การเสนอแนวทางการพัฒนา “โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น” (University Business Incubator: UBI)  93

คำสำคัญ : Business  Incubator  UBI  

การเสนอแนวทางการพัฒนา

“โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น” (
University Business Incubator: UBI)

จากการดำเนินงานโครงการ UBI หลายที่ผ่านมา พบว่ามีหลายโครงการของผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการ ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งน่าจะมีจุดร่วมในการดำเนินงานที่น่าจะสามารถนำมาการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ   ซึ่งหน่วยบ่มเพาะธุรกิจมีบทบาทหน้าที่ที่ครอบคลุมในหลายมิติ ประกอบด้วย เพื่อช่วยให้นักศึกษา (ผู้ประกอบการ) พัฒนาโมเดลธุรกิจ จัดทำแผน และค้นหาแหล่งเงินทุน เพื่อให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำทางเทคนิคได้ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางที่สามารถพัฒนาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้

จึงได้มีแนวคิดในการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยบ่มเพาะ UBI ซึ่งหากจะคิดกระบวนการบ่มเพาะของ UBI ให้ครอบคลุมถ้าลองมองภาพของการบ่มเพาะธุรกิจ จะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยบ่มเพาะทั้งประธานเครือข่าย UBI ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบ่มเพาะและผู้ประกอบการ นักศึกษาที่กระบวนการของที่เป็นระบบ Ecosystemต่าง ระบบการจัดการความรู้การวางระบบอบรมต่างๆ ของหน่วยบ่มเพาะ การหาแหล่งสนับสนุนด้านการเงิน เป็นต้น  

ซึ่งถ้าจะสรุปจากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยการพัฒนาผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศรวมถึงการวิจัยจากข้อมูลปฐมภูมิตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ดำเนินงานโครงการ UBI ได้มีจัดทำ CIPPi Model, SWOT Analysis, Brainstorming และ Focus Group หน่วยบ่มเพาะ UBI (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในระบบ CMO ในหัวข้อการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและการวางแนวทางการพัฒนา “โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น” (University Business Incubator: UBI)ด้วยเทคนิค CIPPi Model + SWOT Analysis + Brainstorming + Focus group discussion)) ผู้เขียนได้ข้อค้นพบตรงกันคือมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการของความสำเร็จของโครงการบ่มเพาะธุรกิจ ได้แก่

1. การสร้างนักศึกษา ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจ

2. มีโครงสร้างและทีมงานของหน่วยบ่มเพาะที่ส่งเสริมและสนับสนุนที่ดีในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบ่มเพาะผู้ประกอบการ

3. การสร้างสภาพแวดล้อมของหน่วยบ่มเพาะที่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการ

โครงการ UBI เพื่อถอดบทเรียน สร้างการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดเพื่อต่อยอดและพัฒนาโครงการ UBI ให้สามารถเกิดประโยชน์และสร้างผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยใช้หลักการและกระบวนการต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและการวางแนวทางการพัฒนาโครงการ UBIองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย

1.      กลไกการพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการหลักสูตรการพัฒนานักศึกษา Degree and Non-Degreeเพื่อเป็นหลักสูตรในการสนันสนุนนักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เติบตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวต้องสอนทำความเข้าใจของ stage ของธุรกิจ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลคือ Growth Model ของ Greiner ที่แบ่งช่วงของธุรกิจได้เป็น 6 ระยะ Phase ได้แก่

1).   Creativity ระยะของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

เป็นระยะที่ธุรกิจใช้เวลากับการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ ที่สมัพันธ์กับความสัมพันธ์กับความต้องการของ ตลาด” เป็นหลักโดยจะมุ่งที่จะผลิตสินค้า Product ออกสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นช่วงวัดความเป็น Leadership เพื่อเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ต่อไป

 

2).   Direction ระยะของการกำหนดทิศทางที่แน่ชัด

ระยะธุรกิจจะมีการสร้างหรือนำการทำงานโดย “ผู้ประกอบการที่มีความสามารถ” เพื่อบริหารธุรกิจและองค์กร มีการสร้างโครงสร้างที่ชัดเจนมากขึ้น มีการสื่อสารที่เป็นรูปแบบมากขึ้น

