Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ความสำคัญ ๙ อย่าง ในวันอาสาฬหปูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ 74
ความสำคัญ ๙ อย่าง ในวันอาสาฬหปูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
โดย ดร.สรรณพ นาควานิช หัวหน้าโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กปว.
คนไทยส่วนใหญ่โชคดีที่เกิดมาแล้วเป็นชาวพุทธทันที เรียกว่า มีพระพุทธเจ้า ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิคุ้มครอง ๓,๕๘๔,๑๙๒ พุทธะ (นโม ครั้งที่ ๑ ปัญญาธิกะพุทธะ ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ นโม ครั้งที่ ๒ สัทธาธิกพุทธะ ๑,๐๒๔,๐๕๕ พระองค์ นโม ครั้งที่ ๓ วิริยาธิกพุทธะ ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์) ตอนที่แย่งกันมาเกิดกับสัตรูคู่อาฆาต เจ้ากัมมนายเวร ๕๐๐ ล้านชีวิต ทุกคนอยากเกิดเป็นมนุสส เพื่อจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องการบันลุธัมม อันเป็นความปราถนาในวันเปิดสามโลกที่พระพุทธเจ้าบันดาลให้เห็นกันทั้งสัตตนรก มนุสส และเทวตา รวมพรหมโลกในวันเทโวโรหนะ หรือวันเปิดโลก วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันสิ้นสุดการเข้าวัสสา ก่อนวันถวายผ้ากฐินวันแรกคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
นักเรียนชาวพุทธสมัยก่อนได้เรียนวิชาสีลธัมม วิชาหน้าที่พลเมือง ต่อมาการเรียนทางโลกลดจำนวนวิชาลง จึงลดโอกาสเรียนรู้พื้นฐานด้านพระพุทธสาสนา ทำให้ชาวพุทธรุ่นหลังไม่รู้แล้วว่า ธัมมวินัย ๘๔,๐๐๐ ธัมมขันธ ประกอบด้วยเหตุและผล สมัยพุทธกาลมี ธัมมวินัย ๒ อย่าง จำแนกเป็น ธัมม มี ๒ จำนวน ๖๓,๐๐๐ ธัมมขันธ คือ (๑) สุตตันตะ ๒๑,๐๐๐ ธัมมขันธ (เป็นผล) เป็นเรื่องราวของบุคคลต่าง ๆ อันเป็นพุทธสาวกที่เกิดมาแล้วจะบันลุธัมมฝ่ายหนึ่ง เช่น มหาอัญญาโกณทัญญะที่ได้ฟังธัมมจักกัปปวตนสูตรในวันอาสาฬหปูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่าย อกุสล จะไม่บันลุธัมม เช่น พญามาราธิราช ซึ่งมาขัดขวางเพราะได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ว่า จะทำหน้าที่ขัดขวาง เพื่อจะเป็นพระมหาโพธิสัตต ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป หรือท่านมหาเทวทัต ท่านมหาจิณจมาณวิกา ท่านมาขัดขวางเพื่อจะลงอเวจี แล้วขึ้นมาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธะ เราจึงไม่ควรไปกล่าวติเตียนปรามาสท่านเหล่านั้น (๒) อภิธัมม (๔๒,๐๐๐ ธัมมขันธ) ซึ่งเป็นเหตุแห่งการบันลุธัมม ส่วนวินัย ๒๑,๐๐๐ ธัมมขันธ (เป็นผล) เป็นการวางกฏเกณฑ์ให้ภิกขุ ภิกขุนี (หญิง/ชาย ที่มีอายุ ๒๐ ปี ปัพพัชชาเป็นภิกขุ ภิกขุนีได้ แบบญัตติจตุตถกัมมวาจา มีคำกล่าวขอบวชว่า “อุกาสะ วันทามิ ภันเต...”) แล้วต้องสำรวมระวังให้ประพฤติทางกายและวจีให้เรียบร้อย แตกต่างจากฆราวาส พระพุทธเจ้ามีการปัญญัตติวินัย ในวัสสาที่ ๒๐
ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ พ.ส. ๒๓๔ พระอรหันต์ได้ขยายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นติปิฎก มีพระวินัย พระสูตร พระอภิธัมม และในการทำสังคายนาครั้งที่ ๕ พ.ส. ๔๓๓ พระเจ้าวัฏฏะคามณีอภัย ซึ่งทรงจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด จึงเป็นองค์ราชูปถัมภกอาราธนาให้พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ ท่านทำสังคายนา (มาเจริญธัมม สวดท่องขึ้นพร้อมกัน หากมีคำเสียงแตกต่างจะแก้ไขให้ตรงกัน เพราะพระอรหันต์จดจำได้หมดเรียกว่า ธัมมปาละ) และให้จารึกลงในใบลาน เพราะทรงเห็นแล้วว่า คนพุทธรุ่นหลังจะจดจำได้น้อยลงไป
