Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การจัดทำโครงการด้วยวิธีการศึกษาแบบองค์รวม ( กรณีศึกษา โครงการ Holistic RSP Platforms Restructuring Design) 105
โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากลไกการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแบบองค์รวม (Holistic RSP Platforms Restructuring Design)
Holistic คือการพิจารณาแบบองค์รวม คือการมองภาพใหญ่ มองครอบคลุม มองทั้งจาก Inside-Out และ Outside-In เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายตั้งแต่ผมกลับมาจากเรียนต่อ แล้วมารับหน้าที่ในส่วนงานยุทธศาสตร์ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค นับจากการเริ่มต้นทำ Restructuring platform ของ กปว. จนนำมาสู่ One route ผมก็คิดมาตลอดว่าต้องทำการศึกษาองค์รวมของงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้ได้ หลังจากเร่งดูดซับความรู้ และทำความเข้าใจงานต่างๆของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคมาปีกว่าจนตกผลึก ก็เริ่มต้นโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากลไกการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแบบองค์รวม (Holistic RSP Platforms Restructuring Design)เรียนสั้นๆว่าโครงการ Holisticซึ่งตั้งใจให้เป็นจุดเริ่มต้นของการทบทวนเชิงยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค หลังจากดำเนินงานมาได้อย่างยาวนานนับสิบปี ว่าหลังจากนี้จะเดินไปอย่างไรต่อสิ่งที่ทำมาแล้ว ยังเหมาะสมอยู่ไหม ควรจะปรับตัวอย่างไรต่อไป และในอนาคตอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจะเป็นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ การทบทวนบทบาทหน้าที่และแนวทางการพัฒนากลไกการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแบบองค์รวม รวมถึงศึกษาสิทธิประโยชน์ กฎระเบียบ และแซนด์บ็อกซ์ที่เหมาะสมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และบริบทการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนรูปแบบส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมระหว่างประเทศ เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนกลไกการส่งเสริมสนับสนุนในระดับนานาชาติ การมีตัวตนเป็นที่รู้จัก (Visibility) ในนานาประเทศ ซึ่งเป็นการพิจารณาอย่างรอบด้าน
ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการฯ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เราได้ Strategic map ในเชิงเปรียบเปรียบกับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้เราเห็นโครงสร้างกลไกการสนับสนุนนวัตกรรม และผู้ประกอบการในระบบนิเวศ และนำไปสู่การวิเคราะห์ช่องว่างของกลไกในระบบนิเวศ ววน.ของไทย จนทำให้เราได้ แนวทางการปรับปรุง Platform ของอุทยานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2แผนงาน และสามารถสร้างแผนงานใหม่จากการวิเคราะห์ gap ในระบบนิเวศ ววน. อีก 7 แผนงาน ซึ่งบางแผนงานถูกนำมาใช้ในการเขียนขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 4 ภาค และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ววน. จำนวน 100ล้านบาท นี่เป็นเพียงตัวอย่างจากผลลัพธ์ของโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่ใช้งบประมาณหลักล้าน แต่สามารถสร้างโครงการหลัก 100ล้านบาทได้ ทั้งนี้ผลลัพธ์ของโครงการ Holistic ยังมีอีกมาก พอจะสรุปได้ดังนี้
1. แนวทางการปรับปรุง Platform ของอุทยานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 แผนงาน
2. สร้างแผนงานใหม่จากการวิเคราะห์ gap ในระบบนิเวศ ววน. อีก 7 แผนงาน
3. แนวทางการส่งเสริมอุทยานวิทยาศาสตร์ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialized Science Park)
4. แนวทางการใช้สิทธิประโยชน์ BOI บนพื้นที่ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
5. แนวทางการใช้ประโยชน์จาก พรบ. ส่งเสริมใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP Act)
6. แนวทางการพัฒนาเขตพื้นที่ยกเว้นกฎระเบียบ หรือ แซนด์บ็อกซ์ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
7. แนวทางการดำเนินงานประสานกลไกในระบบนิเวศ ววน. ระหว่างประเทศ
8. แนวทางการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติ International Association of Science Parks and Area of Innovation หรือ IASP
9. แนวทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคสู่การเป็นองค์กรที่มีรูปแบบเหมาะสม (องค์การมหาชน)
เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเพื่อขยายความในแต่ละข้อเสนอแนะนะครับ
ทั้งนี้ ผลการศึกษาจากโครงการ Holistic น่าจะเป็นแนวทางดำเนินงานให้กับโครงการอื่นๆ หรืองานอื่นๆ ในการศึกษาวิเคราะห์แบบองค์รวม ซึ่งจะทำให้เราเห็นการดำเนินงานของเราในมุมที่กว้างใหญ่ยิ่งกว่าองค์กรของเรา และสามารถวิเคราะห์ช่องว่างที่เราจะสามารถใช้เป็นโอกาสในการสร้างกลไกส่งเสริมรูปแบบใหม่ๆ และสามารถใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศ ววน.ในแง่มุมอื่นๆ เช่น กฎระเบียบ กฎหมายใหม่ๆ รวมไปถึงการเชื่อมโยงการทำงานในระดับนานาชาติ สุดท้ายนี้ผมใส่ภาพไดอะแกรมสำคัญที่เป็นผลจากการศึกษามาให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ ถึงแม้ไม่สามารถใส่ทุกภาพ หรือใส่รายงานทั้ง 300 กว่าหน้ามาได้ เพราะบางส่วนของรายงานก็ยังต้องส่งต่อส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องเสียก่อน แต่ภาพที่ผมคัดมาก็น่าจะมีประโยชน์กับทุกคนครับ ที่จะได้เห็น Gap ครับ