ที่สำคัญ “สั่งงาน” เพื่อการบริหารแบบ Top-down managementแล้วจะเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่ต้องการความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น

 

3).   Delegation ระยะของธุรกิจจะมีการมอบหมายอำนาจงานออกไป

เป็นระยะที่ธุรกิจมีการใช้การบริหารแบบ “มอบหมายงาน” หรือ กระจายอำนาจการบริหารออกไปส่วนนอกธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีการแบ่งความรับผิดชอบออกไปอย่างชัดเจน

ที่ดูแลส่วนงานต่างๆที่แยกเป็นอิสระมากขึ้น ก่อนธุรกิจจะเข้าสู่ระยะ “วิกฤติของการควบคุมการบริหารงาน” หรือ Crisis of Control

 

4).   Co-ordination ระยะของธุรกิจแบบต้องประสานงานกันอย่างมาก

เป็นระยะของการทำงานที่มีแผนงานมากขึ้น เริ่มมีการ “ดึงอำนาจการบริหารคืนสู่ส่วนกลาง” เพื่อให้ มีหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการที่มีการ “มุ่งเป้าหมาย” เน้นกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด คล้ายภาครัฐที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนการปฏิบัติงาน Red Tape crisis

 

5).   Collaboration ระยะของธุรกิจที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมมากขึ้น Team-working มากขึ้น

มีการใช้รูปแบบงาน “กลุ่มทำงานข้ามสายงาน” Cross functional team มากขึ้น เพื่อให้งานรวดเร็วมากกว่าเดิม หรือ มีขั้นตอนที่ลัดสั้นลง ทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แล้วหลังจากนี้ธุรกิจก็เคลื่อนเข้าสู่ระยะการเติบโตอิ่มตัวขององค์กร (อิ่มตัวภายในองค์กร) Internal growth crisis

 

6).   Alliances ระยะของการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับภายนอกเป็นระยะที่องค์กรต้องเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมากขึ้นต้องสร้างเครือข่ายกับองค์กรภายนอกมากขึ้น เพื่อที่จะรักษาการเติบโตต่อไปและสามารถให้เกิดความยั่งยืนของธุรกิจ

 หากนักศึกษา ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดีก็จะมีความสามารถในการปรับรูปแบบธุรกิจ จัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินไปตามแต่ละขั้นของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เพราะระยะเวลาของแต่ละขั้นของธุรกิจนั้นจะมีระยะเวลาที่ต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทของธุรกิจและปัจจัยของธุรกิจจากภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งขั้นได้อย่างง่ายๆ เพื่อความเข้าใจพื้นฐานได้เป็น 3 ระยะคือ 1)the startup phase 2) the growth phase และ3)the maturity phase

 

2.      กลไกการยกระดับขีดความสามารถหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ซึ่งจะมีรายละเอียดหลายอย่างที่ครอบคลุม บทบาทและหน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจนั้นแตกต่างกันไปตามโครงสร้างของหน่วยงาน

- ด้านกลยุทธ์ องค์ความรู้ และโครงสร้างองค์กร

- ด้านการพัฒนาบุคลากร

- ด้านการสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ

ในตามการทบทวนวรรณกรรม ความสามารถของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจสามารถตามที่อธิบาย

ตามมิติความสามารถและระดับความพร้อมที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจที่มีกำหนดขึ้นในช่วงการระดมความคิดกับผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูงจากจากหน่วยบ่มเพาะขั้นนำในประเทศไทย การประชุมจัดขึ้นเพื่อกำหนดมิติความสามารถ แบ่งได้เป็น 7 ด้าน

 (1) กลยุทธ์และโครงสร้างองค์กร; (2) การเงิน; (3) องค์ความรู้; (4) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล; (5) โครงสร้างพื้นฐาน; (6) เครือข่าย; และ (7) บริการ

 

