ถอดบทเรียน (กิจกรรมประกวดนวัตกรรม และแฟชั่นโชว์ ในงาน อว.แฟร์) : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอร่วมสมัยฯ  99

คำสำคัญ : อว.แฟร์  ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ  แฟชั่น    กิจกรรมประกวด  ข้อเสนอแนะ  พัฒนางาน  

กิจกรรม“การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอร่วมสมัยด้วยนวัตกรรม และประกวดการพัฒนาผลิตภัณฑ์”

กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดกิจกรรม “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอร่วมสมัยด้วยนวัตกรรม และประกวดการพัฒนาผลิตภัณฑ์” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม

(1) การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการเพิ่มมูลค่าและยกระดับคุณภาพ/มาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ผสมผสานความร่วมสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์การใช้งาน/ตรงตามความต้องการของตลาด

(2) กิจกรรมการประกวดและเผยแพร่ผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะจัดขึ้นภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND)

โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวข้อง และได้รับมอบหมายในการประสานผู้รับดำเนินการ และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ  ซึ่งในปีนี้ ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลา ภาระงานของแต่ละท่าน จึงทำให้ต้องมีการปรับแผนและกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับข้อจำกัดต่างๆ  จากข้อค้นพบตรงนี้ จึงคิดว่าถ้ามีการนำหลักการหรือแนวทางปฏิบัติที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงงานในปีต่อไป หรือมีส่วนช่วยให้งานมีประสิธิภาพ และบรรจุเป้าหมายตามที่เจ้าของงานมุ่งหวัง (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราในฐานะผู้มีส่วนร่วมในงานนี้ แม้จะไม่ใช่ตัวหลัก แต่ก็น่าจะต้องมีการเรียนรู้กระบวนการในการปรับปรุงให้งานมีประสิทธิภาพเช่นกัน เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต็ได้กับทุกงาน)

ดังนั้นจากการทำงานมา 2 ปี จึงเห็นว่าหากเราควรมีหลักการในการทำงาน ดังต่อไปนี้ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ และผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ดังนี้

1. จัดลำดับความสำคัญ
การประเมินความสำคัญของงานจะช่วยลดแรงกดดันลงได้ เพราะเมื่อรู้ว่าต้องทำอะไรก่อน จะช่วยให้คุณโฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำได้ดีขึ้น เมื่องานชิ้นนี้เสร็จไป คุณจะรู้สึกได้ถึงความสำเร็จ และมีความมั่นใจที่จะลงมือทำงานชิ้นต่อไป นอกจากนี้ คุณควรกล้าที่จะปฏิเสธงานที่เข้ามาแบบกะทันหันบ้าง อย่ารับงานมาโดยที่ไม่แน่ใจว่าจะทำทันหรือไม่ ถ้าหากงานคุณล้นมือเกินไป อาจทำให้งานของคุณไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะไม่ได้งานเลยก็ได้!

ที่จริงแล้ว มนุษย์เราสามารถทำงานให้ออกมาดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดแค่ทีละอย่าง ดังนั้น หากยังจัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ให้ลองใช้ “ตารางไอเซนฮาวร์ (Eisenhower’s Matrix)” มาช่วยจัดลำดับการทำงาน

-สำคัญและเร่งด่วน (Important & urgent)
-สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important, but not urgent)
-ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Urgent, but not important)
-ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน  (Not important, not urgent)

2. ฝึกใช้สติและมีสมาธิ
หัวใจสำคัญในการทำงานภายใต้แรงกดดัน คือการควบคุมตนเองให้ได้ ดังนั้น คุณจึงควรฝึกใช้สติและมีสมาธิให้มากขึ้น เพราะสติและสมาธิจะช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองภายใต้แรงกดดันได้ดีขึ้นเมื่อต้องทำงานต่อในสภาพที่จิตใจไม่พร้อมเท่าที่ควร ซึ่งถ้าหากคุณสติแตก ก็ยิ่งทำให้คุณไปต่อไม่ถูก และกดดันมากกว่าเดิม นอกจากนี้สติและสมาธิก็ช่วยในการปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะพร้อมทำงานได้เพิ่มขึ้นด้วย

3. เก็บประสบการณ์และทบทวนตัวเองในช่วงที่ผ่านมา
“ประสบการณ์ คือ ครูที่ดีที่สุด” ฉะนั้น หากคุณผ่านสภาวะที่ยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี ก็แปลว่าคุณเติบโตและก้าวหน้าไปได้อีกขั้นแล้ว และหากคุณลองกลับมาทบทวนวิธีการรับมือกับความกดดัน วิธีแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์ของตนเองในสภาวะคับขันในช่วงที่ผ่านมา จะทำให้คุณรู้ข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุง และได้เรียนรู้การพัฒนาวิธีรับมือให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

4. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน

การสื่อสารทั้งการพูด การแสดงออก และการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแต่ละระดับจะมีผลต่อความสำเร็จของงานที่ทำทั้งสิ้น การสื่อสารสองทางอย่างชัดเจน เป็นมิตร มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และคิดบวก คือเคล็ดลับของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

5. การแก้ปัญหาและตัดสินใจ

เป็นทักษะเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ความมั่นใจในตัวเอง ความมั่นคงทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในข้อมูลและองค์ความรู้ในการทำงาน การคิดค้นและสร้างสรรค์งาน รวมไปถึงทักษะการสร้างการมีส่วนร่วมของทีมงานส่งผลต่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และชัดเจนตรงประเด็น

6. Time Management (การบริหารเวลา) มุ่งเป้าไปที่การวางแผนงานและการควบคุมเวลา เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคุณในเวลาที่จำกัด และช่วยคุณทำความเข้าใจความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง รวมไปถึงเข้าใจสาเหตุที่ไม่สามารถส่งงานตรงตามกำหนดได้

ทักษะการบริหารเวลาคืออัจฉริยภาพของคนๆ นั้น เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ซื่อสัตย์และเที่ยงตรงที่สุดต่อมนุษย์ทุกคนไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ยากดีมีจน เพศ และอายุ ทุกคนมี 24 ชั่วโมงใน 1 วัน 365 วันใน 1 ปีเท่ากัน ดังนั้นความได้เปรียบ เสียเปรียบของคนทำงานจึงอยู่ที่ทักษะการบริหารจัดการเวลาให้เหนือกว่าคนอื่น แล้วความสำเร็จทั้งการงาน  การเงิน และชีวิตส่วนตัวจึงตามมาด้วย

ปัจจัยข้างต้น จำเป็นต้องมีและทำให้เกิดกับทุกคนที่ต้องการประสบความสำเร็จทั้งหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัว เป็น “หัวใจสำคัญ” ของหลักการและแนวทางนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสูงสุดทั้งของตัวเองและองค์กรด้วย

ขอบคุณข้อมูลดีๆจก

https://www.sanook.com/men/67109/

https://www.sanook.com/women/79669/

https://truevirtualworld.com/th/article/priority-management  

 

 


เขียนโดย : อัญชลี  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : anchalee.anchalee@gmail.com