การออกแบบพิพิธภัณฑ์มวยไทยเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มวยไทยและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม   112

คำสำคัญ : มวยไทย  SoftPower  MuaythaiMuseum  

โครงการการออกแบบพิพิธภัณฑ์มวยไทยเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีเป้าหมายในการใช้และพัฒนาศักยภาพมวยไทย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาของชนชาติไทย เพื่อผลักดันให้เป็น Soft Power ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยอาศัยศักยภาพและจุดแข็งของสนามมวยราชดำเนิน ซึ่งถือว่าเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย
ที่ได้รับการยอมรับว่ามีทำเลที่ตั้งและสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่งของโลก ในการพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์มวยไทยและอุทยานการเรียนรู้มวยไทย และสถานที่จัดนิทรรศการมวยไทย เพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้กิจกรรมมวยไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการออกแบบและจัดนิทรรศการมวยไทย รวมทั้งการออกแบบต้นแบบธุรกิจพิพิธภัณฑ์ (Museum marketing plan) เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมมวยไทยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรด้านมวยไทย ตลอดจนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านมวยไทยในแขนงต่าง ๆ รวมทั้งมีสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้ามาเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการ
และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานบูรณาการดังข้างต้น และการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ดังนั้น การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มวยไทยและอุทยานการเรียนรู้มวยไทย จึงเป็นการสร้างแหล่งการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของมวยไทย เพื่อสร้างการรับรู้และเผยแพร่มวยไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล และเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมรรถภาพสูงเพื่อรองรับการพัฒนาตลาดใหม่ อันเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอนาคต และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แห่งใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และเชื่อมโยงเครือข่ายความเป็นภูมิภาคและนานาชาติ
เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมมวยไทย เป็น Soft Power ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษารวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมวยไทย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและการจัดเก็บเชื่อมโยงข้อมูลให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. เพื่อนำองค์ความรู้มวยไทยมาออกแบบเป็นนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชน พัฒนาระบบนิเวศของชุมชนมวยไทย และจัดทำสื่อเผยแพร่ทั้งในรูปแบบภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3. เพื่อออกแบบต้นแบบธุรกิจพิพิธภัณฑ์ (Museum marketing plan) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม จากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเยี่ยมชมนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์

4.เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาศักยภาพของมวยไทยไปสู่การเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในตลาดในประเทศและต่างประเทศ           

 กรอบการวิจัย/พัฒนา (กรอบการวิจัยที่เป็นแผนผังภาพแสดงถึงเป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการ และมีการแสดงความเชื่อมโยงโครงการย่อยเพื่อตอบเป้าใหญ่ร่วมกัน

          เป็นการร่วมมือกันออกแบบพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่สนามมวยราชดำเนิน วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมวยไทยในพื้นที่ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการออกแบบและจัดนิทรรศการมวยไทย และการออกแบบต้นแบบธุรกิจพิพิธภัณฑ์ (Museum marketing plan) เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมมวยไทยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเข้ามาเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการ และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานบูรณาการดังข้างต้น รวมถึงการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ เพื่อสร้างการรับรู้และเผยแพร่มวยไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสากล พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมรรถภาพสูงเพื่อรองรับการพัฒนาตลาดใหม่ อันเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งอนาคต และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แห่งใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และเชื่อมโยงเครือข่ายความเป็นภูมิภาคและนานาชาติ                     

ระเบียบวิธีวิจัยและวิธีการดำเนินการวิจัย

1. การศึกษารวบรวมประวัติศาสตร์และการวิวัฒนาการของมวยไทยและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

- ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมวยไทย ในด้านประวัติศาสตร์ แม่ไม้/ลูกไม้มวยไทย การแต่งกาย การไหว้ครูมวยและดนตรีปี่มวย คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของมวยไทย และบทบาทของมวยไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเกตการณ์ในค่ายมวยและเวทีมวยราชดำเนิน หอภาพยนตร์ และหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนมวยไทยให้ชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย (นักท่องเที่ยว กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและมวยไทย

- จัดทำแผนการจัดการข้อมูลที่มีอยู่ให้พร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- ออกแบบสื่อและสิ่งจัดแสดงจากองค์ความรู้มวยไทยที่รวบรวมได้การศึกษาองค์ประกอบของนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการออกแบบโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชนในพื้นที่

2. การศึกษาหลักการจัดการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ และการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรมวยไทย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

- สร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและทำทะเบียนสิ่งจัดแสดงและแผนภาพจำลองของพิพิธภัณฑ์

3. การออกแบบต้นแบบธุรกิจพิพิธภัณฑ์(Museum marketing plan) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

- ศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และองค์ประกอบทางการตลาดของอุตสาหกรรมมวยไทยทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของมวยไทย

- ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารด้านการตลาดของอุตสาหกรรมมวยไทยที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

- จัดทำแนวทางการสื่อสารทางการตลาดเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบตลาดเชิงรุกและเตรียมความพร้อมของการจัดการให้บริการในอุตสาหกรรมมวยไทย

- ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเยี่ยมชมนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์

- ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

4. การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาศักยภาพของมวยไทยไปสู่การเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

 

 

 


เขียนโดย : ดร.เอกชัย   เขื่อนมณี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : aekachai@mhesi.go.th

เปิดโลกแห่งวงการมวย ให้กับน้องๆ มากเลยค่ะพี่เอกกี้ สุดยอดดด พิพิธภัณฑ์มวยไทยแบบสมัยใหม่ เราคงได้เห็นกันในไม่ช้านี้แล้วใช่ไหมคะ อิอิ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

ว่างๆ มาเรียนชกมวยกันจ้า น้องฮ๊อป

เขียนโดย ดร.เอกชัย  เขื่อนมณี

ถ้าพร้อมแล้วบอกได้นะ จะติดต่อสนามมวยราชดำเนินให้ อิอิ

เขียนโดย ดร.เอกชัย  เขื่อนมณี