ข้อคิดที่ได้จากการติดตามการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ประจำปี 2567 (พื้นที่ จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์)  56

คำสำคัญ : สัปดาห์วิทยาศาสตร์  วันวิทยาศาสตร์  วิทยาศาสตร์    

ข้อคิด ประสบการณ์ที่ได้จากการร่วมติดตามโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ประจำปี 2567 (พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์)

🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

จากการได้ร่วมลงพื้นที่เพื่อติดตามโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ประจำปี 2567 (พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากความสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ขออนุญาตนำเสนอจุดเด่น (ที่สามารถดึงดูดเด็กๆที่มาร่วมกิจกรรม) และสิ่งที่ควรปรับปรุงของกิจกรรมนี้ครับ
ก่อนอื่นมาอวยยศข้อดี ข้อเด่นของแต่ละมหาลัยกันก่อนเลยครับ

🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀🚀

จุดเด่น จุดขาย ของแต่ละมหาลัยในพื้นที่

1. สถานที่ : อย่างแรกคือสถานที่ในการจัดงานของแต่ละมหาลัย (ม.นเรศวร มรภ.พิบูลสงคราม และ มรภ.เพชรบูรณ์) มีจุดศูนย์กลางของกิจกรรมอยู่จุดเดียว ซึ่งดีมากเลยครับ ทำให้เดินทางสะดวกและผู้เข้าร่วมงานสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทั้งปวงได้จบครบที่จุดเดียว


 

2.กิจกรรมน่าสนใจ (มากกกก) สิ่งที่ทำให้ผู้เข้าร่วมงาน (ส่วนใหญ่เป็นเด็กๆวัยใส อนุบาล ประถมและมัธยม) สนอกสนใจเป็นอย่างมาก รวมถึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้เข้าร่วมงานได้คือกิจกรรม โดยแต่ละมหาลัยมีกิจกรรมเด่นๆ ที่ดึงดูดผู้เข้าร่วมงานแตกต่างกัน (ซึ่งดีมาก ในมุมมองของผู้เขียน เพราะจะได้ไม่ซ้ำกับมหาลัยอื่นๆ ) ยกตัวอย่างเช่น ของ ม.นเรศวร มีการประกวดการทำคอนเท้นครีเอเตอร์ (Content Creator Contest: TIKTOK)มรภ.พิบูลสงคราม การบรรยายของ Influencer Vtuber จากสายอาชีพ Content Creatorส่วนที่คิดว่าไฮไลท์และสนุกไม่แพ้กันคือการประกวด Miss Fancy Recycle (ชื่อจริงๆคือ Fancy Recycle) ของ มรภ.เพชรบูรณ์ ที่ให้น้องๆนักเรียนนำเสนอไอเดียผ่านการประกวดชุดที่มีแนวคิดจากการของเหลือใช้ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรมนี้สามารถสร้างสีสันและเสียงหัวเราะให้กับผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างมาก

3. บุคลากรและน้องนักศึกษาประจำบูธ: นอกจากกิจกรรมดีๆ แล้วบุลคลากรและน้องๆที่ประจำบูธที่คอยพาผู้เข้าร่วมงานเล่นเกมส์ หรือ สาธยายความรู้ รวมถึงให้คำแนะนำต่างๆกับผู้ร่วมงานยังยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจพร้อมบริการกันทุกคน ทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่เคอะเขินเวลาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม

4. ของดีย์ของแต่ละสาขา : จุดเด่นสำคัญอีกอย่างที่สังเกตเห็นภายในงานคือ แต่ละสาขาวิชาต่างนำของดีของเด็ด ของตัวเองมาโชว์กันอย่างเต็มที่เรียกได้ว่าเป็นการ Open house กลายๆเลยก็ว่าได้

5. ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน : นอกจาก อว. ที่สนับสนุนงบแล้วยังมีหน่วยงานจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐในพื้นที่ และหน่วยงานเอกชนหลากหลายบริษัทร่วมกันสนับสนุนการจัดงานนี้ ทำให้เห็นว่าหลายหน่วยงานหรือหลายองค์กรให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก

พูดถึงข้อดีกันไปแล้ว (จริงๆมีเยอะมากๆแต่ถ้าเขียนยาวกว่านี้จะหาว่าอวยเกิน) มากันที่สิ่งที่คิดว่าควรปรับปรุง หรือ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากมุมมองของผู้เขียนเอง

สิ่งที่ควรปรับปรุง เพิ่มเติม และข้อคิดเห็น

(ส่วนตัวของผู้เขียน)

1. การจัดการขยะ : การจัดการขยะในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจุดทิ้งขยะไม่พอนะครับ แต่อยากให้มีการแยกขยะอย่างจริงจัง เพราะไหนๆเราก็จัดงานในแนวคิด BCG แล้วคงดีไม่น้อยถ้ามีการให้ความรู้เรื่องการแยกขยะ (อย่างจริงจัง) และได้ลงมือทำจริงภายในงาน

2. กิจกรรมเด่น ๆ ที่เด่นได้อีก : จุดเด่นและไฮไลท์ของแต่ละมหาลัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น จากความคิดเห็นของผู้เขียนคิดว่า แต่ละมหาลัยมีจุดเด่นจุดขายเป็นของตัวเองอยู่แล้วที่สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่จะดีแค่ไหนถ้าแต่ละมหาลัยทำจุดเด่นนั้นให้เด่นขึ้นไปอีกเพื่อเจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในสิ่งนั้นๆเพิ่มขึ้น

3. หนึ่งจังหวัด หลายมหาวิทยาลัย :ข้อดีของการจัดงานหลายแห่งพร้อมกันในคลาเดียวคงเป็นการกระจายความหนาแน่นของผู้เข้าร่วมงาน และสร้างความหลากหลายให้กับผู้เข้าร่วมงานที่มีเวลาไปได้หลายแห่ง แต่ปัญหาคือถ้าผู้เข้าร่วมงานสามารถไปได้เพียงแห่งเดียว จะเกิดการแย่งลูกค้ากันเกิดขึ้น

4. ความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ : จะเห็นได้ว่าภายในงานมีกิจกรรมมากมายให้เลือกเข้าร่วม แต่เราไม่สามารถทราบได้เลยว่าจริงๆแล้วเด็กๆหรือผู้มาร่วมงานอยากได้กิจกรรม


เขียนโดย : นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : paramed.s@mhesi.go.th

ดีใจที่ได้มีโอกาสไปติดตาม เหนือล่างในครั้งนี้ ได้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการจัดงาน และความคึกคักของเด็กๆ ที่มาร่วมงานนะคะน้องอาร์ท พี่ชอบ ข้อที่ 4 มากเลยค่ะ ถ้าเราได้ฟีดแบ็คจากน้องๆ แล้วนำมาปรับกับมหาวิทยาลัยที่จัด คงได้ไอเดียในการพัฒนาการจัดงานไปในทุกๆ ปี นะคะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

ไว้พาพี่ไปอีกนะคะ ได้ทั้งเรียนรู้งานและความสดชื่นเวลาเจอเด็กๆ ค่ะ อิอิ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล