PDCA เครื่องมือวงจรการบริหารงานคุณภาพ -ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงงาน-  605

คำสำคัญ : PDCA    
● PDCA คืออะไร ? คือวงจรการบริหารงานคุณภาพ ถือเป็นวิธีแบบ QC วิธีหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีคำพูดว่า “หมุนวงจร PDCA” นั่นก็คือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
จะต้องมีการ 1️⃣ วางแผน (Plan), ⇒ 2️⃣ ปฏิบัติ (Do), ⇒ 3️⃣ ตรวจสอบ (Check), ⇒ 4️⃣ วางมาตรการ (Action)
 
.
🚩 ● โดยปฏิบัติไล่ไปตามแต่ละขั้นตอนอย่างจริงจัง และปฏิบัติตามวงจรนี้ซ้ำไปมาจนกว่าจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้
① (P) ก่อนลงมือปฏิบัติงาน ต้องวางแผนอย่างรอบคอบเสียก่อน
② (D) ปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้
③ (C) ตรวจเช็คว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่
④ (A) ถ้าหากผลที่ได้ไม่ราบรื่นดังที่คิดไว้ ให้ตรวจหาสาเหตุและหามาตรการแก้ไข จากนั้นจัด P ซ้ำอีกครั้ง ⇒D⇒C⇒A หมุนไปตามวงจรเช่นนี้ตามลำดับ
  • กรณีผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ให้นำวิธีการหรือกระบวนการนั้น ปรับใช้ให้กลายเป็นนิสัยหรือมาตรฐาน และพยายามคิดหาทางปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้นไปอีน
  • กรณีผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ให้นำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และหาแนวทางว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไป
  • เมื่อผู้ปฏิบัติงานได้นำแนวคิดวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานนั้น หากนำไปใช้เรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นำไปสู่การพัฒนากระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะ : การปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) ช่วยให้องค์กรมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เนื่องจากมีการวางแผนและการดำเนินการอย่างรอบคอบ และมีการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กรหรือสภาพแวดล้อมการทำงาน ถึงแม้ว่า PDAC จะเป็นเครื่องมือที่เรารู้จักกันมานานแล้ว แต่ถ้าขาดเครื่องมีนี้ไปในการทำงาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานได้ เนื่องจาก 4 หลักนี้เป็นหลักที่สำคัญในการทำงานเช่นกัน แต่สำหรับงาน ปค.นั้น เนื่องจากบางครั้งเป็นงานที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน อาจจะมีงานเร่งด่วนจากนโยบาย บุคลากรในทีมตั้งแต่ส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาค ก้ต้องมาจัดลำดับความสำคัญของงานและกระจายงานภายในกลุ่มงานเพื่อให้งานดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ที่มา : https://blog.wu.ac.th/archives/11355

เขียนโดย : นางสาวเพ็ญพิชชา  คงแทน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : penpitcha.k@mhesi.go.th