ด้วยเหตุนี้ หลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี คนเริ่มสร้างพระพุทธรูป นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ชาวกรีกที่หันมานับถือพุทธสาสนา จึงได้ออกแบบสร้างพระพุทธรูป ปางคันธราชเพื่อเอาไว้สักการะปูชา ต่อมามีการสร้างแบบมถุรา แบบคุปตะ แบบปาละ-เสนะ แบบอมราวดี แบบปาลวะ แบบโจฬะ เป็นต้น จึงเป็นเหตุทำให้คนไม่สนใจมาสิกขาธัมมที่ถูกต้อง เราชาวพุทธรุ่นปีมหาพุทธชยันตี ๒๖๑๓ วัสสา ต้องมาสนใจที่เหตุ คือ อภิธัมม ๔๒,๐๐๐ ธัมมขันธ โดยเฉพาะการจดจำ จิต ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพาน ๑ อันเป็นปรมัตถะธัมม อันสำคัญยิ่งต่กการรู้เข้าใจและบันลุธัมมได้จริง
ความสำคัญ ๙ อย่างในวันอาสาฬหปูชา วันขึ้น (สุกกะปักขัสสะ) ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (อาสาฬหะมาสัสสะ) ปัจจุปันเป็นปีมหาพุทธชยันตี ๒๖๑๓ วัสสา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม มหาพุทธปรินิพพาน ๒๕๖๗ วัสสา มีดังนี้
- มหาโพธิสัตต์ที่สถิตย์ ณ สะหวันชั้นดุสิตา เสด็จลงมาปฏิสันธิลงสู่พระครรภ์พระมหาโพธิสัตตมาตา พระนางสิริมหามายาเทวี ในนิมิตเป็นพระยาช้างสีทองอันเชิญดอกบัวตูมมาประทักขิณาวัฏฏ ๓ รอบ และประทับในพระครรภ์นาน ๑๐ เดือน
- มหาโพธิสัตตเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงพระชนมายุ ๒๙ วัสสา ได้เสด็จออกมหาภิเนสกัมม (ออกบวช) ในตอนเช้า โดยทรงม้ากัณฐกะ พร้อมนายฉันนะ ออกจากมหานครกปิลพัสตุ ไปยังแม่น้ำอโนมานที ทรงปลงพระเกสาแล้วทรงโยนขึ้นสู่นภากาศ เทพเทวาได้อันเชิญประดิสฐาน ณ พระเกสแก้วมณีเจติยะสะหวัน ชั้นตาวติงสา ชั้นที่ ๒ ทรงครองผ้ากาสาวะ เป็นปฐมภิกขุองค์แรก
- พระมหาราหุลราชกุมารทรงประสูติกาลในวันนี้ ต่อมาท่านได้ปัพพัชชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๗ วัสสา จนบันลุพระอรหันต์และเสด็จขึ้นไปปรินิพพานบนสะหวันชั้นตาวติงสา ก่อนพระพุทธเจ้าและก่อนพระอุปัชฌาย์ คือพระมหาสารีปุตต
- ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิทรงประกาสคำว่า “พุทธะ / พุทโธ” ต่อปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ณ ปัญจวัคคียเจติย (ปัจจุบันเรียกว่า เจาคันทีสถูป) บริเวณใกล้ธัมเมกขสถูป ประมาณ ๕๐๐ เมตร
- ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิทรงแสดงธัมม ครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทสนา “ธัมมจักกัปปวตนสูตร” ให้แก่มหาอัญญาโกณทัญญะและสหายพรหมอีก ๑๘ โกฏิ (๑๘๐ ล้านท่าน) จนบันลุอริยปุคคล ชั้น โสตาปันนะ ณ บริเวณธัมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ป่าสวนกวาง ป่าสาละ ซึ่งปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้ฟังธัมมจักฯ แต่ได้บันลุเพียงท่านมหาอัญญาโกณทัญญ ในฐานะมนุสส ส่วนท่านวัปปะ บันลุในวันต่อมา แรม ๑ ค่ำ ท่านภัททิยะ บันลุ แรม ๒ ค่ำ ท่านมหานามะ บันลุในวันแรม ๓ ค่ำ และท่านอัสสชิ ได้บันลุในวันแรม ๔ ค่ำ ทั้ง ๔ ท่านบันลุด้วยธัมม “ธัมมใดเกิดแต่เหตุ ตถาคตทรงแสดงเหตุนั้น และความดับของเหตุนั้น...”
- บังเกิดปฐมสังฆะ ท่านแรก คือท่านมหาอัญญาโกณทัญญ ท่านบันลุโสตาปันคนแรก ขณะเป็นฆราวาส จึงได้ชื่อว่า “สังฆะ” สังฆะ คือ พระโสตาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
- ปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบเดียรถีย์ ปริพพาชากทั้ง ๖ (อนาคตจะเป็น พระปัจเจกพุทธะ) ณ ควงไม้มะม่วง เมืองสาวัตถี และเสด็จขึ้นสู่สะหวันชั้นตาวติงสา เพื่อทรงแสดงอภิธัมมตลอด ๙๐ วัน ในช่วงเข้าวัสสา เพื่อโปรดเทวตาให้บันลุธัมม ๘๐๐ ล้านท่าน โดยมีท่านเสตะเกตุเทพปุตต (อตีตะท่านสิริมหามาตา) เป็นประธานและได้บันลุอริยปุคคลชั้นโสตาปันนะ ถือเป็นการแสดงความกตัญญูโปรดมหาโพธิสัตตมาตาให้เป็นมนุสสเทโว หรือเรียกว่า ได้ธัมมสัญญา ตามที่เรียกกันทั่วไปว่า พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ความหมายที่จริงคือ พ่อคือพระเจ้าสุทโธทนะได้บันลุพระอรหันต์ในวัสสาที่ ๕ แม่คือพระนางสิริมหามายา บันลุโสตาปันในวัสสาที่ ๗ ลูกคือพระพุทธเจ้า ส่วนพวกเราทั้งหลายมีพ่อแม่ไม่สนใจธัมม เป็นพียงปุถุชนเท่านั้น อย่าไปเรียกให้ท่านปาปกัมมเปล่า ๆ
- เกิดปฐมภิกขุนี ขึ้นครั้งแรก คือ ท่านมหาปชาปตีโคตมี (แม่นม) ทรงได้รับ “ครุธัมม ๘”ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี ในวัสสาที่ ๕ ต่อมาท่านมาพิจารณาธัมม จนบันลุธัมม เป็นพระอรหันตเถรี บริเวณสถูปห่างออกไปราว ๑ กิโลเมตร ปัจจุบันคือเขตวิวัฏฏปฐมภิกขุนีมหาปชาปตีโคตมีอรหันตเถรีชยันตี ๒๖๐๐ ที่มีที่ดินเชื่อมแนวสถูปของท่านสากิยานี ๕๐๐ แนวป่าไผ่ ป่าตาลและสถูปของท่านมหาปชาปตีโคตมีเจติยะ ท่านมหาปชาปตีอรหันตเถรี พร้อมมหาสากิยานีอรหันตเถรี ๕๐๐ ได้ทูลลาปรินิพพานและแสดงอภิญญาฤทธิ์ใหญ่กว่ามหาอัครสาวก ตรงบริเวณ วิวัฏฏะฯ แห่งนี้ ต่อปรมัตถอนุตตรสัมมาสัมโพธิ
- ทำให้มีครบ พุทธจตุปริสา ครบ ๔ มีภิกขุ อุปาสก อุปาสิกา ภิกขุนี ในวัสสาที่ ๕ สมกับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพญามาราธิราชว่า เมื่อใดที่ยังมีไม่ครบพุทธบริสัท ๔ พระองค์จะไม่ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน บัดนี้มีครบแล้ว หมายความชาวพุทธสามารถสร้างปุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้สมบูรณ์แล้ว เปรียบเหมือนรถยนต์ ๔ ล้อ ขับเคลื่อนได้อย่างดี ไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย และมีสงฆ์สองฝ่ายเกิดขึ้นที่เมืองเวสาลี คือภิกขุสงฆ์ (อตีตเจ้าชายสากยะ ๕๐๐ ภิกขุอรหันต์) และ ภิกขุนีสงฆ์ (อตีตมเหสี สากิยานี ๕๐๐ ภิกขุนีอรหันต์)
http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/743/files/Arsalaha-Pucha_July29.pdf