แนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สป.อว. และ สกร. เพื่อพัฒนา “ครูนวัตกร” และการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้แพลตฟอร์มการสนับสนุน งปม. ของ กปว. (ข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงงาน)   127

คำสำคัญ : ครูนวัตกร  สกร.  innovative  teacher    

           จากบล็อกก่อนหน้านี้ ที่ได้นำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพ ครู สกร. สู่ ครูนวัตกร ไปแล้วทั้งสอง Ep นั้น จะเห็นได้ว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี หรือ คุณครู สกร. ที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งในขณะนี้ทุกฝ่ายต่างจับมือร่วมเป็นพันธมิตร เป็นทีม ที่มีคลินิกเทคโนโลยีเป็นพี่เลี้ยงและคุณครู สกร. ที่กำลังร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการ ด้วยความมุ่งหวังจะนำเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนของครู ขอรับการสนับสนุนจาก กปว.

          ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ชัดเจนทั้งสองหน่วยงาน ในฐานะผู้ร่วมประสานงานและร่วมกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมมาโดยตลอด จึงมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ร่วมกัน จึงขอเสนอแนวทางของแผนงานในระยะถัดไป ตามความเห็นเบื้องต้นดังนี้

      1. การร่วมลงนาม  MOU  ร่วมกัน ระหว่าง สป.อว. และ สกร. ภายใต้ “ร่างความร่วมมือ” ดังนี้

 สป.อว.

 สกร.

1. สนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร. ที่สอดคล้องตามประเด็นความต้องการ Re-skill Up-skill และ New skill ของ สกร.

1. สนับสนุนข้อมูลความต้องการของบุคลากร สกร. เพื่อร่วมจัดทำหลักสูตร Re-skill Up-skill และ New skillด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

 

2. ประสานหน่วยงานในสังกัด อว. เครือข่าย อว. และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และร่วมเป็นหน่วยดำเนินงาน ในพื้นที่

2. ประสานบุคลากร สกร. ในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และร่วมเป็นหน่วยประสานงานเพื่อดำเนินกิจกรรม

3. สนับสนุนงบประมาณภายใต้แพลตฟอร์ม ของ กปว. สำหรับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่

3. สนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร.

 

4. ประสาน กำกับ ดูแลและติดตามกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร. และแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัด

4. ประสาน กำกับ ดูแลและติดตามกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร. และแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัด

      2. ดำเนินการ แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกัน ระหว่าง 2 หน่วยงาน เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงาน

      3. การกำหนดนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน

 สป.อว.

 สกร.

1. แต่งตั้งคณะทำงานภายใน กปว.

- มอบหมายกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน

- กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ

- กำหนดผู้ประสานงานหลัก ผู้ประสานงานของภูมิภาค

1. แต่งตั้งคณะทำงานภายใน สกร.

- มอบหมายกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน

-กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ

- กำหนดผู้ประสานงานหลักของ สกร.

2. มีแผนงานและแนวทางการสนับสนุน งปม. สำหรับกิจกรรมที่ดำเนินงานร่วมกับ สกร. เช่น

   2.1 กำหนดกรอบการดำเนินงานและงบประมาณ

สำหรับโครงการที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างคลินิกเทคโนโลยีพี่เลี้ยงและ ครู สกร. ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งอาจจะดำเนินการโดย ปค.ภาค ยกตัวอย่าง ดังนี้

    1) การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (โดย คลินิกพี่เลี้ยง+ครูสกร.)

    2) กิจกรรม Pitching (พิจารณาโดย คณะกรรมการฯ + ผู้ทรงคุณวุฒิ)

    3) ปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการ

    4) จัดส่งข้อเสนอโครงการผ่าน ปค.ภาค เพื่อพิจารณาสนับสนุน งปม. ซึ่งได้รับการจัดสรร งปม. จากแพลตฟอร์มการส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจ

ที่มอบให้แก่ ปค.แต่ละภาค เพื่อดำเนินงานในพื้นที่ได้เอง

   5) อนุมัติโครงการและงบประมาณ

   6) การดำเนินงานและติดตามประเมินผล

 2.2  จัดทำข้อเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการ Upskill Reskill Newskill จากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณด้าน ววน. เช่น บพค. หรือ อื่น ๆ

2. กำหนดนโยบายและแผนงานที่ก่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน และสร้างแรงจูงใจสำหรับการเข้าร่วมดำเนินงานกับ สป.อว. เช่น

  2.1 จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของ สกร. และแผนการดำเนินงานระดับภาค จังหวัด อำเภอ และ ตำบล

  2.2 กำหนดงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานร่วมกับ อว.

  2.3 กำหนดแนวทางการเข้าร่วมกิจกรรมของ ครู สกร. และผลตอบแทนที่จะได้รับ เช่น ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมิน หรือ การเลื่อนขั้นเงินเดือน

 

      4. การจัดประชุมหารือคณะทำงาน เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ 2568 – 2573) ประกอบด้วย :      

การกำหนดแผนกิจกรรมสร้าง “ครูนวัตกร” และหลักสูตรการพัฒนาทักษะ

กำหนดพื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย

กำหนดเป้าหมายโครงการ

งบประมาณการดำเนินงาน และแนวทางการติดตามประเมินผล

     5. การดำเนินงานตามแผน และ จัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานและแสดงผลความร่วมมือ 


เขียนโดย : น.ส.รชนิศ  ศรีวิชัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : rachanis.s@mhesi.go.th

ยอดเยี่ยมครับ ลองทำแผนปฏิบัติการ 7 ปี(2+5) ที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 ประเด็น 
- การยกระดับความรู้(Upskill Reskill NewSkill) ให้กับครู สกร. ว่าจะมีเรื่งออะไรบ้าง จัดทำเป็น module 
- การพัฒนาพื้นที่ด้วย ววน. ผ่านกลไกครู สกร.

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