ประเด็นสำคัญของแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 2569   23

คำสำคัญ : SME  Business  UBI  สสว.  

ประเด็นสำคัญของแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 2569 

 

(1)    การเปลี่ยนแปลงแบบคู่ขนาน (Twin Transition): โอกาสและความท้าทายสำหรับ SME การเปลี่ยนแปลง แบบคู่ขนานหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสองประการที่ดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่ง SME จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อเติบโตในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลและความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยมี องค์ประกอบดังนี้

·      การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล:

§การนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การขับเคลื่อน เศรษฐกิจ และสร้างโอกาสใหม่ ๆ

§เน้นการนําดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ การมีส่วนร่วมของลูกค้า และการเข้าถึงตลาด

·      การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน:

§มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

§ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การใช้พลังงานทางเลือก การลดใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ(Circular Economy) และการลดมลพิษ

§ส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืนเพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

(2)    การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน: กรอบ ESG (Environmental, Social, Governance) เป็นแนวทางแบบองค์ รวมที่ช่วยให้ SME สามารถเติบโตอย่างมีกําไร ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมี หลักการดังนี้:

·      Environment (การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม):

§การใชทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนิน ธุรกิจ

§การนําเอาแนวทางและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อรักษาระบบนิเวศธรรมชาติ

·      Social (การจัดการด้านสังคม)

§การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

§ดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงาน รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้านGovernance (การจัดการด้านธรรมาภิบาล):

§การมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อต้านการทุจริต

§การดำเนินงานอย่างโปรงใส และดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

(3)    นโยบาย Soft Power: เป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริม ภาพลักษณของสินคาและบริการไทย และสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยนํา Soft Power ไปประยุกต์ใช้ไปเป็นฐานคิด ในการดำเนินการในลักษณะ Cross-sector กับในทุกอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเน้นสนับสนุน 11 อุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร, แฟชั่น, การออกแบบ, ศิลปะ, เกม, กีฬา, ภาพยนตร์ ละคร และซีรีส, การทองเที่ยว, เฟสติวัล, ดนตรี และ หนังสือ

 

 

ทั้ง 3 หลักการนี้เป็นหลักยึดในการกำหนดทิศทางและประเด็นสำคัญในการส่งเสริม SME ในปี 2569 เพื่อ ส่งเสริมการพัฒนา SME ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ท่ามกลางความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล และการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งใช้พลังซอฟต์พาวเวอรในการสร้างความแข็งแกรงในตลาดและเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันในระดับโลก 

 


เขียนโดย : นางสาวชลิศา  ทรัพย์พร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -