ธุรกิจ เดินด้วยโมเดลธุรกิจ  105

คำสำคัญ : bmc  ธุรกิจ  

โมเดลธุรกิจพลิกโลก? เมื่อผู้เล่นจีนหน้าใหม่กำลังรุกเข้ามาในธุรกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ย่อมปฎิเสธไม่ได้ว่าก็มีผู้เล่นในไทยหลายธุรกิจที่หายไป
.


และแน่นอนว่ามีหนึ่งแบรนด์ใหญ่ของจีนที่เข้ามาท้าทายผู้เล่นในตลาดเครื่องดื่มประเภทไอศกรีมและเครื่องดื่มชาผลไม้
.
และใหญ่ขนาดไหน? ใหญ่ขนาดที่มีสาขาที่มากติด 1 ใน 5 ของโลก
.
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ แน่นอนว่าเริ่มต้นจากสาขาเล็กๆเพียง 1 สาขา แถมขาดทุนจนต้องเลิกกิจการไปก่อน
.
แล้วกลับมาสร้างความสำเร็จยิ่งใหญ่เป็นแสนล้านได้อย่างไร? ซึ่งแน่นอนว่าความยิ่งใหญ่ขนาดนี้ย่อมสร้างความตื่นตระหนกแก่ผู้ประกอบการคนไทยอย่างแน่นอน
.
แต่แทนที่เราจะกลัว เรากลับไม่กลัวและเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้รูปแบบความสำเร็จเพื่อนำไปประยุกต์กับธุรกิจ
.
เพื่อเรียนรู้และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกันที่เหนือกว่า
.
กรรมกรธุรกิจกำลังเล่าเคสธุรกิจเครื่องดื่มที่มีชื่อว่า "มีเส่ว" (Mixue) กันครับ
.
"มีเส่ว" (Mixue) คืออะไร? และมีที่มาจากไหน?
.
แน่นอนว่า "มี่เส่ว" (Mixue) คือแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน และขยับขยายกว่า 11 ประเทศทั่วโลก และ 1 ในนั้นก็คือในไทยที่เริ่มเห็นสาขากันบ้างแล้ว
.
โดยความสำเร็จเริ่มต้นมาจากการหาเงินระหว่างเรียนหนังสือของ “จาง หงเซา”(Zhang Hongcho) นักศึกษาปี 4 ที่กำลังศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์
.
โดยการทำงานเป็นลูกจ้างร้านขายน้ำแข็งไสจนมีประสบการณ์ก็เริ่มออกมาทำกิจการของตัวเอง
.
เราสามารถเข้าใจตัวตนของ “จาง หงเซา”(Zhang Hongcho) ในวัยเด็กที่แม้กำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่ก็มีความคิดทางธุรกิจและมีการพัฒนาตัวเองเติบโตอย่างต่อเนื่อง
.
จากการเริ่มต้นเป็นลูกจ้างที่ได้เงินจำกัดมาเป็นเจ้าของกิจการที่สามารถสร้างฐานรายได้มากขึ้นหรือลดลงได้
.
ซึ่งตอนนั้นเขาก็คิดแต่นั้นจริงๆ ขนาดตัวเขาเองที่เรียนเศรษฐศาสตร์ที่มีการสอนแนวคิดการทำธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็น การทำแผนธุรกิจ การวิเคราะห์โครงการ การทำ SWOT หรืออื่นๆ
.
แต่สิ่งที่เขาทำก็คือ วางตำราต่างๆลงบนโต๊ะ แล้วลงมือปฎิบัติ เรียนรู้ และทำให้รอดก็เพียงพอ
.
เมื่อเขาเปิดร้านน้ำแข็งใสปรากฎว่าเขาสามารถขายมีรายได้มากกว่า 500 บาท/วัน ซึ่งมากกว่าค่าแรงที่จ้างเขาเป็นลูกจ้างเสียอีก
.
แต่ก็เกิดปัญหาอย่างนึงที่ขึ้นมาก็คือ ช่วงฤดูกาล เพราะถ้าช่วงหน้าร้อนเขาจะขายดีมาก
.
แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวจะขายไม่ได้เลย ทำให้ต้องปิดกิจการล้มเลิกไป
.
แต่หลังจากนั้นเมื่อเรียนจบ "จาง หงเซา" (Zhang Hongcho) ก็ได้กลับมาเปิดธุรกิจตัวเดิมต่อ ซึ่งสถานะตอนนี้กับตอนที่เขาทำปีที่แล้วไม่เหมือนกัน
.
ไม่เหมือนกันอย่างไร?
.
นั่นก็คือ ปีที่แล้วเขาหาเงินเพื่อเป็นรายได้เสริม แต่ปัจจุบันเป็นการเปิดร้านเพื่อสร้างฐานะ
.
แล้วทำไมเขาถึงหันกลับมาทำธุรกิจเดิม? เพราะตอนนี้เขามีทั้งความรู้ ประสบการณ์ และเงินจำนวนหนึ่งที่สามารถเขียนแผนธุรกิจอื่นๆได้
.
นั่นก็เพราะเขาคิดว่า "สินค้าอะไรก็ไม่สำคัญ แต่ขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจต่างหากที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ"
.
ในครั้งแรกเขาติดปัญหาเรื่องฤดูกาลหนาวที่ยาวนานที่ไม่สามารถขายน้ำแข็งใสได้ ซึ่งเป็นการยึดแต่โมเดลธุรกิจตัวเดิมก็คือ น้ำแข็งใส กับ ลูกค้า ที่มีตัวแปรเรื่องอากาศ
.
ซึ่งพอมารอบนี้เขาเพิ่มมิติของสินค้าให้หลากหลายเข้าไป อย่างเครื่องดื่มชานมเพิ่มเข้าไป หรือแม้แต่สินค้าเดิมอย่างน้ำแข็งใสก็เปลี่ยนให้มีลูกเล่นใหม่มากยิ่งขึ้น
.
รวมถึงการสร้างแบรนด์ "มี่เสว่ ปิงเฉิง"(Mixue Bingcheng) ขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าจำตัวตนของธุรกิจได้
.
และสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ต่างๆในโลกธุรกิจได้ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดของ "จาง หงเซา" (Zhang Hongcho) ในรอบนี้ก็คือ
.
"การคิดโดยยึดโมเดลธุรกิจเป็นหลัก" และเพิ่มโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้นมาหลากหลายตัวเข้าไป ที่เห็นเด่นชัดอย่างน้อยคือ 3 โมเดลธุรกิจก็คือ
.
ไม่ว่าจะเป็น โมเดลธุรกิจแบบการขยายสินค้า (Product Diversification) เพราะเมื่อสินค้าที่หลากหลายขึ้นสามารถจับกลุ่มความต้องการของลูกค้าได้มาก
.
และโมเดลธุรกิจแบบมีภาพลักษณ์(Branding) เพราะธุรกิจที่มีแบรนด์หรือไม่มีแบรนด์ ย่อมมีความแตกต่างกัน
.
และแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดก็คือ "ความเชื่อมั่น" เพราะลูกค้าย่อมอยากซื้อของกับสินค้าที่มีแบรนด์มากกว่า
.
โมเดลธุรกิจแบบการปรับเปลี่ยนธุรกิจตามสถานการณ์ (Adaptation) เมื่อเขาไม่สามารถขายน้ำแข็งใสในฤดูหนาวได้ก็หาทางปรับเปลี่ยนใหม่ๆเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการหาสินค้าอื่น ทำเลอื่น
.
เมื่อโมเดลธุรกิจของ "มี่เสว่" (Mixue) มีความหลากหลาย ทำให้ธุรกิจมีการเติมโตขึ้นเป็นอย่างมาก ก็สามารถขยับขยายสาขามากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างรายได้และกระแสเงินสดเข้ามา
.
จนในที่สุดในปีค.ศ.1999 ก็มีสินค้าใหม่จากญี่ปุ่นเข้ามาในจีนที่เรียกว่า
.
"ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ"(Softserve Icecream)
.
ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมและเป็นกระแสอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าอะไรที่เป็นสิ่งใหม่และกำลังได้รับความนิยม ตามทฤษฎีราคาแล้วผู้ขายสามารถตั้งราคาสูงไว้ก่อนได้
.
ซึ่งแน่นอนว่า ไอศกรีมตัวนี้มีราคากว่า 50 บาทเลยทีเดียว
.
ทำให้ "มี่เสว่" (Mixue) เห็นช่องทางของธุรกิจจึงทำไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟออกมาเช่นกัน
.
โดยพัฒนาทั้งสูตรไอศกรีมและโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้นมา เพราะในเมื่อคู่แข่งมีการตั้งราคาขายที่สูง
.
ดังนั้นสิ่งที่เขาจะแข่งก็คือ "ทำขายในราคาที่ต่ำ" และที่สำคัญต่ำแบบไม่ใช่ถูกกว่านิดหน่อย เพราะถ้ามีผู้เล่นรายอื่นทำถูกกว่า ก็จะมีปัญหาทางธุรกิจทันที
.
ดังนั้นเขาต้องทำแบบถูกกว่ามาก มากจนแบรนด์อื่นไม่สามารถทำแข่งขันได้ เมื่อคู่แข่งตั้งราคา 50 บาท เขาจะตั้งราคาขายแค่ 5 บาทก็พอ
.
ด้วยโมเดลธุรกิจนี้ทำให้ไอศกรีมของ "มี่เสว่" (Mixue) ขายดีจนคนต่อแถวยาวเพื่อรอซื้อ ทำให้มีคนสนใจที่อยากจะขอซื้อแฟรนไชส์เกิดขึ้น
.
แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากว่า ถ้านี่คือ "Turn-based Strategy" แล้วล่ะก็
.
ทำไมคู่แข่งไม่เดินหมากลงมาเล่นเกมราคาด้วย? ส่วนหนึ่งก็เพราะคู่แข่งมองกลุ่มลูกค้าคนละกลุ่มกัน
.
และส่วนที่สำคัญอีกส่วนก็คือ "มี่เสว่" (Mixue) ลดราคาลงมาแรงมาก การที่คู่แข่งลดราคาต่ำกว่านี้อาจจะไม่สามารถอยู่ได้ทางธุรกิจจึงไม่เลือกเล่นเกมราคา
.
แต่คำถามสำคัญก็คือ "มี่เสว่"(Mixue) ทำต้นทุนลงมาที่แข่งขันขนาดนี้ได้อย่างไร?
.
ซึ่งแน่นอนว่า การแข่งขันทางด้านราคาซึ่งขึ้นกับสมการพื้นฐานที่เรียกว่า "กำไร" กับ "ต้นทุน"
.
ถ้าสามารถบีบกำไรให้ได้น้อยลงแล้วก็สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง "มี่เสว่" (Mixue) คำนวนแล้วว่าไม่มีปัญหา
.
เพราะธุรกิจสามารถขายกำไรต่ำแต่เน้นปริมาณ หรือ ขายสินค้าตัวนี้ราคาต่ำเพื่อเรียกลูกค้าแล้วไปเน้นกำไรตัวอื่นแทน
.
นี่คือการเล่นโมเดลธุรกิจในฝั่งที่ตั้งราคาขายให้ถูกกว่าผู้เล่นอื่นจำนวนมาก .
.
และแน่นอนว่าฝั่งด้านต้นทุนก็ใช้รูปแบบในการลีนกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดการและบริหารซัพพลายเชนให้ดีขึ้น
.
ซึ่งแน่นอนว่าทาง "มี่เสว่" (Mixue) ต้องทำทั้ง 2 มิติไปพร้อมกัน และดูเหมือนง่ายแต่ความจริงไม่ง่ายเลยโดยเฉพาะฝั่งต้นทุนเพราะเป็นการใช้ฝีมือการวางแผน บริหารจัดการเป็นอย่างมาก
.
และปัจจัยสำคัญที่ทำให้ "มี่เสว่" (Mixue) สามารถขับเคลื่อนทั้ง กำไร x ต้นทุน ได้ดีที่สุด
.
ก็คือ การขยายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินตัวเองหรือการเปิดแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุน
.
ซึ่งแน่นอนว่า "มี่เสว่"(Mixue) มีการขายสินค้าที่ราคาต่ำเป็นตัวนำร่อง ต่อให้มีลูกค้ามาสนใจที่ซื้อของกินจากร้านนี้อยู่แล้วก็ตาม
.
แต่สำหรับนักลงทุนแล้วล่ะก็ ต้องมีคำถามมากมายไม่ว่าจะเป็น
.
ทำธุรกิจนี้แล้วกี่ปีจะคืนทุน?
.
ลงทุนเยอะขนาดนี้แล้วจะไปรอดมั้ย?
.
ขายสินค้าราคาถูกแบบนี้เหนื่อยแย่เลย?
.
ซึ่งในมุมเจ้าของกับนักลงทุน ถึงแม้ว่าจะต้องการกำไรเหมือนกัน แต่มีมุมมองที่แตกต่างกัน
.
นั่นก็คือ "การมองของเจ้าของธุรกิจจะเน้นการขยายและรักษาต้นทุนต่ำเพื่อสร้างกำไรยั่งยืน"
.
ขณะที่ "การมองนักลงทุนกังวลเรื่องความเสี่ยงและระยะเวลาคืนทุน"
.
ดังนั้นสิ่งที่ "จาง หงเซา" (Zhang Hongcho) ทำก็คือ ลดความเสี่ยงและสร้างกำไรให้มากขึ้นแทน
.
โดยการปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมต่างๆในการซื้อแฟรนไชส์ของ "มี่เสว่" (Mixue) แทน ทั้งค่าธรรมเนียมแบบคงที่และแบบขึ้นอยู่กับยอดขาย
.
เพื่อให้นักลงทุนมีกำไรที่มากขึ้นและคืนทุนได้เร็ว และทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนลดลงในทันที
.
ไม่ว่าจะเป็นการค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่ถูกมากกว่าแบรนด์อื่นๆ รวมถึงค่าการตลาดและค่าโฆษณาที่ไม่คิด
.
โดยสิ่งที่ทาง "มี่เสว่" (Mixue) ต้องการก็คือ "ค่าวัตถุดิบ" เป็นหลัก
.
ซึ่งถ้ามองตรงนี้ก็จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ "มี่เสว่"(Mixue) แล้วครับว่าโมเดลธุรกิจที่เขาต้องการคือ
.
"โมเดลธุรกิจที่มุ่งเน้นขายวัตถุดิบเป็นหลัก" (Focus on Raw Materials Revenue)
.
แต่การที่จะขายของถูกแล้วไม่มีคุณภาพย่อมทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนต่อธุรกิจ
.
ดังนั้นจำเป็นต้องวิจัย พัฒนาสูตรทั้งเครื่องดื่ม ไอศกรีม ให้มีรสชาติอร่อยถูกปาก ไม่เว้นแม้แต่แพคเกจอย่างแก้วที่ต้องออกแบบให้ดูพรีเมียมและดูดี
.
รวมถึงการออกแบบโลโก้ที่เป็นตัวการ์ตูนรูป ตุ๊กตาหิมะ(Snow King)ที่ออกแบบเป็นตุ๊กตาหิมะสวมมงกุฎที่ต้องการสื่อว่า "เป็นเบอร์หนึ่งเรื่องผลิตภัณฑ์น้ำแข็งใสหรือความเย็นต่างๆ"
.
เมื่อสินค้ามีคุณภาพและราคาถูกเป็นด่านหน้าในการดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน ทำให้การขยายสาขาจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายแต่ก็ต้องวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม
.
ไม่ใช่ว่าสินค้าดีและราคาถูกจะสามารถวางขายได้ทุกที่
.
แต่จำเป็นต้องวางสินค้าและราคาให้เหมาะสมกับลูกค้าต่างหากนี่คือสิ่งที่ "มี่เสว่"(Mixue) คิดและวางแผน จึงเลือกวางสาขาต่างๆไว้แหล่งใกล้โรงเรียน มหาลัย ชานเมือง
.
หรือแม้กระทั่งเมืองลำดับที่ 3 และ 4 ของจีนเป็นหลักก่อน(ก็เหมือนบ้านเราก็มีเมืองหลวง เมืองรอง แต่ที่จีนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ)
.
ถ้ามองในรูปแบบโมเดลธุรกิจที่ทาง "จาง หงเซา"(Zhang Hongcho) ใช้เพื่อในการสร้างชัยชนะก็คือ
.
"โมเดลธุรกิจแบบป่าล้อมเมือง" (Encirclement Business Model) นั่นก็คือ
.
"จับตลาดรอง" เป็นการสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคงและพัฒนาแบรนด์ได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
.
"ลดความเสี่ยง" ไม่เจอกับคู่แข่งรายใหญ่และช่วยให้บริษัทสามารถสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง
.
"สร้างแบรนด์ในระดับท้องถิ่น" การทำแบรนด์ในท้องถิ่นย่อมสร้างแบรนด์ได้ง่ายกว่าอยู่ในเมืองหลวง
.
เมื่อร้าน "มี่เสว่"(Mixue) มีการขยายเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณวัตถุดิบต่างๆที่ป้อนให้แต่ละสาขาก็มีจำนวนมากขึ้น
.
นอกจากการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดีแล้ว การสร้างโรงงานผลิต โกดังกระจายสินค้า เพื่อควบคุมต้นทุนและมาตรฐานก็มีประสิทธิภาพได้ดีขึ้นอย่างมาก
.
มากขนาดไหน? ลองดูต้นทุนวัตถุดิบของ "มี่เสว่"(Mixue) ที่ทำได้ถูกกว่าคู่แข่งเกือบ 20%
.
เช่น ชานมไข่มุก แก้วละ 50 บาท แต่ มี่เสว่ (Mixue) ขายเริ่มต้นที่ 25 บาท
.
ส่วนไอศกรีมโคนที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท ทางมี่เสว่ (Mixue) ขายเพียง 15 บาท
.
เมื่อต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งโดยที่คุณภาพไม่แตกต่างกัน ก็สามารถนำส่วนลดตรงนี้เป็นการชดเชยในส่วนที่ตั้งราคาขายถูกลงมาได้
.
เพื่อทำให้สามารถขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบแฟรนไชส์สำหรับนักลงทุนที่สนใจ
.
แต่ถ้าคิดว่ารายได้มาจากค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์เป็นส่วนใหญ่แล้วล่ะก็ บอกได้เลยครับว่าไม่ใช่
.
เพราะถ้าแตกรายได้ของโมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของ "มี่เสว่" (Mixue) จะเห็นได้ชัดว่า
.
กว่ารายได้ 70% มาจากการขายวัตถุดิบให้สาขา
.
และกว่า 20% ก็มาจากการขายบรรจุภัณฑ์
.
ส่วน 10% ที่เหลือก็เป็นรายได้จากค่าธรรมเนียต่างๆ ซึ่งน้อยมากและทาง "มี่เสว่"(Mixue) ไม่ได้เน้นรายได้ในส่วนนี้เป็นหลักอยู่แล้ว
.
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าสามารถขยายสาขาได้มากเท่าไหร่ การขายวัตถุดิบในรูปแบบต่างๆก็ขายได้มากยิ่งขึ้น
.
ถ้าเป็นร้านของ "มี่เสว่"(Mixue) โดยตรงก็สามารถขายสินค้าเพื่อต่อยอดกำไรจากวัตถุดิบเพิ่มขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ก็ได้รายได้จากวัตถุดิบโดยตรง
.
ถึงแม้ว่าการขยายร้านด้วยตัวเองจะต่อยอดกำไรได้มากกว่าแต่ก็อย่าลืมว่าก็ต้องใช้เงินลงทุนเช่นกัน ถึงแม้ว่า "มี่เสว่"(Mixue) จะมีเงินสดและกระแสเงินสดที่ดี
.
แต่การที่เงินสดลงไปกับการขยายสาขาจำนวนมากก็ถือเป็นความเสี่ยงเช่นกัน
.
เมื่อขยายทั่วประเทศจีนได้สำเร็จก็ทำการขยายต่อไปยังต่างประเทศโดยใช้โมเดลธุรกิจเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำเลรองเป็นหลัก
.
จนทำให้ "มี่เสว่"(Mixue) มีสาขามากกว่า 36,000 สาขาทั่วโลก และมากเป็นอันดับ 4 ของโลก แซงหน้า KFC และเป็นรองเพียง McDonald's, Subway, Starbucks เท่านั้น
.
และการตั้งราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งด้วยสินค้าที่มีคุณภาพดีไม่แตกต่างกัน แถมเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้มากขึ้น และสินค้าบางชนิดก็รสชาติอร่อยถูกปากแถมเป็นไวรัลที่ทำให้ผู้คนอยากทดลอง
.
เช่น น้ำมะนาวที่สดชื่น อร่อย และเริ่มต้นในราคาเพียง 15 บาท
.
รวมถึงการมีสินค้าที่ราคาถูกและสูงขึ้นในเมนูเครื่องดื่มทำให้ "มี่เสว่" (Mixue) สามารถสร้างรายได้ทั้งเมนูราคาต่ำที่มีกลไกราคาเป็นตัวดึงดูด
.
และเมนูราคาสูงขึ้นมาที่มีรสชาติ คุณภาพ ความแปลกใหม่เป็นกลไกในการดึงราคา
.
ทำให้นอกจากจะชนกับผู้เล่นที่อยู่กลุ่มธุรกิจเดียวกันแล้ว ก็ยังจะชนกับผู้เล่นเครื่องดื่มกลุ่มอื่นด้วยราคาและคุณภาพของสินค้าที่มีหลายมิติในการแข่งขัน
.
อย่างเช่น ถ้าอยากจะหาเครื่องดื่มทานไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม กาแฟ แต่พอมาเจอเครื่องดื่มที่ราคาถูกกว่าอย่าง มี่เสว่ (Mixue) ก็อาจเปลี่ยนใจมาดื่มได้
.
จนทำให้ มี่เสว่ (Mixue) สามารถสร้างรายได้มากกว่า 7.63 หมื่นล้านบาท และมีกำไรกว่า 1.19 หมื่นล้านบาท ถ้าเทียบกำไรต่อสาขาโดยยึดที่ 36,000 สาขา จะพบว่า
.
กำไรต่อสาขาอยู่ที่ 360,000 บาท/ปี ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่เหมาะสมในการทำธุรกิจและสำหรับนักลงทุนเฟรนไชส์
.
ดังนั้นการที่ "มี่เสว่"(Mixue) มีจำนวนสาขามากขนาดนี้เป็นสิ่งที่ตั้งใจเพื่อให้สามารถควบคุมการผลิตและขายต่อขนาดได้ (Economy of scale) และมีความแข็งแกร่งของระบบหลังบานที่เรียกว่าการจัดการ
.
ซึ่งทำให้โมเดลธุรกิจของ "มี่เสว่" (Mixue) สามารถยกเข้าไปในประเทศไหนในโลกก็ได้ แถมยังสร้างจุดแข็งที่ได้เปรียบในทันที
.
กรรมกรธุรกิจขอสรุปรายได้ธุรกิจเครื่องดื่ม มี่เสว่ (Mixue) กันครับ
.
1.รายได้จากการขายเครื่องดื่มหลัก ชานมไข่มุก ชามะนาว มิลค์เชค และไอศกรีม
.
2.รายได้จากการขายสินค้าเมนูราคาถูกกว่าคู่แข่ง
.
3.รายได้จากการขยายสาขาต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
.
4.รายได้จากการขายเมนูที่หลากหลายจำนวนมาก
.
5.รายได้ส่วนเพิ่มจากการเพิ่ม Topping, ขนาดแก้ว และอื่นๆ
.
6.รายได้จากการเปิดแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียม และอื่นๆ
.
7.รายได้ส่วนเพิ่มจากการบริหารควบคุมต้นทุน
.
8.รายได้จากการขายวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ให้ร้านแฟรนไชส์
.
9. รายได้จากการขายสินค้า อุปกรณ์เสริมและของที่ระลึก
.
10.รายได้จากการเปิดตัวเมนูใหม่ๆ โปรโมชั่น
.
11.รายได้จากการลงทุนธุรกิจอื่นๆจากกระแสเงินสดที่มี
.
จะเห็นได้ว่า มี่เสว่ (Mixue) เป็นร้านเครื่องดื่มที่มาจากประเทศจีน ซึ่งดูแล้วก็เหมือนร้านเครื่องดื่มทั่วๆไปในประเทศไทย แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปนี่คือการยกโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่งเข้ามาปะทะผู้เล่นต่างๆในไทยโดยตรง
.
เมื่อโมเดลธุรกิจของธุรกิจไหนมีความแข็งแกร่งและหลากหลายกว่าย่อมสามารถสร้างความได้เปรียบของทางธุรกิจได้
.
ซึ่งจะเห็นได้จาก มี่เสว่ (Mixue) มีความแข็งแกร่งของโมเดลธุรกิจการลดต้นทุนและการขยายสาขาเป็นอย่างมาก
.
ดังนั้นกรรมกรธุรกิจหวังว่าเคสธุรกิจนี้จะสร้างแนวคิด แรงบันดาลใจ ความรู้และประสบการณ์แก่นักธุรกิจไทยเพื่อนำไปต่อยอดสร้างธุรกิจแก่ประเทศไทยให้แข็งแกร่ง
.
เพราะกรรมกรธุรกิจเชื่อมั่นว่า นักธุรกิจไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ครับ
.
#กรรมกรธุรกิจ
#bizlabor
#Mixue
#Mixue_canvas 


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th