บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย “มุมมองหอการค้า : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ”   141

คำสำคัญ : เขตเศรษฐกิจพิเศษ  มุมมองหอการค้า    

คุณวรรณา ดุลยาสิทธิพร รองประธานคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้บรรยายเกี่ยวกับ “มุมมองหอการค้า : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ” โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังนี้

     มุมมองหอการค้าต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมุ่งโฟกัสไปที่ EEC เพื่อรองรับ Digital transformation พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจอนาคต ผลักดันให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งตอนนี้ยังคงขาดแคลนบคลากรในการทำงานจำนวนมาก ดังนั้น ความต้องการบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในปี 2562 - 2566 จำนวน 475,688 อัตรา ใน 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐานใน EEC มีอัตราความต้องการแรงงานสูง แต่ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและภาษา การผลิตคนยังไม่ตอบโจทย์รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต จึงต้องหาแนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์เขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมกับหอการค้าไทยด้วยผู้ประกอบการด้านต่างๆ เช่น เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยวและบริการ ทั้งหมด 156 สมาคม จากแนวคิดเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สรุปได้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยน Mindset ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก Reskill-Upskil-Newskil มีหลักสูตรระยะสั้นในการรียนรู้ทักษะอื่นๆ ปรับตัวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งโครงการ CWIE ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหนึ่งในกลไกตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับการทำงานของหอการค้า รวมถึงพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อผลักดันการทดลองพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนแต่ละพื้นที่อย่างอิสระ

     การดำเนินงานเพื่อยกระดับการพัฒนากำลังคน มีการพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ยกระดับด้านภาษาอังกฤษให้สมาชิกเครือข่าย การพัฒนาครูต้นแบบ ผลักดันโรงเรียนร่วมพัฒนายกระดับทักษะการจัดการของครูให้ตรงตามศตวรรษที่ 21 ร่วมไปถึงการสร้างการรับรู้และเชื่อมโยงความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่นวัตกรรม ดึง SME ให้เข้าสู่ระบบ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาบุคคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและสังคมไทยก้าวสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะภาคธุรกิจในพื้นที่ EEC จะสามารถสร้างประโยชน์ระยะยาวจากการลงทุน FDI มูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท ภายใน 3 - 5 ปี


เขียนโดย : นายณัฐวุฒิ  ศรีสมบัติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattawut.s@mhesi.go.th