สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดงาน Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall  89

คำสำคัญ : SRI  Teamwork  ผู้นำ  

 

การมีส่วนร่วมใน โครงการ/กิจกรรม (ที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของ กปว. / สป.อว.)

ข้อคิดเห็นเสนอแนะที่ได้จากงาน  Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานอื่นๆ

การจัดงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall) สำหรับหน่วยงานที่ร่วมดำเนินภารกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน จัดขึ้นภายในงาน อว.แฟร์ ณ เวทีกลาง ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567  โดยภายในงานมีกิจกรรมมอบโล่ให้กับหน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการฯ จำนวน 98 แห่ง ซึ่งการจากได้ร่วมจัดกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน และมีข้อคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน ดังนี้

1. การมีผู้นำที่เก่งมีชัยไปกว่าครึ่งการวางแผน ประชุมเตรียมงาน แบ่งหน้าที่ให้ทีมงานอย่างมีระบบเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

2. การทำงานเป็น Teamwork ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้าเรามีการบริหารจัดการที่ดี แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ โดยกำหนดหน้าที่และภาระงานของแต่ละคนตามความสามารถ และประสบการณ์ ใช้คนให้ถูกกับงานและเหมาะสมกับความถนัด งานก็จะออกมาดี

3. สร้างเป้าหมายร่วมกัน เมื่อทำงานเป็นทีมก็ควรเริ่มวางแผนโดยสร้างวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อโฟกัสเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจนและเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามภารกิจ

4. การอับเดตข้อมูลซึ่งกันและกันภายในทีมเป็นสิ่งสำคัญเมื่อทำงานร่วมกับคนมากกว่าหนึ่งคน การสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เกิดความเข้าใจและช่วยให้การทำงานเป็นทีมบรรลุไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยการพูดคุยกันอยู่เสมอหากมีการสื่อสารอับเดตข้อมูลกัน จะทำให้เกิดการอับเดตข้อมูลที่ถูกต้องอยู่ตลอด ลดปัญหาการตกหล่นของข้อมูล

5. ตรงไปตรงมาทั้งในเรื่องของงาน และความจริงใจระหว่างกันในทีมหากมีข้อเสนอแนะหรือเห็นพ้องเห็นต่างในจุดไหนอย่างไรก็กล้าที่จะพูดออกไปตามตรงโดยไม่ใช้อารมณ์หรือเรื่องส่วนตัว เมื่อเห็นต่างแล้วก็ควรมีเหตุผลสนับสนุนและให้เกียรติกัน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมได้แก้ไขจุดบกพร่อง สิ่งนี้ไม่นับเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่คือความจริงใจและให้การสนับสนุนกันอย่างแท้จริง

6.เคารพความแตกต่างของคนในทีม เคารพที่ว่าคือเคารพทั้งตัวตนและเข้าใจถึงความคิดที่ต่างกัน ซึ่งคือจุดแข็งของการทำงานเป็นทีม การมีชุดความคิดที่หลากหลายจากคนในทีม จะช่วยให้งานออกมารอบด้านและรอบคอบมากขึ้น

 

7.เปิดกว้างรับฟังข้อเสนอแนะอยู่เสมอ วิธีการทำงานเป็นทีมที่ดีอย่างยั่งยืน คือการรับฟังความคิดเห็นของคนในทีมทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการรับฟังคำแนะนำเกี่ยวกับงานที่ตัวเราเป็นคนรับผิดชอบ เพื่อนำไปวิเคราะห์ แก้ไข และประยุกต์ใช้กับการทำงาน เมื่อได้ฟีดแบกแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือนำสิ่งเหล่านั้นมาวิเคราะห์ พูดคุยกันในทีม หาทางออกของปัญหาร่วมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จับมือแก้ไขไปพร้อมกันโดยความสมัครใจของคนในทีม วิธีแบบนี้อาจจะใช้เวลามากขึ้น แต่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

8. ต้องมีเสาหลักแสตนบายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทุกๆการจัดกิจกรรมต่างๆล้วนมีปัญหาหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด ที่ทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้อยู่เสมอ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้งานสะดุดควรมีการมอบหมายให้มีคนที่สามารถตัดสินใจ วางแผน และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ หากใครมีปัญหาจะได้มาสอบถามได้ถูกคนและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์

9. อะไรช่วยได้กะต้องช่วยกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หน้าที่ๆได้รับมอบหมาย หากเราสามารถช่วยเหลือกันได้ก็ไม่ควรนิ่งดูดาย อะไรพอช่วยกันได้ก็ควรช่วยเพื่อให้งานของทีมประสบความสำเร็จ

สุดท้ายขอย้ำว่า การทำงานเป็นทีมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากเราสามารถสร้างการทำงานเป็นTeamworkได้เมื่อไหร่แล้วหล่ะก็.....ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อม ไม่ว่าภารกิจนั้นจะง่ายหรือจะอยากสักเพียงใด ทุกภารกิจก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้


เขียนโดย : ดร.สุมนรัตน์  ริยาพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sumonrat.r@mhesi.go.th