การเชื่อมโยงตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ  143

คำสำคัญ : แรงงาน  มาตรฐาน  วิชาชีพ  การรับรอง  อาหารไทย  

กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

เป็นการกำหนดกรอบการเชื่อมโยงระหว่างคุณวุฒิการศึกษากับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและมาตรฐานอาชีพ
อันจะส่งผลกับการผลิตและการพัฒนากาลังคนที่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มโอกาสการศึกษาให้กับแรงงานที่มีประสบการณ์สูงแต่มีวุฒิการศึกษาไม่สูงมาก
ได้มีโอกาสนำประสบการณ์ที่มีมาเทียบโอนเพื่อย่นเวลาในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
โดยมีกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. วุฒิการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน + อุดมศึกษา)

2. มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

3. คุณวุฒิวิชาชีพ (Professional Qualifications Framework: PQF)

4. กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (ASEAN Qualifications Reference Framework: AQRF)

 

การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็น การทดสอบความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงาน
ของผู้ประกอบอาชีพตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ผู้ทดสอบผ่านจะได้รับหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระบุ ชื่อ นามสกุล สาขาและระดับที่ผ่านการทดสอบ
เป็นหลักฐานยืนยันในทักษะ ฝีมือของตน 

เกณฑ์การพิจารณาประเมินผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จะคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 
         – ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน 
         – ความปลอดภัยในการทำงาน 
         – ขั้นตอนวิธีการทำงานที่เหมาะสม 
         – การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง 
         – การเลือกและใช้วัสดุอย่างประหยัด 
         – เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีความเหมาะสม 
         – ผลงานสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ

โดยสิทธิประโยชน์ของผู้ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานฝีมือแรงงานแหง่ชาติ จะได้รับ เช่น

1. การได้รับการยอมรับในวงกว้างทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

2. การเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อการรับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น

3. การเทียบเคียงกับคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualification Framework : NQF) เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการศึกษา

 

 

การเชื่อมโยงมาตรฐานฝีมือแรงงานกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ

กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงาน
โดยมีสาขานำร่อง 20 สาขา 3 ใบรับรอง โดยผู้เข้าร่วมโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย จะได้รับการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานระดับ 1 และการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4
สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ตามกรอบความร่วมมือดังกล่าว


เขียนโดย : นายณัฐพล  มหาไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattaphon.m@mhesi.go.th

มีประโยชน์ มาก ลองดูว่าจะออกแบบการทำงานร่มกับ สคช. ได้อย่างไร

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