Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
บทบาทสถาบันการอุดมศึกษา ต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย 133
คำสำคัญ : กพศ เขตเศรษฐกิจ ระเบียงเศรษฐกิจ
ในสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีปัจจัยภายนอกภายในที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น การแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศ บทบาทของประเทศมหาอำนาจต่างๆในภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และรวมไปถึงการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โรคโควิด 19 ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและก็ส่งผลต่อขีดความสามารถของประเทศ เพราะฉะนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ เพื่อจะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเชิงพื้นที่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ
โดยประเทศไทยมีความได้เปรียบ 2 อย่าง คือ ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ที่เราอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนรายล้อมด้วยประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก อีกส่วนคือ ผลจากการลงทุนของภารรัฐในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ได้กระจายไปยังพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีผลที่จำทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาคให้เป็นฐานการลงทุน เพื่อจะกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ ที่ผ่านมาการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจก็จะมีทั้งเรื่องของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC โดยมี พรบ.เฉพาะ และมีสำนักงาน EEC ที่ดูแลเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4ภาค ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ต้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน สร้างเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะดึงดูดการลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ สอดรับกับความต้องการ เชื่อมโยงทั้งในประเทศและก็ประเทศต่างประเทศ เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ในแผนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติก็เปิดเป็นเรื่องเฉพาะ
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 กำหนดไว้ในหมุดหมายที่ 8 ที่สำคัญล่าสุดคือนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ส่งเสริมเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เรื่องของการพัฒนาต่อยอดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้นการปรากฏอยู่ในแผนทุกระดับจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง เป็นแค่ระดับอำเภอ ตำบล อีกส่วนคือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค เป็นการดำเนินการในระดับจังหวัด ระเบียงหนึ่งมี 4 จังหวัด ซึ่งสภาพัฒน์จะต้องขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลไกการขับเคลื่อนระดับชาติ เรียกว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีคณะอนุกรรมการ จำนวน 3 ชุด กลั่นกรองในเรื่องเฉพาะ ได้แก่ (1) ด้านสิทธิประโยชน์ กำหนดพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (2) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาด่านศุลกากร การวางระบบบริหารจัดการด่านพรมแดน (3) ด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ โดยทั้ง 3 ชุดจะมีปลัดกระทรวงเป็นประธาน และฝ่ายเลขาฯ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ในระดับพื้นที่จะมีคณะทำงานบริหารจัดการและขับเคลื่อนระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ/เขตขายแดนในระดับพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ฉะนั้นการสอดประสานระดับนโยบายไปสู่ระดับพื้นที่จะใช้กลไกดังกล่าว และต้องเป็นไปตามนโยบายของ กพศ. ในการขับเคลื่อนให้สอดรับกับความต้องการของคนในพื้นที่
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตฯ ชายแดน 10 เขต 13 กลุ่มกิจการ 89 ประเภทกิจการ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง
2. การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ โลหะ และวัสดุ
3. การผลิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง
4. การผลิตเครื่องเรือน
5. การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ
6. การผลิตยานยนต์เครื่องจักร และชิ้นส่วน
7. การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
8. การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเยื่อกระดาษ
9. การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์
10. กิจการบริการ
11. กิจการสาธารณูปโภค
12. นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
13. กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนาระเบียงฯ 4 ภาค
ภาคเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง) : เน้นเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศ [อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย) ฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เชื่อมตลอดห่วงโซ่การผลิต [อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร]
ภาคกลาง-ตะวันตก (พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี) เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำเรื่องอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง เน้นการเชื่อมโยงกับ กทม. ปริมาณฑล EEC ได้สะดวก ทั้งมิติพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรม เศรษฐกิจ [อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์]
ภาคใต้ (ชุมพร ระนอง สุรษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) เน้นเป็นศูนย์กลางการค้า โลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงการค้าภายในประเทศและกลุ่มประเทศ ฐานอุตสาหกรรมชีวภาพและแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง เช่น ปาล์ม ยางพารา ผลไม้ พืชสมุนไพร และการยกระดับการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ [อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ]
คลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ปรากฏอยู่ทุกระเบียง แต่วัตถุดิบของแต่ละระเบียงแตกต่างกัน การสร้างมูลค่าเพิ่มแตกต่างกัน เช่น ภาคอีสาน มีเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าจากโปรตีนทางเลือกจากแมลง เป็นต้น
การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงฯ ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน
1. การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกในการลงทุน ค่อนข้างมีความก้าวหน้ามาก มีการดำเนินการในส่วนของการให้สิทธิประโยชน์เป็นการเฉพาะ กำหนดมาตรการส่งเสริม Ecosystem มีกิจการเป้าหมายตามจุดเน้นการพัฒนาแต่ละระเบียงฯ + ส่งเสริม BCG
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
3. การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการบริการ ต้องเชื่อมโยงต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ได้รับประโยชน์
4. การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ การเตรียมคน เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ เป็นหัวใจสำคัญที่จะสนับสนุนให้การเติบโตมีความต่อเนื่อง
5. การวิจัย พัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดรับกับงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ โดยมี อว. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก หากให้ความสำคัญกับการแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ จะก่อให้เกินการขับเคลื่อนแบบความก้าวกระโดด การลงทุนของภาคธุรกิจจะมีการเติบโต สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคน
ประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนาในระยะต่อไป
- ส่งเสริมให้เกิดการลงทุน จูงใจให้คนมาลงทุนเพิ่มขึ้นตาคลัสเตอร์ที่กำหนด
- เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาแรงงานให้เพียงพอ และสอดรับกับกิจการเป้าหมาย (ตลาดแรงงาน) และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ
- สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และเชื่อมโยงต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ในห่องโซ่การผลิต สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมในห่วงโซ่
- สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ต่อยอดงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ เพิ่มศักยภาพสถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย และอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ให้มีบทบาทเชื่อมโยงภาคีในการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังผู้ประกอบการทุกระดับ รวมถึงเกษตรกร
แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์ประกอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนา ววน. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ
เป้าหมาย มูลค่าสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และมูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเมืองน่าอยู่ เชื่มโยงภาคการผลิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
เป้าหมาย เมืองน่าอยู่ตาม 5 มิติของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น เมืองชายแดน และเมืองแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน อย่างครอบคลุม ทั่วถึงคนทุกกลุ่ม โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีโดยเฉพาะ Appropriate Technology และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจภายในประเทศและระดับภูมิภาค
เป้าหมาย การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ที่เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศและระดับภูมิภาค (ASEAN) โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เขียนโดย : สุชานุช ชนะชาญมงคล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : suchanuch.c@most.go.th