Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ความคืบหน้า โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย 222
คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ร่วมกันพิจารณา 4 หลักสูตร มุ่งเป้าพัฒนาศักยภาพคนไทย กว่า 2 แสนคน
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมการดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการ OFOSภายใต้ชื่อโครงการ หนึ่งหมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย เพื่อพิจารณาหลักสูตรที่จะเปิดให้ประชาชน ได้เข้าไปศึกษาองค์ความรู้ด้านอาหารไทยและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่าน Platform online ของ THACCA Academyโดยมีนายชุมพล แจ้งไพร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมอนามัย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพตัวแทนจากภาคการศึกษา เช่น ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคล ประธานที่ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันเทคโนโลยีจิตลดาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ โดยมีนายเมธี ลิมนิยกุล ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากภาคเอกชน อาทิ สมาคมโรงแรมไทย บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ เนชั่นเนล จำกัด (มหาชน) สมาคมร้านอาหารไทยสตรีทฟู้ด
เนื้อหาการประชุม ประกอบด้วยการพิจารณาหลักสูตร ภายใต้โครงการ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย”
แบ่งออกเป็นการเรียน 4 หลักสูตร เพื่อผู้เรียน 4 ระดับ ดังนี้
1. หลักสูตร ทำกินได้ ทำขายดี โดยจะเป็นหลักสูตรออนไลน์ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนทั่วไป ที่สนใจการทำอาหาร เนื้อหาของหลักสูตรจะเป็นวิดีโอสาธิตการประกอบอาหาร (Cooking Demonstration) ในเมนูที่เป็นที่นิยม มากกว่า 30 รายการอาหาร โดยเชฟอาหารไทยมืออาชีพและผู้มีชื่อเสียงด้านอาหารไทย
2. หลักสูตร ผู้ประกอบอาหารไทยมืออาชีพ (Professional Thai Chef) เป็นหลักสูตรแบบ Hybrid (ออนไลน์+ออฟไลน์) มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่สนใจประกอบอาชีพเป็นเชฟอาหารไทยในครัวของห้างร้านหรือประกอบกิจการของตนเอง โดยหลังจากการอบรมในหลักสูตรนี้แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรและใบรับรอง จาก 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังได้รับการสนับสนุนให้ได้มีโอกาศฝึกงานกับสถานประกอบการชั้นนำของทั้งไทยและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสได้งานทำหลังจบการฝึกอบรม
3. หลักสูตร mini MBA Thai Chef เป็นหลักสูตรออนไลน์ 120 ชั่วโมง โดยเหมาะสำหรับผู้จัดการหรือนักบริหารงานครัว ซึ่งมีเนื้อหาในการพัฒนาบุคลากรระดับปฏิบัติการเป็นระดับบริหารหรือหัวหน้าเชฟ ภายในหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหา เช่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับงานครัวไทย การออกแบบรายการอาหารและพัฒนาตำรับอาหารอย่างสร้างสรรค์ การจัดการการเงินสำหรับครัวไทย/ร้านอาหารไทย เป็นต้น
4. หลักสูตร ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร (Thai restaurant entrepreneur) เป็นหลักสูตรออนไลน์ 120 ชั่วโมง สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหาร งานจัดเลี้ยงนอกสถานที่และอื่นๆ โดยในหลักสูตรจะเป็นการนำไปสู่การเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารไทยอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแผนธุรกิน การสร้างตราสินค้าและผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ การบริหารงานครัว การสื่อสารและการตลาดรวมไปถึงการเงินและภาษี เป็นต้น
โดยทางโครงการ มีการตั้งเป้าหมายให้มีประชาชนสมัตรเข้าเรียนทั้ง 4 module นี้ รวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 2 แสนคน ในปี 2567 และหลักสูตรเหล่านี้จะพัฒนาต่อยอดไปอีกในปีถัดๆไป ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดรับสมัครให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนได้ในบางหลักสูตร ภายในเดือน กรกฎาคม 2567 นี้
ประมวลภาพการประชุม