Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
โจทย์ปัญหาของ คาร์ล ดุงเกอร์ ว่าด้วยการคิดแบบนอกกรอบแวดวงเดิมๆ 170
หลังจากที่เห็นคลิปแมลงวันกับผึ้งแล้ว ผมเลยนึกถึงเรื่องที่เคยอ่านมาเมื่อนานมาแล้ว อยากจะนำมาแบ่งบันเพราะคิดว่าสนุกมากครับ
.
.
.
ในชั้นเรียนวิชาแก้ปัญหาในช่วงปี 1930 มีโจทย์สมมุติที่ครูชื่อ คาร์ล ดุงเกอร์ ใช้ในห้องเรียน
ผมอยากให้ทุกคนลองฟังโจทย์นี้แล้วพยายามหาคำตอบด้วยตัวเองก่อน
"สมมุติว่าคุณคือแพย์ที่มีคนไข้เป็นเนื้องอกอันตรายในกระเพาะอาหาร
การรักษาไม่สามารถทำได้โดยการผ่าตัดเนื้องอกจากภายนอก และหากไม่ผ่าเข้าก็จะตายในอีกไม่กี่ชั่วโมง
ในยุคนั้นมีการเริ่มรู้จักการรักษาแบบฉายแสง (รังสี) ที่มีคุณสมบัติทะลุผ่านและสามารถไปทำลายเนื้องอกนั้นได้ ถ้าความเข้มแสงเพียงพอโดยไม่ต้องผ่าตัด
แต่.............ปัญหาคือความเข้มแสงระดับนั้นก็จะไปทำลายเนื้อเยื้อดีๆ บริเวณที่แสงผ่านเข้าไปด้วยเช่นกัน
และแม้แสงความเข้มข้นต่ำจะไม่เป็นอันตรายกับเนื้อเยื้อดีๆ แต่ก็ไม่สามารถทำลายเนื้องอกได้เช่นกัน"
คุณได้รับภาระกิจให้ทำลายเนื้องอกนั้นซะ เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ คุณจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้?
---ลองใช้เวลาสักนิดเพื่อหาคำตอบ---
.
.
.
.
.
แต่หากยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ผมขอเล่าอีกสักเรื่องให้ฟัง
"กาลครั้งหนึ่งมีนายพลยกพลขึ้นบกเพื่อไปบุกยึดป้อมปราการใจกลางประเทศจากผู้นำเผด็จการจอมโหดเหี้ยม
การจะตีป้อมนั้นให้แตก ต้องใช้ทหารที่มีทั้งหมดโจมตีเข้าไปพร้อมๆกัน ในครั้งเดียว เขาจะยึดมันได้แน่นอน
เส้นทางเคลื่อนพลของทหารกระจัดกระจายจากปราสาทในลักษณะเป็นเหมือนซี้ล้อและแต่ละเส้นทางก็มีกับระเบิดมากมาย
ทหารกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ที่จะสามารถผ่านเส้นทางเหล่านี้ได้
นายพลตัดสินใจแบ่งกองทัพเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ละกลุ่มใช้เส้นทางแต่ละสายเพื่อเคลื่อนพลไปยังปราสาท
พวกเขาต้องตั้งนาฬิกาเพื่อเข้าตีพร้อมๆกัน
แผนนี้ได้ผลนายพลสามารถยึดปราสาทได้และล้มล้างจอมเผด็จการได้สำเร็จ"
.
.
.
มาถึงตรงนี้ ขอถามซ้ำว่า ทุกคนหาทางรักษาคนไข้ได้รึยังครับ?
และในระหว่างที่ทุกคนกำลังคิดนั้น ผลขอลเล่าอีกสักเรื่องระหว่างนี้
.
.
.
"ในวันหนึ่งในเมืองเล็กๆ เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงเก็บฟืน บริเวณใกล้ๆ นั้น ไม่มีหัวจ่ายน้ำดับเพลิงอยู่เลย
หัวหน้านักดับเพลิงเดินทางมาถึงอย่างรวดเร็ว และกำลังเห็นว่าหากไม่รีบควบคุมไป จะทำให้เกกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนใกล้เคียง
ตอนนั้นมีเพื่อนบ้านหลายคนช่วยกันตักน้ำจากทะเลสาบใกล้เคียงที่มีน้ำอย่างเหลือเฟือ พยาสาดน้ำเพื่อช่วยกันดับไฟแต่เหมือนจะไม่มีความคืบหน้าเลย
ทันใดนั้นพวกชาวบ้านต่างก็ตกใจ ที่หัวหน้าหน่วยดำเพลิงตะโกนสั่งให้ทุกคนหยุดแล้วเดินไปตักน้ำในทะเลสาบมาพร้อมๆกัน
หลังจากนั้นก็สั่งให้ล้อมโรงเก็บฟืนนั้นและนับหนึ่งถึงสามเพื่อสาดน้ำพร้อมๆกัน
ผลคือ...ไฟดับลงในทันที
.
.
.
เอาหล่ะ มาถึงตอนนี้ คนไข้คงจะปลอดภัยแล้วสินะ
อ่าวไม่อย่างงั้นรึ!!!!!
.
.
.
ถ้าคุณยังหาคำตอบไม่ได้ ไม่เป็นไร คุณคือคนส่วนใหญ่
มีเพียง 10% ที่ตอบได้ทันทีหลังจากฟังโจทย์
และเพิ่มเป็น 30% หลังจากฟังเรื่องของนายพล
เราเป็น 50% หลังจากฟังทั้ง 3 เรื่อง
.
.
.
เอาหล่ะมาดูเฉลยกัน
คุณ (หมอ) จะฉายแสงความเข้มข้นต่ำจากหลายทิศทางเพื่อเข้าไปรวมกันแล้วมีความเข้มข้นเพียงพอ
ที่จะทำลายเนื้องอกโดยที่แสงไม่ไปทำลายเนื้อเยื้อดีๆ ระหว่างทาง
คล้ายกับนายพลแบ่งทหารเป็นกลุ่มเล็กๆ และนักดับเพลิงที่ถือถังน้ำรอบโรงฟืนและดับไฟพร้อมๆกัน
.
.
.
ไม่ต้องเสียใจไปถ้าคุณยังคิดไม่ออก เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณตอบได้หรือไม่ได้
แต่ประเด็นคือบทเรียนจากวิธีแก้ปัญหา การใช้อุปมาจากเหตุการที่ไม่น่าจะเกี่ยวกันได้เลย
ช่วยเพิ่มสัดส่วนคนที่ตอบคำถามนี้ได้เป็น 1 ใน 3 ยิ่งใช้สองอุปมายิ่งมีคนตอบได้เพิ่มขึ้น เป็น 1 ใน 2
.
.
.
สุดท้ายนี้เป็นส่วนที่ผมพอจะสรุปออกมาเป็นข้อคิดจากการทดลองนี้ คือ
การวิเคราะห์ หรือพยายามดูเฉพาะขอบเขตภายในที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ใช้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เช่นดังในโจทย์ข้างต้นที่อาจจะเป็นปัญหาทางการแพทย์
เราอาจจะไม่ทันมองหาอุปมาที่ไกลตัวหน่อย (ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะเป็นสัญชาตญาณ) ทั้งๆที่ควรจะมองอะไรนอกกรอบปัญหากว้างๆ
หาที่ไกลๆกับปัญหาที่เจอไปเลย การพึ่งพาประสบการณ์จากแวดวงเดียวอาจไม่เพียงแต่จำกัดจำเขี่ยแล้ว
บางทีก็เป็นหายนะได้เลย
และทั้งหมดนี้ ผมได้มาจากหนังสือเรื่อง "วิชารอบรู้ - Range" โดย David Epstein
หนังสือขายดีอันดับ 1 New York Time ปี 2020 และหนังสือที่ บิลล์ เกตส์ แนะนำ
ขอบคุณครับ
เป็นวิธีแก้ปัญหาที่น่าสนใจ การคิดแบบนี้ต้องการประสบการณ์ และกาอ่านเยอะๆ
การติดแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ และจังหวะชีวิตด้วย
เหมือนเวลาเรามองเรื่องคนอื่นมักจะไม่หนักนา แต่พอตนเองประสบเรื่องเดียวกัน มันยิ่งใหญ่มาก
เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่นอกจากใช้เหตุและผล ทุกคนจะมี Emotional ส่วนตัวกันแทบทุกคน
เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากเลยครับ รอติดตามบล็อกต่อๆไปนะครับ เผื่อมีต่อ ^^