) งบประมาณด้าน ววน. ประเภท Fundamental fund (FF) ยื่นข้อเสนอ ครงการผ่านหน่วยงานต้นสังกัด (สถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐ) โดยข้อเสนอโครงการต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ หน่วยงาน เป็นงานพื้นฐานที่สนับสนุนพันธกิจและความเข้มแข็งของหน่วยงานผ่านระบบ NRIIS นักวิจัยต้องศึกษาแผนวิจัยของหน่วยงานต้นสังกัดก่อนยื่นข้อเสนอ

8) ทุนวิจัย Strategic fund ผ่าน PMU Strategic fund (SF) ยื่นข้อเสนอโครงการผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ได้แก่ บพข. บพท. บพค. วช. สนช. สวรส. สวก.ฯลฯ โดยข้อเสนอโครงการต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการเปิดรับสมัครทุนวิจัยตามโปรแกรมภายใต้แผนด้าน ววน. ที่ PMU รับผิดชอบ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 13 แผนงานสำคัญ 24 แผนงาน 52 แผนงานย่อย ผ่านระบบ NRIIS ใน ระยะเวลาที่ PMU ประกาศ ซึ่งอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละ PMU นักวิจัยต้องศึกษา P และ OKR ของ PMU ก่อนยื่นข้อเสนอ

9) ทุนโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology development fund) หรือ ST

เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสารสนเทศ  ด้านคุณภาพของประเทศ การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมการยกระดับการให้บริการ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ความสามารถในการรับและถ่ายทอดเทคโนโลยี ความสามารถในการผลิตและบริการ การสร้างและพัฒนากำลังคน

7) การเขียน Impact Pathway หรือ เส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัย ทำให้เห็นความสำคัญของโครงการที่เสนอขอรับทุนว่ามีความร่วมมือหรือการร่วมทุนกับผู้ใช้ประโยชน์ และสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบในการเพิ่มความสามารถในแข่งขันให้กับประเทศในด้านต่าง ๆ ได้อย่างไร โดยImpact Pathway ประกอบด้วย Input Output Outcome และ  Impact

8) หลังจากฟังการบรรยายแล้ว ในส่วนของกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) หัวข้อ “ฝึกปฏิบัติการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ สอดคล้องกับปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ (Pain point) การเขียนผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของงานวิจัย และการขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ ประโยชน์” ให้อยู่กลุ่ม โครงการที่มุ่งเน้นด้านอัตลักษณ์พื้นถิ่น (soft power ด้านอาหาร) โดยในกลุ่มได้ระดมความคิดเห็นในการจัดทำยกระดับ Soft Power และพัฒนาศักยภาพอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยมีกิจกรรมสำคัญดังนี้

กิจกรรมปีที่ 1

กิจกรรมปีที่ 2

กิจกรรมปีที่ 3

1) พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ

1) บ่มเพาะผู้ประกอบการ

1) ยกระดับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ได้รับมาตรฐานสู่สากล

2) บ่มเพาะผู้ประกอบการ สร้างสรรค์เมนูอาหารอัตลักษณ์พื้นถิ่น

2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และตรวจคุณค่าทางโภชนาการ

2) ส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน

3) สร้างโปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารอัตลักษณ์

3) ส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดและประชาสัมพันธ์

3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียนsuccess case

4) การติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน

 

4) การติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน

4) การติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน

 

2. ข้อเสนอแนะ

1) ควรวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของพื้นที่ และกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่โดยให้สอดคล้องกับการพัฒนาภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะกำหนดแผนงานในการพัฒนาพื้นที่ตามแผนภาคในเรื่องเกษตรมูลค่าสูง ควรมุ่งเน้นในเรื่องดังกล่าวในระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้เห็นผลชัดเจน หรืออาจจะกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เช่นการกำหนดจังหวัดที่จะดำเนินโครงการและจัดทำข้อเสนอโครงการในพื้นที่จังหวัดนั้น 3-5 ปีเช่นเดียวกัน พร้อมกับการ Matching หน่วยงานในสังกัด อว. เพื่อลงไปพัฒนาพื้นที่เป้าหมายนั้นๆ เช่นกัน เพื่อจะทำให้ได้โมเดลในการพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

2) สร้างความสัมพันธ์และการรับรู้กับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ ในกรณีที่เราตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการในพื้นที่นั้น โดยการจัดเวทีเสวนาหรือการประชุมกับชุมชนและหน่วยงาน

3) ควรศึกษาความต้องการของแหล่งทุนต่างๆ และจัดทำ Check list ที่ข้อเสนอโครงการต้องมี เพื่อให้การจัดทำข้อเสนอโครงการตรงกับกรอบแนวทางของแหล่งทุน เพิ่มโอกาสในการได้รับการพิจารณาทุน

4) อาจจะใช้เครื่องมือหรือข้อมูลที่มีการเก็บสถิติไว้แล้วมาประกอบการวิเคราะห์เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการเช่น ข้อมูลจังหวัดยากจน จากระบบ TPMAP (Thai Poverty Map and Analytics Platform) ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ข้อมูลการวิเคราะห์ทางสถิติต่างๆ ในระดับพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน

 

 


เขียนโดย : น.ส.วิลาวรรณ  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : wilawan.n@most.go.th