Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
บพค. ผนึกพลังศูนย์ความเป็นเลิศ (CENTER OF EXCELLENCE) มุ่งสร้างเครือข่ายการวิจัยขั้นแนวหน้า FRONTIER SCIENCE ALLIANCES ภายใต้แพลตฟอร์มธัชวิทย์รับมือภาวะโลกรวน 165
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดการประชุมหารือการสร้างภาคีเครือข่ายงานวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Science Alliances) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence, CoE) ภายใต้แพลตฟอร์มวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Science: TAS) หรือ “ธัชวิทย์” มิติที่ 2 ณ ห้องประชุมคราวน์บอลรูม ชั้น 21 โรงแรมคราวน์พลาซ่า ลุมพินีพาร์ค ถนนพระราม 4 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และประธานคณะกรรมการบริหาร บพค. พร้อมกันนี้ คณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. ได้แก่ ศ.ดร.ฉัตรชัย เหมือนประสาท ประธานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน Frontier BCG และการแพทย์ส่วนบุคคล รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ประธานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน Net zero รศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ ประธานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน Frontier Research และอาจารย์จตุรภรณ์ โชคภูเขียว ประธานคลัสเตอร์ บพค. ด้าน Frontier SHA AI และ Coding ได้เข้ามาร่วมกำหนดทิศทางการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอการสนับสนุนทุนวิจัยเชิงกลยุทธ์ (Strategic fund) สำหรับปีงบประมาณ 2567 โดยมีผู้อำนวยการ CoE ได้แก่
ศ.เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล (เคมี)
ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ (ปิโตรเคมีและวัสดุ)
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ (พลังงานและสิ่งแวดล้อม)
ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี (คณิตศาสตร์)
รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล (ฟิสิกส์)
ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา (ความหลากหลายทางชีวภาพ)
ผศ.ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ (เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์)
และคุณอภิเดช ไม้หนองกอย ผู้ประสานงานกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. รวมทั้งอาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 110 ท่าน ณ ห้องประชุมคราวน์บอลรูม ชั้น 21 โรงแรมคราวน์พลาซ่า ลุมพินีพาร์ค ถนนพระราม 4 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานประชุมฯ เพื่อรวบรวมข้อเสนอโครงการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาร่วมกันพัฒนาโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์ต่อการประเด็นที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่รองรับสภาวะโลกรวน (Climate change) ในการตอบสนองต่อแนวทางนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเป้าสู่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608)