Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
กรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง Lancang - Mekong Cooperation: MLC 212
เป็นข้อริเริ่มของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยมี ความร่วมมือ 3 เสาหลัก ได้แก่
(1) การเมืองและความมั่นคง
(2) เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(3) สังคมและวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน
5สาขาความร่วมมือสำคัญ ได้แก่
(1) ความเชื่อมโยง
(2) ศักยภาพในการผลิต
(3) เศรษฐกิจ ข้ามพรมแดน
(4) ทรัพยากรน้ำ
(5) การเกษตรและการขจัดความยากจน
โดยมีกลไกในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม สร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกันของประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการผลิตในอนุภูมิภาค และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง คือ กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (MLC Special Fund: MLCSF) กองทุนพิเศษฯมีมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จัดตั้งโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก โดยมีข้อกำหนดในการของบประมาณโครงการมูลค่าไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ/โครงการ โดยในปัจจุบัน มีการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพิเศษดังกล่าว
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2566ข้อเสนอโครงการฯ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้าเนินงานจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างแล้ว เป็นจ้านวนทั้งสิ้น 34
โครงการ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 322.6ล้านบาท* ดังนี้
o ปี พ.ศ. 2561จ้านวน 2โครงการ (รวมวงเงิน 4,160,000 RMB ≈ 20.8ล้านบาท)
o ปี พ.ศ. 2563จ้านวน 4โครงการ (รวมวงเงิน 1,436,576 USD ≈ 50.3ล้านบาท)
o ปี พ.ศ. 2564จ้านวน 7โครงการ (รวมวงเงิน 2,396,800 USD ≈ 83.8ล้านบาท)
o ปี พ.ศ. 2565จ้านวน 8โครงการ (รวมวงเงิน 1,957,800 USD ≈ 68.5ล้านบาท)
o ปี พ.ศ. 2566 จ้านวน 13 โครงการ (รวมวงเงิน 2,834,101 USD ≈ 99.2 ล้านบาท)
กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (MLC Special Fund: MLCSF) เป็นกรอบความร่วมมือการดำเนินงานของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยประเทศ CLMVT แล้ว และมีประเทศจีนเป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณความร่วมมือ ในกรณีที่ไทยต้องการส่งเสริมกรอบความร่วมมือดังกล่าว เพื่อผลักดันงานด้าน อววน. ในการพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว เราสามารถสร้างความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก เพื่อมาช่วยพัฒนาในกลุ่มประเทศ CLMVT ได้ด้วยหรือไม่ครับ
สามารถทำได้ครับ
ซึ่งโครงการที่สามารถยื่นขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างต้องมี ลักษณะ ดังนี้
1 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
2 สอดคล้องกับปฏิญญาระดับผู้นาของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (เช่น ปฏิญญาซานย่า ปฏิญญาพนมเปญและปฏิญญาเวียงจันทน์) แถลงข่าวร่วม แถลงการณ์ร่วม และข้อริเริ่มของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ตลอดจนแผนปฏิบัติการกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
3 โครงการในสาขาที่จะได้รับการพิจารณาเป็นลาดับต้น ได้แก่
(1) การพัฒนากลไกในกรอบกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
(2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
(3) การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(4) สังคมและวัฒนธรรม
(5) ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
4 เป็นโครงการพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างทั้งหมดหรือประเทศสมาชิกส่วนมากได้ประโยชน์ โดยเฉพาะโครงการที่เป็นการยื่นขอรับทุนร่วมกันของประเทศสมาชิก หรือเป็นโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะทางานเฉพาะด้านของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
5 เป็นโครงการที่สามารถทาได้จริงและมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
6 เป็นโครงการที่มีส่วนประกอบของกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ผลงานและการส่งเสริม การทูตสาธารณะ เพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
เป็นกองทุนกองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง นับว่าเป็นการเปิดโลกให้หนูมากเลยค่ะพี่ตั้ม เพราะว่า หลังจากได้ศึกษาและได้ลองประสานหน่วยงาน ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านทรัพยากรและดาราศาสตร์ อย่างเช่น NARIT และ GISTDA ตามที่พี่ตั้มได้แนะนำให้ลองประสานเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานในสังกัดเรา เมื่อ NARIT และ GISTDA รวมทั้งเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา มีเจตจำนงค์ที่อยากจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ทำให้หนูได้มีโอกาสที่จะศึกษาถึงการจัดทำข้อเสนอโครงการในระดับสากลแบบนี้เป็นครั้งแรกเลยค่ะพี่ตั้ม นอกจากเปิดโลกให้หนูได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่แล้ว ยังเปิดโอกาสที่ดีให้อาจารย์ที่สนใจแต่ไม่เคยทราบช่องทางหรือรู้จักกับกองทุนนี้ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฯ เพิ่มโอกาสและช่องทางในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ บนพื้นฐานของความร่วมมือที่อาจารย์มีกับทีมนักวิจัยต่างชาติ หรือจากการลงนาม MOU ของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างชาติ ให้เกิดประโยชน์ ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ต้องขอบคุณที่เปิดโอกาสดีๆ นี้ให้กับทางเราด้วยค่ะ