 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงกระบวนการในการจัดการความรู้ของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ การอบรมพัฒนาบุคลากรในหน่วยบ่มเพาะ ซึ่งปัจจัยต่างๆ นั้น จะสามารถประเมินศักยภาพของหน่วยบ่มเพาะได้ด้วยการประเมินหน่วยบ่มเพาะธุรกิจซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ในปัจจุบันจะเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและใช้กับการประเมินศักยภาพของหน่วยบ่มเพาะธุรกิจคือการศึกษาด้วย Maturity Model ารจัดทำกระบวนการและเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารโครงการในองค์กร และวัดประสิทธิผลการทำงานของโครงการ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้องค์กร มีความสามารถในการบริหารโครงการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารโครงการและองค์กร ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของธุรกิจ ระดับความพร้อมขององค์กรในการบริหารโครงการสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับดังนี้
 

1.    Awareness Level

คือระดับเริ่มต้นที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติการจาก Routine-Based มาสู่ Project-Based มาขึ้น พนักงานในองค์กรมีองค์ความรู้ในการบริหารโครงการ และตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารโครงการ ที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จของธุรกิจ แต่ยังขาดกระบวนการในการทำงานที่ดีและเป็นมาตรฐาน ความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัวของ Project Manager องค์กรไม่สามารถควบคุมผลการดำเนินงานของโครงการให้คงเส้นคงวาและสม่ำเสมอได้ ขาดการจัดทำ Knowledge Sharing และมักจะประสบปัญหาบ่อยครั้งในแต่ละโครงการ ใน Level นี้ องค์กรมักจะลงทุนในการจัดฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ด้าน Project Management และ Project Manager ที่มีทักษะเป็นเลิศ มักจะมีค่าตอบแทนสูงแต่ต้องทำงานหนักเนื่องจากต้องดูแล Project หลายๆ Project ในเวลาเดียวกัน รวมถึงเกิดการแย่งชิง Resource ในการบริหารโครงการในองค์กร
 

2.    Repeatable Level

คือระดับที่เริ่มเรียนรู้ที่จะ Setup กระบวนการให้เป็นมาตรฐานในการบริหารโครงการ แต่ยังคงเป็นมาตรฐานอย่างกว้างๆ และไม่มีหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ Setup กระบวนการมาตรฐานและกำกับดูแลการบริหารโครงการให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Project Management Governance) ในระดับนี้องค์กรสามารถ Repeat ความสำเร็จได้บ้างในบางส่วน และมีการสื่อสารเพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างโครงการมากขึ้น ความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับความสามารถของ Project Team รวมถึงผลการดำเนินงานในแต่ละ Project มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น ในระดับนี้องค์กรมักเตรียมความพร้อมเพื่อจัดตั้งหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลโครงการ (Project Management Office) 

 

3.    Defined Level

คือระดับที่มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลโครงการ หรือ PMO และมีกระบวนการมาตรฐานในการบริหารโครงการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับ Methodology, Process, Procedure, Form and Template การบริหารโครงการในระดับนี้จะมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ PMO และผลการดำเนินโครงการจะมีความคงเส้นคงวาสม่ำเสมอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของ PM หรือ Project Team เพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Standard Process ที่ถูก Setup โดย PMO เราจึงมักเรียกระดับขององค์กรในระดับนี้ว่า Single Methodology เพราะ PM และ Project Team จะทำงานด้วยเครื่องมือและกระบวนการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จุดอ่อนของระดับนี้ คือหากกระบวนการที่ PMO Setup ขึ้นมานั้นด้อยประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ Project ในองค์กรด้อยประสิทธิภาพเหมือนกันหมดทั้งองค์กร ส่งผลให้ทีมงานหรือ PM เกิดการต่อต้าน PMO รวมถึงมีผลต่อกำลังใจของทีมงานในการผลักดันโครงการให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยความสำเร็จในการผลักดันองค์กรให้เข้าสู่ Maturity Level นี้ คือต้องได้ PMO Team ที่เข้าใจองค์กรและมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการอย่างมาก รวมถึงเข้าใจวิธีการในการค่อยๆเปลี่ยนแปลงการทำงานขององค์กรอย่างค่อยเป็นค่อยไป และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
 

4.    Managed Level

คือระดับที่สามารถกำกับดูแลการบริหารโครงการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องวัดผลการดำเนินงานของโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์กร ระดับนี้เป็นระดับที่เน้นการวัดผลโครงการในรูปแบบต่างๆ เช่น การวัด KPI ของ Project  การวัด Effectiveness ของ Project ทั้งในเชิง Output และ Outcome การวัด ROI ของ Project หรือตัววัดอื่นๆ ที่สะท้อนความสำเร็จของโครงการ การผลักดันองค์กรให้เข้าสู่ Maturity Level นี้ได้ต้องผ่านการกำกับดูแลโครงการให้มีความคงเส้นคงวาและสม่ำเสมอในการบริหารโครงการเสียก่อน จึงจะถึงเวลามาตั้ง KPI ของ Project หากยังไม่สามารถกำกับดูแล Project ให้เป็น Single Methodology เสียก่อน การตั้ง KPI ก็จะไม่เกิดประโยชน์เพราะองค์กรไม่สามารถควบคุมผลการดำเนินการให้คงเส้นคงวาได้ จึงไม่สามารถควบคุมการบริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายตาม KPI ได้อย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง ข้อควรระวังของการการผลักดันองค์กรเข้าสู่ Maturity Level นี้ คือต้องพิจารณาระมัดระวังไม่ให้ต้นทุนการวัด KPI ของ Project มีผลกระทบต่อการดำเนินการมากนัก และเลือก KPI ที่สำคัญมาวัดผลเท่านั้น เพราะการวัด KPI หลายๆด้านจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนการดำเนินงานและความล่าช้าของงาน
 

5.    Optimized Level

คือระดับขององค์กรที่เป็นสุดยอดของการบริหารโครงการ นั่นคือ การสามารถควบคุมให้การบริหารโครงการมีกระบวนการมาตรฐานเดียวกัน มีการวัดผลที่สะท้อนความสำเร็จของโครงการ และมีการนำผลการวัดมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการและสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารโครงการ ให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในระดับนี้องค์กรสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยยังคงสามารถรักษามาตรฐานการบริหารโครงการได้แม้ในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง โดย PMO เป็นฝ่ายงานที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลโครงการให้ตอบสนองต่อกลยุทธองค์กรและการเปลี่ยนของธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

 

3.      การเชื่อมโยงระบบ Ecosystem

 

บทบาทและหน้าที่ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ UBI 9 เครือข่ายทั่วประเทศนั้นแตกต่างกันไปตามโครงสร้างของหน่วยงาน ทั้งนี้กระทรวง อว. ในฐานนะหน่วยงานที่กำหนดนโยบายสามารถกำหนดทิศทางและการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงการดำเนินงานของโครงการ UBI เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงการอย่างครอบคลุม เพื่อเป็นทิศทางแห่งการพัฒนาองค์กรในทศวรรษหน้า

 

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการพัฒนาและนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางนวัตกรรม ผ่านกรอบการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นไปที่การนำองค์กรนวัตกรรมและมีหน้าที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายและเป็นระบบนิเวศน์นวัตกรรมที่สมบูรณ์ ที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

1)Governmentมีบทบาทในการผู้นำเพื่อการสร้างการรับรู้และความ

ตระหนักการสร้างนักศึกษาผู้ประกอบการ ไปยังองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลจะทำหน้าที่ในการ นโยบายรัฐบาล ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน และกระทรวง อว. จะทำหน้าที่ในการวางแผนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ที่เป็นนโนบายการดำเนินงานพร้อมเป็นผู้นำในการสร้างการรับรู้ในการผลักดันนักศึกษา ผู้ประกอบการ UBI และสร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อีกอย่างน้อย 4 องค์ประกอบ มีบทบาทในการดำเนินการสนับสนุน นักศึกษาผู้ประกอบการ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจเพื่อการในการเติบโต

2) University and Research Instituteกระทรวง อว. สร้างความตระหนักให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ซึ่งเป็นแหล่งขององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ การสร้างการรับรู้และความตระหนักผ่านระบบเครือข่ายเชื่อมโยงการดำเนินงาน  ทั้ง 9 เครือข่ายอุดมศึกษาซึ่งเป็นโครงสร้างการสั่งการของกระทรวง อว. โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยที่จะสามารถสร้างมูลค่าจากงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย จากการขายสิทธิ์จากงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ

3) Entrepreneurถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจนวัตกรรม  จะสามารถสร้างการรับรู้ได้โดยการอบรมความเป็นนักศึกษาผู้ประกอบการUBI  กิจกรรมสร้างความตระหนัก และประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงประโยชน์ที่จะเติบโตได้การอบรมเพื่อส่งเสริมแนวคิดและทักษะการเป็นนักศึกษาผู้ประกอบการ และการอบรมเพื่อให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถที่จะเติมเต็มทักษะตามที่เห็นว่าจำเป็นกับธุรกิจและปัญหาขององค์กรธุรกิจและสามารถสร้างทางทักษะแห่งการประกอบการได้อย่างเต็มรูปแบบ

4)Corporateการสร้างการรับรู้และความตระหนักเครือข่าย  ความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่เพื่อสร้างความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ บริษัทขนาดใหญ่  ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ กกร.สภาหอการค้า  สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคาร ที่เป็นเครือข่าย   ความร่วมมือให้เกิดการรับรู้ประโยชน์ของการพัฒนาธุรกิจนักศึกษาผู้ประกอบการที่จะให้สร้างการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์/กระบวนการที่มีการผลิตอยู่เดิมด้วนนวัตกรรม เพื่อสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ช่วยลดระยะเวลา ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และลดต้นทุนการผลิต รวมถึงสร้างความร่วมมือในการทำงานกับผู้ประกอบการ/บริษัท Startup ใหม่ได้

5) Risk Capitalการสร้างการรับรู้ให้กับแหล่งเงินทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยทุนพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมเพื่อให้สร้างกฎระเบียบที่สนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม  เพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจที่มีต้นทุนในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม กับผู้ประกอบการ IDEsในช่วงตั้งแต่ระยะแรกจนเริ่มสร้างรายได้ มีโอกาสที่จะเติบโตและขยายธุรกิจ ที่สูงมาก หากสถาบันที่เป็นแหล่งเงินทุนเกิดการรับรู้ถึงประโยชน์ต่างๆ ก็จะสร้างรูปแบบการสนับสนุนที่หลากหลายในการช่วยเหลือต่อนักศึกษาผู้ประกอบการ UBI ได้


เขียนโดย : นางสาวชลิศา  ทรัพย์พร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -

เป็นเรื่องที่ทำให้อยากเข้ามาศึกษากลไกการพัฒนาผู้ประกอบการ UBI เลยค่ะพี่ฟ้า เพราะได้มีโอกาสรบกวนทางพี่ฟ้าบ่อยๆ ในการเชิญผู้ประกอบการไปร่วมกิจกรรมขยายผลทางการตลาดกับทางภาคเหนือ ในงานต่างๆ แล้วทำให้สัมผัสได้ทันที และเห็นด้วยกับที่พี่ฟ้าเขียนไว้ว่า ปัจจัยที่มีผลกับความสำเร็จของโครงการ ที่บอกไว้ว่า "การมีโครงสร้างและทีมงานของหน่วยบ่มเพาะที่ส่งเสริมและสนับสนุนที่ดีในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบ่มเพาะผู้ประกอบการ " เรื่องนี้ หนูรู้สึกว่า จริงและมีผลมากกๆๆ เลย เพราะหลายครั้งที่หนูได้มีโอกาสประสานงานกับพี่ๆ หรือน้องๆ เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลด้านนี้ รู้เลยว่า เค้ามีใจและมีความตั้งใจจริงที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือหรือ หาโอกาสช่องทางการตลาดดีๆ ให้กับผู้ประกอบการ แล้วเห็นถึงความพยายามผลักดันนั้น ค่ะ จึงรู้สึกว่า ผู้ประกอบการโชคดี ที่ได้มาอยู่ในโครงการและเจอทั้งที่ปรึกษาดีๆ และเจ้าหน้าที่ทีทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ให้สำเร็จและกระตุ้นผลประกอบการหรือเศรษฐกิจให้ดีตามไปด้วยค่ะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล