ประชุมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”  34

คำสำคัญ : ปค  อีสาน  แผนพัฒนาภาค  

สวัสดีค่ะ วันนี้ 27 สิงหาคม 2567 มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ณ ห้องประชุม Convention 1 โรงแรมอวานี โอเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสรุปการประชุมได้ดังนี้

ทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจ ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดยพัฒนาภาคเกษตรไปสู่เกษตรสมัยใหม่ เพื่อต่อยอดไปสู่เศรษฐกิจ ชีวภาพ เชื่อมโยงการค้า การลงทุนในภูมิภาค ตามแนวคิดการเป็นฐานการผลิตของประเทศที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เป็นประตูเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (NE Direction) ที่ให้ความสำาคัญกับการพัฒนา 3G ได้แก่ Green พัฒนาเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ พัฒนาโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio Circular Green Economy) และการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน Growth โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการพัฒนาศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ พัฒนาเศรษฐกิจ ฐานราก ท่องเที่ยวชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิต และ Gate ใช้โอกาสจากการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ชายแดน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีภารกิจในการจัดทำเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570) และได้กำหนดประเด็นการพัฒนาสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ เกษตรสมัยใหม่และการท่องเที่ยว ซึ่งในการประชุมนี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเด็นการพัฒนาสำคัญ  “เกษตรสมัยใหม่” ได้กำหนดพืชเศรษฐกิจในการระดมความคิดเห็นตามสินค้าเกษตรสำคัญของภาคเพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ได้แก่ มันสำาปะหลัง อ้อย สมุนไพร

 – วิเคราะห์ผลการพัฒนาของสินค้าการเกษตรกรณีตัวอย่างในช่วงที่ผ่านมา

– วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสู่เกษตรสมัยใหม่

– วิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในภาคเกษตร

– วิเคราะห์ผลการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่

– วิเคราะห์โครงการแต่ละหน่วยงาน และการบูรณาการโครงการร่วมกัน

– กำหนดแผนงาน/โครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

– กำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

โดยในกลุ่มระดมความคิดเห็นและได้กำหนดโครงการระดับภาค ได้แก่ โครงการบูรณาการการแปรรูปอ้อยครบวงจรสู่สากลและยั่งยืน และโครงการระดับจังหวัด ได้แก่ โครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย โดยจะมีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการต่อไป


เขียนโดย : น.ส.วิลาวรรณ  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : wilawan.n@most.go.th

การประชุมของทางภาคอีสาน รอบนี้ เน้นเกษตรสมัยใหม่ใช่ไหมคะพี่มัน ทางเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคอีสาน คงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เข้าไปร่วมพัฒนา ได้หลากหลายประเด็นเลยนะคะ มีความชัดเจนและสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านเรา พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ แล้วเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวได้ดีจังเลยค่ะ

 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล